เทคนิคการฝึกอบรมทางธุรกิจ

Training Techniques for Business

1. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านการติดต่อประสานงาน รับผิดชอบตามที่ผู้บริหารมอบหมาย วางแผน ตัดสินใจ ติดตามและประเมินผล เพื่อเสนอผู้บริหารระดับสูง
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งเลขานุการขององค์การประเภทต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอาชน นักประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารระดับต้น ผู้ช่วยผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
3. เพื่อให้มีความสามารถปฏิบัติงานในด้านบริหารธุรกิจและนำไปใช้ในการประกอบอาชีพอิสระส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีกิจนิสัยในการค้นคว้า ปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้า สามารถแก้ปัญหาด้วยหลักการและเหตุผล อันจะก่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ
5. ได้รับการปลูกฝังให้มีคุณธรรม มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียรด้วยความสำนักในจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
เพื่อให้รู้กระบวนการฝึกอบรมทางธุรกิจ การเขียนโครงการฝึกอบรม รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรม มีทักษะในการจัดฝึกอบรมแบบต่าง ๆ มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานทั้งภายนอกและภายใน เห็นความสำคัญของการฝึกอบรม การเป็นวิทยากรการประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม รวมทั้งการใช้และการผลิตสื่อเพื่อการฝึกอบรมทางธุรกิจ
ศึกษาเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้ฝึกอบรมในด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ความสำคัญจำเป็นของการฝึกอบรมในองค์การธุรกิจ การวางแผนการฝึกอบรมสำหรับองค์การธุรกิจ การกำหนดเป้าหมายการฝึกอบรม การจัดโปรแกรม การจัดกิจกรรม และเทคนิคการฝึกอบรมแบบต่าง ๆ เทคนิคการเป็นวิทยากร การประเมินและติดตามผลการฝึกอบรม รวมทั้งการใช้และการผลิตสื่อเพื่อการฝึกอบรมทางธุรกิจ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาได้ตลอดเวลา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา 2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ 2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
1. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน 2. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
1. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน 2. ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง 3. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 2. มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็น ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม

2. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา 3. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2. พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
3. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
1. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้ 2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
1. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การนำเสนอผลงานหรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่างๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 . มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น - การสอบกลางภาค 25% - การสอบปลายภาค 25% - งานที่มอบหมาย / รายงาน (กลุ่ม) 20% - แบบฝึกหัด 10% - การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 10% - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม / การเข้าร่วมกิจกรรม 10% สัปดาห์ที่ 9, 18 ตลอดภาคเรียน - การสอบกลางภาค 25% - การสอบปลายภาค 25% - งานที่มอบหมาย / รายงาน (กลุ่ม) 20% - แบบฝึกหัด 10% - การนำเสนอผลง
ฉลอง มาปรีดา. เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม.กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ๊งเฮ้า,2539
สมคิด บางโม. เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม.กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด, 2539
ขนิษฐา จิตรอรุณ. เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม.กรุงเทพฯ: ห้างมณฑลการพิมพ์จำกัด,2540
-
วารสาร แม๊กกาซีน หนังสือพิมพ์ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมและเว็บไซด์ต่าง ๆ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย)
      ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
      2.1  การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
      2.2  การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงาน  หรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
3.2 การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกการวิเคราะห์
** 3.3 การทำวิจัยในชั้นเรียน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4 การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2 นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3 นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร