การออกแบบอาคาร

Building Design

ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบของโครงสร้างในแนวราบและแนวดิ่ง เพื่อออกแบบอาคารสูงไม่เกิน 8 ชั้น การจัดระบบผังคานและแผ่นพื้น ประเภทของแรงที่กระทำต่อโครงสร้างอาคาร การวิเคราะห์โครงข้อแข็งเพื่อต้านแรงลมและแรงแผ่นดินไหว ปฏิบัติการออกแบบอาคาร
Study and practice on the system of horizontal and vertical design for buildings no higher than eighth floor, slabs, beams and organized layout. The forces acting on the structure. Analysis rigid frame to withstand wind and seismic loads, the building design practice.
- นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียน นอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์ ถามทาง email :
me852141@hotmail.com หรือ bupavech@hotmail.com หรือ aloha_kley@hotmail.com
สอนทฤษฎี ช่วงแรก สัปดาห์ที่ 1-8 สอนโดย ผศ.วรพรรณ นันทวงศ์ สอบกลางภาค
สอนทฤษฎี ช่วงที่สอง ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 10-16 สอนโดย อ.เจษฎาพร ศรีภักดี สอบปลายภาค
สอนปฏิบัติ การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างด้วยโปรแกรม สอนโดย ดร.บุปผเวช  พันธุ์ศรี
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกร พ.ศ.2559 ดังนี้
1. ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2559”

ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.2543 ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งในข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น ประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมหรือประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ แล้วแต่กรณี

หมวด 1 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
ส่วนที่ 1 จรรยาบรรณต่อสาธารณะ

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องประกอบวิชาชีพโดยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยสุขอนามัย และสวัสดิภาพของสาธารณชน ตลอดจนทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมอันเป็นสาธารณะด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องละเว้นจากการให้การสนับสนุน ส่งเสริม หรือ เป็นตัวการ เกี่ยวกับการทุจริตในโครงการองภาครัฐหรือเอกชน

 
 
ส่วนที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมด้วยความซี่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดขอบ และ ระมัดระวัง ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องปฏิบัติงานต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเกินความสามารถและความเชี่ยวชาญที่ตนเองจะกระทำได้ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในงานที่ตนไม่ได้ทำ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่เรียก รับ ยอมจะรับ หรือให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน

ส่วนที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้ว่าจ้าง

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุอันควร ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนทำ เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้าง หรือเป็นการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่นเพื่อการแข่งขันด้านเทคนิคหรือราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้แก่ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นทราบล่วงหน้าแล้ว

ส่วนที่ 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือเป็นความประสงค์ของเจ้าของงานและได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่ใช้หรือกระทำการในลักษณะคัดลอกแบบรูป แผนผัง หรือเอกสารที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่อ้างผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นมาเป็นของตนในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่กระทำการใด ๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น

ส่วนที่ 5 เรื่องอื่นๆ

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องไม่กระทำความผิดในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 หรือ มาตรา 269 จนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด

หมวดที่ 2 การประพฤติผิดจรรยาบรรณ
อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

กรณีที่จะถือเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพดังต่อไปนี้

(1) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมตามข้อบังคับนี้ และเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นต้องได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือ ทรัพย์สิน
(2) เคยถูกลงโทษโดยคำสั่งถึงที่สุด เนื่องจากประพฤติผิดจรรยาบรรณ ตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 แต่ยังประพฤติผิดซ้ำ หรือ ไม่หลาบจำ หรือไม่มีความเกรงกลัวต่อการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
(3) กระทำความผิดในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 หรือ มาตรา 269 โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(4) กรณีอื่นที่คณะกรรมการจรรยาบรรณเห็นว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
บทเฉพาะกาล

การกระทำใดที่เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณ หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นตามข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.2543 เรื่องกล่าวหาหรือกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประพฤติผิดจรรยาบรรณที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่บังคับนี้ใช้บังคับ ให้พิจารณาดำเนินการตามระเบียบที่ใช้อยู่ขณะนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จตามข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.2543
ลงชื่อเข้าเรียนทุกครั้ง แจ้งกติกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก มอบหมายเอกสารอ่านประกอบ ภาพ วีดีทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ มอบหมายแบบฝึกหัด รายงาน กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงาน ติดตามผล

บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การกระทำผิดจรรยาบรรณวิศวกร อภิปรายกลุ่ม
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
เข้าใจและสามารถออกแบบอาคารประเภทต่างๆ ระบบของโครงสร้าง การจัดระบบผังคานและแผ่นพื้น วิเคราะห์และเข้าใจแรงประเภทต่างๆที่กระทำต่อโครงสร้างอาคาร สามารถวิเคราะห์โครงข้อแข็ง และรู้แนวทางปฏิบัติการออกแบบอาคารเบื้องต้น
บรรยาย อภิปราย และการทำงานกลุ่มโดยมอบหมายให้เลือกรูปแบบอาคารทางสถาปัตยกรรมและนำมาออกแบบโครงสร้าง และนำมาเสนอให้ผู้เรียนร่วมชั้นได้เข้าใจทั่วถึงกัน
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการแนวคิด ความถูกต้อง และการนำเสนอของโครงงานกลุ่ม
2.3.3 ประเมินจิตพิสัยผู้เรียน
พัฒนาความสามารถในการคิด และความเข้าใจ ให้เป็นไปตามระบบในทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพต่อไป
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์ ออกแบบและแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวัดผลตามจุดประสงค์การสอน
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา  
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์และออกแบบระบบโครงสร้างอาคารกรณีศึกษา
และมีวิธีตรวจสอบความถูกต้อง
4.2.2 การนำเสนอรายงานและมีวิธีการตรวจสอบความเข้าใจและถูกต้อง
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการค้นคว้า หาข้อมูล คิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
ทักษะในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นทางสังคมออนไลน์
5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำแบบฝึกหัด และตรวจสอบความถูกต้อง
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1 ทักษะการค้นคว้า หาข้อมูล คิดคำนวณ เชิงตัวเลข
6.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
6.1.3 พัฒนาทักษะในการเขียนกราฟิคในการคำนวณแรงปฏิกริยา แรงเฉือน โมเมนต์ดัดในคาน และ คำนวณแรงตามแนวแกนของชิ้นส่วนในโครงถัก
6.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
6.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำแบบฝึกหัด และตรวจสอบความถูกต้อง
6.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
6.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
6.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.2, 2.4,2.5, 3.1 – 3.5, 4.3 – 4.5, 5.1-5.5, 6.1-6.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 25% 25%
2 2.1,2.2, 2.4,2.5, 3.1 – 3.5, 4.3 – 4.5, 5.1-5.5, 6.1-6.2 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1 – 1.5, 2.2, 2.3, 2.5 3.1-3.5, 4.2-4.5 5.1-5.5, 6.1-6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ผลการปฏิบัติการวิเคราะห์และออกแบบด้วยโปรแกรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
ทักษิณ เทพชาตรี(2536). พฤติกรรมและการออกแบบโครงสร้างเหล็ก:วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์(2527). การวิเคราะห์โครงสร้าง:วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
ไพบูลย์ ปัญญาคะโป(2545). การออกแบบอาคาร, LIBRARY NINE
ฝ่ายวิชาการ สูตรไพศาล(2522,2536). พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
วินิต ช่อวิเชียร(2540). การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
นิพนธ์ อังกุราภินันท์(2540). คู่มือออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
ปณิภาณ อมาตยกุล(2541). การออกแบบอาคารชลศาสตร์
สันติสุข เชื่อมชัยตระกูล และปิติศานตร์ กร้ำมาตร(2535). คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เอกสารประกอบการสอนวิชาการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
BRYAN STAFFORD SMITH AND ALEX COVIL(1991). TALL BUILDING STRUCTURE, JOHN WILEY&SONS, INC.
BUNGALE S. TARANATH(1988). STRUCTURAL ANALYSIS&DESIGN OF TALL BUILDINGS, McGRAW-HILL
CHARLES E. REYNOLDS AND JAMES C.STEETMAN. REINFORCED CONCRETE DESIGNER’S HANDBOOK
สไลด์ประกอบการบรรยายแต่ละสัปดาห์
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น www.eit.or.th, www.dpt.go.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ