นวัตกรรมและการจัดการการเปลี่ยนแปลง

Innovation and Change Management

 
1. เพื่อรู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมซึ่งส่งผลโดยตรงต่อองค์การ
2. เพื่อเข้าใจการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานให้สอดคล้องกับนวัตกรรมใหม่ ๆ
3. เพื่อเข้าใจกระบวนการการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
4. เพื่อพัฒนาระบบและวิธีการทำงานในองค์กรเพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้ได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงขององค์กรในปัจจุบัน และให้เนื้อหารายวิชามีความเหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
 
 
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมซึ่งส่งผลโดยตรงต่อองค์การ และทำให้องค์การต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานให้สอดคล้องกับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยเน้นการพัฒนาระบบและวิธีการทำงาน เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้
 
 
-อาจารย์ประจำรายวิชากำหนดและอนุญาตให้นักศึกษารับคำปรึกษาผ่าน facebook อีเมล์ และในชั้นเรียน
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) หรือผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล์ เป็นต้น
 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิส่วนบุคคล มีความซื่อสัตย์ในการสร้างภาวะผู้นำในนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลง โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลงต่อบุคคลองค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลง อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องหรือกำหนดบทบาทสมมุติ
 
 
 
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
 
 
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลง ภาระหน้าที่ ของผู้เกี่ยวข้องในนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลง ประเภทนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลง ประโยชน์ของนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลงเชิงธุรกิจ ความเกี่ยวข้องของนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน และธุรกิจ  องค์ประกอบหลักการและขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลง จรรยาบรรณ จริยธรรมของผู้เกี่ยวข้อง ผลกระทบของนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลงต่อบุคคลและสังคม
 
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem–based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
  พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลง
 
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษโดยการคิดสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กร หรือ กรณีศึกษาที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ที่เหมาะสม
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
 
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลง
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ และ การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
 
  4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้า การนำตัวอย่างนวัตกรรมและการจัดการเปลี่ยนแปลงขององค์การ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
 
   
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
 
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.
1 12011306 นวัตกรรมและการจัดการการเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค ตลอดภาคการศึกษา 5% 30% 5% 30%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
พยัต  วุฒิรงค์. การจัดการนวัตกรรม Innovation Management ทรัพยากร องค์การแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม Resource Learning Organization and Innovation. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557.   
ปรีดา ยังสุขสถาพร และคณะ พลวัตนนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, 2549.
สาขาวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ เอกสารการสอนวิชา การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช 2554
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรณีศึกษานวัตกรรม กรุงเทพมหานคร www.nia.or.th  2554
 
2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
ไม่มี
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน


- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา - สังเกตเกณฑ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน - ข้อเสนอแนะผ่านออนไลน์ เช่น Facebook ของกลุ่มรายวิชาผู้สอนได้จัดทำเป็นกลุ่มรายวิชาเป็นช่องทางสำหรับการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาที่เรียน
รายงานผลการค้นคว้าจากงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอผลงานของนักศึกษา การให้ข้อเสนอแนะและการตอบคำถามของนักศึกษา


การประเมินผลการอภิปรายกลุ่ม การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
 
      

การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกการวิเคราะห์ การวิจัยในและนอกชั้นเรียน

 
 
 

ทบทวนงานที่ให้ผู้เรียนไปค้นคว้า จัดทำว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ทบทวนข้อสอบกลางภาคและปลายภาคที่ใช้วัดความรู้ว่ามีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด ทบทวนรายงานกลุ่มว่ามีความเหมาะสม คุณประโยชน์ต่อนักศึกษาที่จะได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองภายหลังจบการศึกษาไปแล้วว่ามีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากน้อยเพียงใด

 
 
  

ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ นำข้อคิดเห็นของนักศึกษามาประมวล เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง