ภาษาจีนเพื่ออาชีพ

Chinese for Career

1. เข้าใจเทคนิคและรูปแบบในการเขียนประวัติส่วนตัว
2. เรียนรู้คำศัพท์ สำนวนเกี่ยวกับภาษาจีนเพื่อการอาชีพ
3. พัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนภาษาจีนพื้นฐาน
4. สามารถใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาจีนในการประกอบอาชีพ และเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในเรื่องของการสมัครงานตามที่ต่างๆ โดยจะเน้นในด้านของการสนทนาและการเขียน รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆในสังคมและในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาคำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในการถามและตอบเกี่ยวกับอาชีพ การสนทนาเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน และหน้าที่ในการทำงาน การเขียนประวัติ ส่วนตัว
อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการทุกวันพุธ เวลา 15.00 – 17.00 น. ห้องพักอาจารย์สาขาศิลปศาสตร์ หรือ จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม นักศึกษาเข้าใจและสามารถแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม อาทิความมีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ เป็นแบบอย่างที่ดี และสามารถจัดการปัญหาโดยมีพื้นฐานทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพ โดยนักศึกษาจะมีคุณสมบัติดังนี้ 1.1.1 มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่า ของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ มีจิตสํานึกสาธารณะ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 1.1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม 1.1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.4 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้ 1.1.5 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรมที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลองค์กร และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร 
1.2.1 จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2.2 สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา 1.2.3 สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความรับผิดชอบในการทํางานกลุ่ม รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและปลูกฝังจิตสํานึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 1.2.4 ส่งเสริมให้นักศึกษาเคารพในคณุ ค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นําและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ยกย่องและเชิดชูผู้ที่ทําความดีและเสียสละ
1.3.1 การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.3.2 การตรงเวลาของนักศกึษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม 1.3.3 การสังเกตพฤติกรรมในการทํางานเป็นกลุ่ม 
 นักศึกษามีความรู้ในแต่ละรายวิชาอย่างกว้างขวาง มีทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ เข้าใจติดตาม และศึกษาการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน สามารถศึกษา ค้นคว้า และมีแนวทางในการแก้ปัญหาและการต่อยอดความรู้ได้ โดยมีผลการเรียนรู้ดังนี้  2.1.1 มีความรู้และเข้าใจหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.1.2 มีความรู้และเข้าใจในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน สามารถนําความรู้ และทักษะมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาในชีวิตประจําวันได้ 2.1.3 มีความรู้และเข้าใจในสาระสําคัญเกี่ยวกับกระบวนการในการวางแผน การจัดการปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดําเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่หลากหลาย 2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น 2.1.5 สามารถวิเคราะห์ และนําข้อมูลมาปรับปรุงและ/หรือประเมินตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  2.1.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและ รวมทั้งการนําไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.1.7 รู้ เข้าใจ และสนใจที่จะพัฒนาความรู้ ความชํานาญในการใช้ภาษาอย่างต่อเนื่อง 2.1.8 มีความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา พร้อมทั้งเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศกึษา 2.1.9 มีประสบการณ์เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้า และ/หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในงานได้จริง 
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ 2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงาน หรือการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ 2.2.3 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.2.4 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นําเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป 
2.3.1 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค 2.3.2 รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ 2.3.3 ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง 2.3.4 ผลงานจากการค้นคว้าและการนําเสนอ
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาสามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทําความเข้าใจ สามารถประเมินข้อมูลแนวคิดและ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ใช้ข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้ รวมถึงนํามาแก้ไขปัญหาอื่นๆ ได้ด้วยตนเอง และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม 3.1.2 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 3.1.3 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม 3.1.4 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา และความต้องการได้ 3.1.5 สามารถศึกษา ค้นคว้า ประยุกต์ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3.2.1 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 3.2.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติผ่านทางบทบาทสมมุติในสถานการณ์จําลอง 3.2.3 จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทํางาน
3.3.1 การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จําลอง 3.3.2 การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและสื่อสารในบริบทต่างๆ 3.3.3 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่นในสถานประกอบการ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตามสามารถทํางานเป็นทีม มีความรบัผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.2 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม การแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม 4.1.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นํา และในบทบาทของผู้ร่วมทีมทํางาน 4.1.4 มีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.5 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.6 มีความรับผิดชอบในการกระทําของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.1.7 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชา 4.2.2 จัดให้นักศึกษาได้ทํากิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นําและผู้ตาม  4.2.3 จัดให้นักศึกษาได้ทํากิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป 4.2.4 มอบหมายให้นักศึกษาได้เข่าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง 
4.3.1 การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค 4.3.2 การสังเกตพฤติกรรมการทํากิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 4.3.3 การสังเกตพฤติกรรมการทํางานเป็นทีมของนักศึกษา 4.3.4 การสังเกตพฤติกรรมและการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา
นักศึกษาสามารถศึกษาและทําความเข้าใจ สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะ ใช้ทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนําเสนอข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเหตุนี้ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคณุ สมบัติดังนี้  5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช็ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในเรื่องทีศึกษา 5.1.2 สามารถอธิบายและสร้งความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนําเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์  5.1.3 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  5.1.4 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จําเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทํางานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ  5.1.5 สามารถแนะนําประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อเรื่องศึกษาอย่างสร้างสรรค์  5.1.6 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนําเทคโนโลยีไปใช้ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในเรื่องทีศึกษา 5.1.2 สามารถอธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนําเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 5.1.3 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.4 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จําเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทํางานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1.5 สามารถแนะนําประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อเรื่องศึกษาอย่างสร้างสรรค์ 5.1.6 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนําเทคโนโลยีไปใช้ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.3.1 ผลงานของนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย 5.3.2 พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาของนักศึกษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 6.1.2 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษา มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการด าเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง 6.1.3 สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต 6.1.4 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล 6.1.5 สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย 
6.2.1 สอดแทรกการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน 6.2.2 จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง 6.2.3 สนับสนุนให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานนอกชั้นเรียน ฝึกงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และฝึกประสบการณ์สหกิจศึกษา
6.3.1 งานที่ได้รับมอบหมายผลงาน หรือการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพของนักศึกษา 6.3.2 พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาของนักศึกษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ปัญญา 4.ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC145 ภาษาจีนเพื่ออาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1/2.2.1/2.2.4/2.3.1/2.3.2/2.3.4 - ทดสอบครั้งที่ 1 - ทดสอบครั้งที่ 2 - ทดสอบครั้งที่ 3 - ทดสอบครั้งที่ 4 - สอบกลางภาคเรียน - สอบปลายภาคเรียน 3 6 11 14 9 17 10% 10% 10% 10% 15% 15%
2 1.1.3/1.2.1/1.3.1/1.3.3/2.2.3/2.3.2/2.3.3/4.3.1/5.3.1 -การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ -การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10% 10%
3 1.3.2/2.3.4 -แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน/งานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมบริการ, สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, มนชัย แซ่เตีย และคณะ, 2559.
สนทนาภาษาจีน อาหารและเครื่องดื่ม, ฝ่ายวิชาการสำนักพิมพ์แมนดารินเอดูเคชั่น, 2558.
ภาษาจีนเพื่อการโรงแรมและการท่องเที่ยว, สำนักพิมพ์เอ็ม ไอ เอส, ภัทรภณ ศิลารักษ์,
ภาษาจีนสำหรับอาชีพโรงแรม, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, 2554.
ภาษาจีนเพื่อการสมัครงาน, สำนักพิมพ์พงศ์ภรณ์, จิรวรรณ จิรันธร, 2554.
职业汉语教程(试用本),北京大学出版社,陈宇.
http://www.lovechineseclub.com/
http://www.jiewfudao.com
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
- การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
- ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
- สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
- สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
- ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
- ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
- ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน - สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม - สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการทำแบบฝึกหัดท้ายบท และทำกิจกรรมกลุ่มโดยการสร้างสถานการณ์จำลอง โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษา
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก - มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ - ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี