การฝึกงานทางบริหารธุรกิจ

Job Internship in Business Administration

เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการซึ่งจะทำให้นักศึกษามีความรู้และประสบการณ์ที่พร้อมจะเข้าสู่อาชีพได้
วิชาการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ เป็นการจัดให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามา
ทั้งหมดประยุกต์กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการอันจะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงภาคปฏิบัติเพื่อเตรียมให้นักศึกษาพร้อมที่จะปฏิบัติงานเมื่อสำเร็จการศึกษาและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
-
นักศึกษาจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรสถานประกอบการที่เข้าไปฝึกงาน เช่น การตรงต่อเวลา, การมีสัมมาคารวะต่อพนักงานอาวุโส, ความซื่อสัตย์, การปฏิบัติตามธรรมเนียมปฏิบัติขององค์กร การเก็บรักษาความลับทางธุรกิจของสถานประกอบการ เป็นต้น
นักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน โดยนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ สังเกตและพัฒนาตนเองในขณะฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง
การฝึกงานแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน ดังนี้
๑. การปฐมนิเทศก่อนออกฝึกงาน เป็นขั้นการทบทวนความรู้ ความเข้าใจ นโยบาย การวางตัว และเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงาน
๒. การฝึกงาน นักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการเป็นเวลา ๒๐๐ ชั่วโมง โดยมีพนักงานพี่เลี้ยงในสถานประกอบการให้การนิเทศ
๒.๑ อาจารย์นิเทศก์ จากมหาวิทยาลัยไปนิเทศในสถานประกอบการ
๓. การสัมมนาหลังฝึกงาน เป็นการสัมมนาเพื่อสรุปผลการปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้จากการฝึกงาน
รายงานที่นักศึกษาจัดทำขึ้นระหว่างการฝึกงาน
- การประเมินโดยสถานประกอบการ
- ประเมินโดยอาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชาและคะแนนที่ได้จากการนิเทศก์
- ประเมินจากพัฒนาการของนักศึกษา
ได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง ซึ่งจะเป็นการบรูณาการความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดในชั้นเรียนให้เข้ากับการปฏิบัติจริง
การปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการโดยได้รับการแนะนำจากบุคลากรของสถานประกอบการ และมีอาจารย์นิเทศให้คำปรึกษาอีกทางหนึ่ง จะสามารถพัฒนาความรู้ในเชิงบูรณาการได้เป็นอย่างดี
- ประเมินจากการมีส่วนร่วมครบทุกขั้นตอนในการฝึกงาน
- ประเมินจากรายงานที่นักศึกษานำส่งเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงาน
- ประเมินจากรายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ
- ประเมินจากรายงานกรณีศึกษาที่จัดทำขณะฝึกงาน (ถ้ามี)
- ประเมินจากพัฒนาการของนักศึกษา
- มีความรู้ความเข้าใจและนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้
- มีทักษะในการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานจริงเป็นกระบวนการที่จะพัฒนาทักษะทางปัญญาได้เป็นอย่างดี
- ประเมินจากรายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- พฤติกรรมการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
- การมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลในสถานประกอบการ
การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยนักศึกษาสามารถปฏิบัติงานกับผู้ร่วมงานในสถานประกอบการได้   รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กร
ประเมินจากรายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ
- สามารถคิดอย่างมีระบบและมีเหตุผลในการคิด
- สามารถสื่อสารด้วยการรายงานทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจา
การมีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สถานประกอบการจัดขึ้น
- รายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ
- ผลการประเมินของอาจารย์นิเทศก์
นักศึกษาจะได้รับความรู้และทักษะการปฏิบัติงานจริงจากสถานประกอบการโดยตรง
นักศึกษาจะได้รับความรู้จากสถานประกอบการซึ่งจะรับผิดชอบและดูแล
จากสถานประกอบการ  80%   การนิเทศของอาจารย์  10%   นักศึกษา  10%
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน โดยนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ สังเกตและพัฒนาตนเองในขณะฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ใช้วิธีการสังเกตความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักศึกษาในด้านต่างๆตามที่กำหนดในข้อ๑.และอาจพิจารณาจากงานที่นักศึกษาจัดทำในระหว่างการฝึกประสบการณ์ ตลอดภาคการศึกษา สถานประกอบการ 80% การนิเทศของอาจารย์ 10% นักศึกษา 10%
-
-
-
นักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการประเมินสถานประกอบการว่าเป็นสถานประกอบการที่สามารถให้ประสบการณ์แก่นักศึกษาหรือไม่และสถานประกอบการนั้นประกอบกิจกรรมตรงกับที่นักศึกษาเรียนมาหรือไม่
พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
ควรมีส่วนร่วมในการประเมินหลักสูตรที่ส่งนักศึกษาไปฝึกประสบการณ์ว่าได้จัดองค์ความรู้ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ครอบคลุมสาขาวิชาการฝึกงานบริหารธุรกิจหรือไม่
อาจารย์ที่ดูแลการฝึกงานต้องประเมินในภาพรวมว่าสถานประกอบการมีความเหมาะสมหรือไม่นักศึกษามีความพร้อมที่เข้าไปฝึกงานในสถานประกอบการนั้นๆหรือไม
-
จากปัญหาในข้อ 1, 2, 3 สามารถรวบรวมปัญหาตลอดจนวิธีการแก้ไขเพื่อจะได้นำไปวางแผนปรับปรุงสำหรับการดำเนินการในครั้งต่อไป