การจัดการธุรกิจออนไลน์

Online Business Management

- เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการทำการจัดการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- เพื่อเป็นแนวทางในการนำหลักการทางการตลาดมาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้หลักการจัดการบนอินเทอร์เน็ต
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ด้านการจัดการ และระบบอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นการตลาดรูปแบบใหม่ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต
- เพื่อให้นักศึกษามีฐานความรู้ที่เป็นรูปธรรมในการศึกษาวิชาอื่น ๆ
- เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ในวิชานี้เพื่อใช้ประกอบอาชีพได้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจออนไลน์ การคัดเลือกสินค้าและบริการสำหรับธุรกิจออนไลน์ การจัดทำเว็บไซต์ การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ระบบธุรกรรมออนไลน์ การจัดการส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าในรูปแบบออนไลน์ การทำธุรกิจร่วมกับเว็บไซต์อื่น
-อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์หลักสูตร และในห้องเรียน
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- ตระหนักในคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญ
- เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- เคารพกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กร และสังคม
- สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในการทำการตลาด
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ
ให้ทำโครงการ หรือกรณีศึกษาที่ต้องประยุกต์ความรู้ในวิชากับปัญหาจริง โดยให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่มสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ความสามารถในระหว่างที่ทำโครงงาน โดยการพูดคุยกับนักศึกษาเน้นความรับผิดชอบต่องาน วินัย จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในกลุ่ม ความถ่อมตนและความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน และความซื่อสัตย์
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการทดลองใช้วิธีการสอนในข้อ (2) ข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหมาย ก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์หรือปรับโครงการให้เหมาะสมมากขึ้น
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
- สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายความต้องการทางการตลาด
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางการตลาดบนอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการนำไปประยุกต์
- สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยายหัวข้อรายละเอียดต่างๆ โดยใช้สื่อ PowerPoint ประกอบการบรรยายโดยให้นักศึกษาร่วมอภิปรายประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้และตามด้วยตัวอย่างในการศึกษา อภิปรายโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
- นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- วิเคราะห์กรณีศึกษา
- คิดอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างเป็นระบบ
- สามารถสืบค้นตีความ และประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
- สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำรายงานที่กำหนดโดยใช้ความรู้วิชานี้ และนำเสนอผลงานในรูปของการอภิปรายกลุ่ม
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษาและสภาพเนื้อหาในบทเรียนที่ได้ศึกษา
- สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
- สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง และรับผิดชอบงานในกลุ่ม
- สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
- มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
ให้ทำโครงการร่วมกันเป็นกลุ่มโดยเน้นความรู้ที่เรียนในวิชากับปัญหาที่กำหนดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ในระหว่างการสอน โดยผ่านการเล่าเรื่องต่าง ๆ พูดคุยกับนักศึกษาถึงความจำเป็นของรายวิชาที่เรียน ในระหว่างทำการสอน
- ประเมินรายงานที่นำเสนอและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- ประเมินพฤติกรรมในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียน การทำงานส่ง
- มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
- สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
- สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่า และการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
- สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
ให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาการตลาดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นจริง
ให้คะแนนโดยวัดจากการนำหลักการจากการเรียนมาเขียนวิเคราะห์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.2 1.5 2.1 2.2 2.3 2.5 2.6 2.7 2.8 3.4 3.1 3.2 3.3 4.2 4.4 4.5 4.6 5.1 5.3 5.4
1 12034306 การจัดการธุรกิจออนไลน์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.5, 2.1, 2.2, 2.4, 3.1, 3.4, 4.1, 5.1,5.2, 5.4 การนำเสนองานเดี่ยววิเคราะห์กรณีศึกษา 4 - 9 40%
2 1.1, 1.2, 1.3, 1.5, 2.1, 2.2, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.3, 5.4 การนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม 10-13 30%
3 1.1,1.5,2.1,3.1, 3.2,3.4, 5.3 สอบปลายภาค 16 30%
กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชาการตลาดบนอินเทอร์เน็ตกรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
- เจริญศักดิ์ รัตนวราห, วัชรพล เกษตระชนม์ และวัฒนา ส่งสิงห์. (2554). ชี้ทางรวยด้วย E-Commerce ใครก็ทำได้. บริษัท เน็ตดีไซต์ พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพฯ.
- ประวัติ เพียรเจริญ (แปล)(2553) .Yoshihiro Sugaya. กลยุทธ์การตลาดลองเทล Long Tail Marketing. สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. ผสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
- ปวัตน์ เลาพะวีร์. (2553ป. ชนะคู่แข่งด้วยการตลาดกับ facebook+twitter Marketing. สำนักพิมพ์วิตตี้กรุ๊ป. กรุงเทพฯ.
- ภิเษก ชัยนิรันดร์ (2552). Marketing Click กลเม็ดเคล็ดลับการตลาดออนไลน์. ซีเอ็ดยูเคชั่น. กรุงเทพฯ
- ภิเษก ชัยนิรันดร์ (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social Media. ซีเอ็ดยูเคชั่น. กรุงเทพฯ
- ศุภรา คภะสุวรรณ. (2551) . เอกสารประกอบการสอนวิชา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ (E-Commerce for International Business). วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- ข้อเสนอแนะผ่านเว็บ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
- ผลการสอบ
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- ปรับปรุงรายวิชาทุกภาคการเรียนตามข้อเสนอแนะและจากผลทวนสอบ
- สลับปรับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลาย