ทักษะวิชาชีพพืชศาสตร์ 2

Practical Skills in Plant Science 2

มีทักษะวิชาชีพทางพืชศาสตร์เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญในการผลิตพืชอย่างเป็นระบบ มีทักษะด้านการเขตกรรมในการผลิตพืช
ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและให้เหมาะสมกับสภาวะกาลปัจจุบัน
ฝึกทักษะวิชาชีพทางพืชศาสตร์เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญในการผลิตพืชอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การสร้างทักษะด้านการขยายพันธุ์พืช การดูแลบำรุงรักษาดิน การใช้ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การจัดการเก็บเกี่ยวพืชประเภทต่างๆ
1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
˜1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
š1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
˜1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยขยัน อดทน รักษาสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการเข้าฝึกงานให้ตรงเวลา  ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายปฏิบัติงานให้สำเร็จตามกำหนด
- 1.3.1ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าฝึกงานการทำงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าฝึกงาน
1.3.3ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและการรักษาสิ่งแวดล้อม
2.  ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge)
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
 š2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
โดยฝึกปฏิบัติในโรงเรือนและในแปลงปลูก   บันทึกขั้นตอนการปฏิบัติงานผลจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนอุปสรรคปัญหาที่เกิด บูรณาการร่วมกับโครงการวิจัย
- ประเมินจากาการผลการปฏิบัติงาน และจากการบันทึกการปฏิบัติงาน
3.  ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills)
˜3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
˜3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
มอบหมายงานให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษาและการมีทักษะในการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมต่องานการผลิตพืชแต่ละชนิด
สังเกตกระบวนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
˜4.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
˜4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
˜4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
- กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล       และด้านความรับผิดชอบ
- ประเมินนักศึกษาอื่นๆ ในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
š5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
˜5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
˜5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายงานให้นักศึกษาได้วางแผนและแก้ปัญหาที่เหมาะสม
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ทักษะทางปัญญา ด้านทักษะ พิสัย ความรู้ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 2 1 1 2 1 2 1 2 2 1
1 BSCAG102 ทักษะวิชาชีพพืชศาสตร์ 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.3 สังเกตจากกิจนิสัยในการทำงานด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ ขยันและอดทน 1-17 10
2 2.1.1, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2,4.1.1, 4.1.3, 5.1.2, 6.1.1, 6.1.2 กระบวนการปฏิบัติงานเกษตรตามหลักการและผลการปฏิบัติงานผลิตพืชในฟาร์ม ร่วมกับผู้อื่น 1-17 80
3 5.1.2, 1.1.3, 6.1.3 คุณภาพผลงานและการแก้ไขปัญหาในการทำงาน 7,16 10
. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
 เอกสารเกี่ยวข้องกับการปลูกเพื่อผลิตพืชไร่ พืชสวน 
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยสาขา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
สาขากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์ และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา
สาขามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอน และกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป