การทดสอบวัสดุก่อสร้าง

Construction Materials Testing Laboratory

1. รู้หลักการทดสอบวัสดุและข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุที่ใช้ทดสอบ
2. เข้าใจพฤติกรรมของวัสดุเมื่อมีแรงกระทำ
3. เข้าใจขั้นตอนการใช้เครื่องทดสอบ
4. เข้าใจการเขียนรายงานผลการทดสอบ
5. ตระหนักในความสำคัญของการทดสอบวัสดุเพื่อนำไปประยุกต์ใช้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ ที่จำเป็นและหลากหลาย ตลอดจนการจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ประกอบการสอนที่เหมาะสม เพื่อเตรียมตัวสำหรับการไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำไปประกอบการเรียนวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับสมบัติ มาตรฐานและวิธีการทดสอบวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้ เหล็ก อิฐ และคอนกรีตเป็นต้น
1. อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศให้คำปรึกษาผ่านบอร์ดประกาศสาขาวิชา
2. อาจารย์ประจำวิชารายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
6. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
2. สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม
3. เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม
4. ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
5. เน้นเรื่องการแต่งกาย และปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และขอบังคับขององค์กรและสังคม
7. ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
2. ประเมินจากความรับผดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ประเมินจากคุณภาพของงานที่มอบหมาย
4. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1. รู้หลักการเบื้องต้นทางการทดสอบวัสดุวิศวกรรม
2. เข้าใจมาตรฐานและวิธีการทดสอบวัสดุ
3. เข้าใจขั้นตอนการทดสอบ และสมบัติของวัสดุที่นำมาทำการทดสอบ
1. บรรยายยกตัวอย่างร่วมกับการสอนแบบสื่อสาร สองทางโดยเน้นให้นนักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
2. เพิ่มการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ
1. ทำการสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
1. การมอบหมายการบ้าน ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
2. การมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทำรายงาน และสร้างชิ้นงาน
3. การสะท้อนแนวคิด วิเคราะห์วิจารณ์จากงานที่ได้ทำ
1. ทำการสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการและการคำนวณเพื่อการวิเคราะห์บรูณาการองค์ความรู้
2. ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3. วัดผลจากการทำรายงานการนำเสนอผลงานชิ้นงานที่ทำ
4. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
3. การนำเสนอรายงาน
1. ประเมินตนเอง และเพื่อน
2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
1. ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล
3. พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้และสืบค้นข้อมูล
4. พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเอง และการ ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5. พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
ให้นักศึกษาวางแผนการดำเนินงาน ทั้งด้านการบริหารเวลา การใช้เครื่องมือ มอบหมายให้นักศึกษาทำการทดลองเป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาฝึกทักษะผ่านการทำงานเป็นกลุ่ม
พิจารณาผลการปฏิบัติการ ประเมินผลงานที่มอบหมายทั้งส่วนของรายงานการวิจัยและการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCV010 การทดสอบวัสดุก่อสร้าง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 9 25 %
2 สอบปลายภาค 17 35 %
3 งานตามที่มอบหมาย รายงานผลการทดสอบ ตลอดภาคการศึกษา 30 %
4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม การเสนอความคิดในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
มานพ ตันตระบัณฑิตย์. (2545). วัสดุวิศวกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). รศ.กวี หวังนิเวศน์กุล. (2552). วัสดุวิศวกรรมก่อสร้าง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ค.ค. (2544 ). คู่มือปฏิบัติการวัสดุศาสตร์. ขอนแก่น: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ทักษิณ เทพชาตรี.(2555). พฤติกรรมและการออกแบบโครงสร้างเหล็ก(พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รศ.กวี หวังนิเวศน์กุล. (2552). วัสดุวิศวกรรมก่อสร้าง (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม THAI INDUSTRIAL STANDARD 128-2549
เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4