สถิติธุรกิจ

Business Statistics

1. เข้าใจระเบียบวิธีทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
2. เข้าใจการคำนวณค่ามาตรฐานและการแจกแจงปกติ
3. เข้าใจการคำนวณความน่าจะเป็น
4. เข้าใจตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง
5. นำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ และเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ
6. ปลูกฝังนิสัยและส่งเสริมให้เป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ รู้จักเหตุผล รักความเป็นระเบียบ
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรบริหารธุรกิจ  สาขาวิชาการจัดการ  เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักและวิธีการทางสถิติ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ รวมถึงกระบวนการตัดสินใจโดยอาศัยความน่าจะเป็นทางสถิติในการวิเคราะห์ปัญหาหรือประยุกต์ใช้ใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ  
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและประโยชน์ของสถิติ ระเบียบวิธีสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล การวัดและเปรียบเทียบตำแหน่ง การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล ค่ามาตรฐานและการแจกแจงปกติ ความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง
ตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
- มีความสื่อสัตย์สุจริต ชื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
- มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
- มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกัน
- มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
- มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
- ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- กำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นการมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
- ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความสื่อสัตย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
- กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
- ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการเสนอผลงาน
- ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและอาจารย์
- มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนสถิติธุรกิจ
- มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของสถิติธุรกิจ
- ความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการด้านสถิติ
- มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านสถิติธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
- ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
- ทดสอบย่อย
- การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
- ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
- ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดแนวทางในการบริหารธุรกิจแบบใหม่ๆ
- สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
- สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
- มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
- กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
- มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไข
- ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายกรณีศึกษา
- ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ
- ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
- มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
- มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน
- มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
- มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
- มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับผู้อื่น
- มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล
- มอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
- ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
- ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
- มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา
- สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ
- สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสาระสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
- สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
- สามารถสื่อสารด้วยลบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิค วิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
- สามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
- สามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
- ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้
- มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากการอธิบายหลักการเข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
- ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากการทดสอบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 1.4 2.1, 2.2, 2.3 3.1, 3.2 4.1, 4.4 5.2 - แบบฝึกหัด - ทดสอบย่อย 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 20%
2 1.3, 1.4 2.1, 2.2, 2.3 3.1, 3.2 4.1, 4.2, 4.3, 4.4 5.1, 5.2 - จัดกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา - หาแนวทางแก้ไขปัญหา 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 10, 11, 12, 13, 14, 15 20%
3 2.1 ,2.2, 2.3 3.1, 3.2 - สอบกลางภาค 9 25%
4 2.1 ,2.2, 2.3 3.1, 3.2 - สอบปลายภาค 17 25%
วีรานันท์ พงศาภักดี. การวิเคราะห์เชิงสถิติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533
อนันต์ ศรีโสภา. สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2521
สุทธิชัย โง้วศิริ. หลักสถิติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2523
อำไพวรรณ เป้าอารีย์. สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามมิตร, 2523
พรรณทิพย์ ฟ้ามณี. สถิติพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บารมีการพิมพ์, 2523
- สนทนากลุ่มระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน  เพื่อระดมความคิด  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเนื้อหา  ปัญหา  และการสรุปประเด็นความคิด
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการนำเสนอ  การทำงานกลุ่ม 
- ให้นักศึกษาร่วมกันประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน และประเมินอาจารย์ผู้สอน
- การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยภาควิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
- พัฒนาสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- ปรับปรุงเนื้อหา  และกรณีศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
- ให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามานำเสนอ
- มีการตรวจแบบฝึกหัด  ตรวจทดสอบย่อย  ตรวจข้อสอบ  และร่วมกันอภิปรายข้อสรุปของการวิเคราะห์
- มีการวัดความรู้นักศึกษา  และแจ้งผลให้ทราบเป็นระยะ
- ให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบการให้คะแนน  การสอบเก็บคะแนนได้
- การทวนสอบการให้คะแนน  จากการสุ่มตรวจโดยอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน
- ปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยทุกปี
- มีการปรับปรุง  ตามข้อเสนอแนะผลการสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชา