ชีวเคมีสำหรับวิศวกร

Biochemistry for Engineering

        ๑. มีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายหลักการเบื้องต้นของชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรและวิศวกรรมเกษตรได้
๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงานได้
๓. มีจิตสำนึกที่ดีและมีคุณธรรมในการนำความรู้จากการเรียนการสอนในรายวิชาไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างซื่อสัตย์ ถูกต้องเหมาะสม
มีการปรับปรุงเนื้อหาในรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อให้มีความสมบูรณ์และเป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยยังคงหลักการที่มีความสำคัญต่อรายวิชาไว้ สอดแทรก/ค้นหาข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆ จากงานวิจัยเข้ามาประกอบการสอน
ศึกษาและปฏิบัติในหัวข้อพื้นฐานและหลักการทางชีวเคมีที่จำเป็นสำหรับวิศวก รศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิต โครงสร้างของเซลล์ คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของสารชีวโมเลกุล (คาร์โบไฮเดรต , โปรตีน , ไขมัน และ กรดนิวคลีอิก  )หน้าที่และบทบาทของความเป็นกรด -ด่างในสารละลายหน้าที่ของโปรตีนและเอนไซม์  พื้นฐานของการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ การผลิตสารชีวโมเลกุลไปใช้ในอุตสาหกรรม ความรู้เบื้องต้นของกระบวนการเมทาบอลิซึ่มในเซลล์ และพลังงานระดับเซลล์ สารพันธุกรรม การควบคุมการแสดงออกของจีนพันธุวิศวกรรมและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนักศึกษาอาจจะมีการติดต่อกับอาจารย์โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
             พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น  และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม โดยมีคุณธรรมจริยาธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
      ๑.๒   วิธีการสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ที่เกี่ยวข้องชีวเคมีสำหรับวิศวกร จรรยาบรรณของการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษารักในอาชีพการเป็นวิศวกร และดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทางาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา การอภิปรายกลุ่ม
        

 
๑.๓  วิธีการประเมินผล

พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องเหมาะสม ประเมินผลจาการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาค ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย พฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน การทำข้อสอบ ความตรงต่อเวลา การทำปฏิบัติการและรายงานผล      การปฏิบัติการ
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องการทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำ ได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการลงมือปฏิบัติ หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้ เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้
(๑) การทดสอบย่อย
(๒) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(๓) รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
(๔) งานที่ได้มอบหมาย
(๕) การนำ เสนอรายงานในชั้นเรียน
        นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหาแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
                (๑) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
                (๒) มีทักษะในการนำ ความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
               การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
                ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
               (๑) บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
               (๒) การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่างๆ
               (๓) การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
 การทำงานเป็นกลุ่มและรับผิดชอบร่วมกัน
                 มอบหมายงานให้ทำงานเป็นกลุ่ม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
                ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูล ความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์ หรือ สถิติเพื่อการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล
มอบหมายงานที่ต้องสืบค้น จัดการ และนำเสนอข้อมูล
                ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษามีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติการทดลองในรายวิชาได้อย่างถูกต้อง
สอนภาคปฏิบัติผ่านการทำการทดลอง
ประเมินจากรายงานผลการทดลอง และสังเกตการปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความ รับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 3 1 2 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 ENGAG105 ชีวเคมีสำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ๙ ๑๘ ๓๐% ๔๐%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา ๒๐%
3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ๑๐%
๑.  ตำราและเอกสารหลัก                                   
Fields, M.L.  1977.  Laboratory Manual in Food Preservation.  AVI Publishing Co. Inc. Connecticut Frazier, W.C.  1986.  Food Microbiology.  McGraw-Hill Publishing Co. NY. Birch, G.C., Cameron, A.G. and M. Spenser.  1977.  Food Science.  Pergamon Press. NY
           ไม่มี
ไม่มี
    การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นของนักศึกษาได้ดังนี้

 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

 ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา

ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้

ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อปรับพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะแก่กลุ่มนักศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจแบบฝึกหัด เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุกๆ ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔ ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย นำข้อคิดเห็นจากการประเมิน โดยนักศึกษามาประมวลผล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประมวลจะถูกนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป

ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้ตรงกับการทำงานจริง โดยให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพในอนาคตได้