สถิติและการออกแบบการทดลอง

Statistics and Design of Experiment

1. รู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถิติ
2. คำนวณการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางแะการวัดการกระจายได้
3. คำนวณคะแนนมาตรฐานและพื้นที่ใต้โค้งปกติได้
4. รู้และเข้าใจการทดสอบสมมติฐานและการทดสอบไคสแควร์
5. รู้หลักการพื้นฐานที่ใช้ในการออกแบบการทดลอง
6. วิเคราะห์ข้อมูลในแผนแบบการทดลองต่างๆ ได้
7. เลือกใช้แผนแบบการทดลองที่เหมาะสม ตลอดจนประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติได้
นำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุงวิธีการสอน ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับเนื้อหา ตลอดจนให้นักศึกษาเห็นความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาที่เรียนและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางสถิติ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย คะแนนมาตรฐานและพื้นที่ใต้โค้งปกติ การทดสอบสมมติฐาน และการทดสอบไคสแควร์ หลักการพื้นฐานที่ใช้ในการออกแบบการทดลอง แผนแบบการทดลองสุ่มบริบูรณ์ แผนแบบการทดลองบล็อกสุ่มบริบูรณ์ แผนแบบการทดลองจัตุรัสละติน การประมาณค่าข้อมูลสูญหาย แผนแบบการทดลองบล็อกไม่บริบูรณ์ สปลิตพลอต แฟกทอเรียล การคอนฟาวนด์ แฟกทอเรียลเศษส่วน การเลือกใช้แผนแบบการทดลองที่เหมาะสม การประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
      Study of fundamental of statistics, measurement of central tendency, measurement of distribution, standard evaluation and area under a normal curve, assumption test and chi-squared test, principles of experimental design, completely randomized design, randomized complete block, Latin square experimental plan, loss data estimation, incomplete block design, split-plot, factorial, confounding, fractional factorial, selection of appropriate experimental design, application of commercial statistical software.
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในวันพุธ เวลา 15.00 - 17.00 น.  และช่องทอง online ที่มีการตกลงกับนักศึกษาไว้
1.1.1   เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2   มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4   สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.5   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
 
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2   ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางสถิติ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย คะแนนมาตรฐานและพื้นที่ใต้โค้งปกติ การทดสอบสมมติฐาน และการทดสอบไคสแควร์ หลักการพื้นฐานที่ใช้ในการออกแบบการทดลอง แผนแบบการทดลองสุ่มบริบูรณ์ แผนแบบการทดลองบล็อกสุ่มบริบูรณ์ แผนแบบการทดลองจัตุรัสละติน การประมาณค่าข้อมูลสูญหาย แผนแบบการทดลองบล็อกไม่บริบูรณ์ สปลิตพลอต แฟกทอเรียล การคอนฟาวนด์ แฟกทอเรียลเศษส่วน การเลือกใช้แผนแบบการทดลองที่เหมาะสม การประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
2.1.2   มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3   สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.3.1   การทดสอบย่อย
2.3.2   การสอบกลางภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา
2.3.3   ประเมินงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
3.1.1   มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2   สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3   สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4   มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5   สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1   กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล
3.2.2   การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.3   ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
 
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา เป็นต้น
4.1.1   สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2   สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.3   สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4   รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5   มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
4.2.1   สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.2.4   มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.5   ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.3.1   ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2   ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรมเป็นรายบุคคล
4.3.3   ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
4.3.4   สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
5.1.1   มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2   มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3   สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4   มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5   สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
5.2.2   ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1   ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
5.3.2   ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.3.3   สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
 
6.1.1   มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2   มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1   มอบหมายงานและฝึกให้นักศึกษามีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
6.2.2   มอบหมายกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกัน
สังเกตและติดตามการทำงานของนักศึกษาทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGME107 สถิติและการออกแบบการทดลอง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
-
-
สายชล  สินสมบูรณ์ทอง (2553). สถิติวิศวกรรม. 
สายชล  สินสมบูรณ์ทอง (2558). การวางแผนการทดลอง เล่ม 1.
นิลวรรณ  ชุ่มฤทธิ์ (2554). สถิติวิศวกรรม. 
ปรีดาภรณ์  กาญจนสำราญวงศ์ (2560). หลักสถิติเบื้องต้น
Douglas C. Montgomery and George C. Runger (2014). Appliec Statistics and Probality for Engineers.
1.1  นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนออนไลน์  ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย 1.2  ให้นักศึกษาทำแบบสอบถาม  เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในภาคเรียน
2.1  ประชุมร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนร่วมในรายวิชา 2.2  ประเมินผลการเรียนการสอนโดยหัวหน้ากลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
3.1  นำผลการประเมินของนักศึกษาและผลจากแบบสอบถามจากนักศึกษามาทบทวน  และปรับปรุงการเรียนการสอน 3.2  นำผลการประชุมร่วมระหว่างอาจารย์ผู้สอนมาปรับปรุงการเรียนการสอน 3.3  ทำวิจัยในชั้นเรียน
4.1  บันทึกหลังการสอนรายคาบ 4.2  ผลการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม 4.3  แจ้งคะแนนสอบให้นักศึกษาทราบเป็นระยะ 4.4  ใช้ข้อสอบร่วม
5.1  บันทึกหลังการสอนรายคาบ 5.2  ประชุมผู้สอนร่วม 5.3  ผลการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม