อุปกรณ์ขับเคลื่อนและตรวจวัดในหุ่นยนต์

Robot Actuators and Sensors

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของระบบควบคุมอัตโนมัติ สามารถวิเคราะห์และจำลองส่วนประกอบของระบบควบคุมเชิงเส้น สามารถวิเคราะห์เสถียรภาพของระบบควบคุมป้อนกลับเชิงเส้น วิเคราะห์และออกแบบระบบในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่ ออกแบบการชดเชยสำหรับระบบควบคุม และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทำงานของระบบควบคุม
เพื่อให้เนื้อหามีความทันสมัย โดยเพิ่มเนื้อหาที่ต้องใช้โปรแกรมประยุกต์ ทั้งนี้การปรับปรุง ได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับปัญหาโจทย์ที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการของระบบควบคุมอัตโนมัติ การวิเคราะห์และการจำลองส่วนประกอบของระบบควบคุมเชิงเส้น เสถียรภาพของระบบควบคุมป้อนกลับเชิงเส้น การวิเคราะห์และออกแบบระบบในโดเมนเวลา และโดเมนความถี่ การออกแบบและการชดเชยระบบควบคุม การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทำงานของระบบควบคุม
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของนักศึกษา โดยให้มีการนัดหมายเวลาล่วงหน้า
(2) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและ ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม (4) สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรม ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม (5) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ ประกอบ
 

ปลูกฝังให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการมีวินัย และตรงต่อเวลา โดยกำหนดให้มีการส่งงานมอบหมายและเข้าชั้นเรียนให้ตรงตามเวลา ปลูกฝังให้นักศึกษาเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ โดยการส่งเสริมให้นักศึกษาแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมจากการบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา ที่จะต้องใช้ความรู้ด้านการควบคุมอัตโนมัติ ปลูกฝังให้นักศึกษามีจรรยาบรรณทางวิชาชีพและมีความรับผิดชอบ โดยการยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่มีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับการทำงานทางวิชาชีพวิศวกรรม ฝึกให้นักศึกษาทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมายโดยให้มีการนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข
ประเมินการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายได้ตรงเวลาที่กำหนด ประเมินจากการแต่งกายของนักศึกษาและพฤติกรรมกลุ่มขณะอยู่ในชั้นเรียน ประเมินจากผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลจากการนำเสนองานที่มอบหมายและทัศนคติของนักศึกษา ประเมินจากการนำเสนอการแก้ไขปัญหางานที่ได้รับมอบหมาย
1   ˜ มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศษสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2   ˜ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎี และปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรม
3   ˜ สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4   ™ สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
1   บรรยายหลักการทางทฤษฎีของการควบคุมอัตโนมัติ ร่วมกับการสอดแทรกการใช้คณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิศวกรรมพื้นฐานในการแก้ปัญหา รวมถึงให้มีการสอดแทรกแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ เมื่อมีการนำระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2   บรรยายทางทฤษฎีรวมถึงแนวความคิดในการประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจถึงหลักการและความสำคัญของระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ
3   มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้จากกระบวนวิชาอื่นที่ได้ศึกษามาแล้วเชิงวิศวกรรม มาประยุกต์ใช้กับระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ
4   มอบหมายให้นักศึกษาประดิษฐ์อุปกรณ์ระบบหุ่ยนต์อัตโนมัติขนาดเล็ก เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ และให้สามารถแก้ไขปัญหาของระบบนั้นๆ โดยอาศัยหลักการทางทฤษฎีได้อย่างถูกต้อง
1   มีการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค สำหรับวัดความรู้ และความเข้าใจภาคทฤษฎี
2    ประเมินจากความสำเร็จของงานมอบหมายสำหรับแนวความคิดและการประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ รวมถึงแนวความคิดการแก้ไขปัญหาของระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติในลักษณะ Problem-based Learning
3.1.1   ™ มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2   ˜ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.3    ˜ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  บรรยายโดยเน้นความสำคัญของการคิด วิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาของระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ โดยฝึกให้นักศึกษาได้ใช้การตัดสินใจ
3.2.2   มอบหมยให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ส่งเสริมให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา รวมถึงให้มีการนำเสนอผลงาน
3.2.3   สอดแทรกเทคนิคและแนะนำแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาสามารถทำการค้นคว้าด้วยตนเองได้
3.2.4   สอดแทรกเทคนิคจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการพิเศษ และ การนำเสนอผลงาน
3.3.3    สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1  ™ สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2   ™ สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.3   ™ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4    ˜ รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1   มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงการพิเศษในรูปแบบกลุ่ม
4.2.2   ให้นักศึกษานำเสนอโครงการพิเศษในรูปแบบกลุ่ม โดยให้มีการสอดแทรกการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในการนำเสนอ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารอย่างถูกต้อง
4.2.3   ให้นักศึกษานำเสนอโครงการพิเศษ โดยเน้นแนวคิดของการแก้ปัญหา และการประยุกต์ใช้การควบคุมอัตโนมัติในงานที่ได้นำเสนอ และกำหนดให้นักศึกษานำเสนอรูปแบบการประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม
4.2.4    ให้นักศึกษานำเสนอแผนงานการจัดทำโครงการพิเศษและผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนงาน
4.3.1   ประเมินผลจากการจัดทำโครงการพิเศษและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม
4.3.2   ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการพิเศษของนักศึกษา
4.3.3    ประเมินผลจากแนวความคิดในการประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติต่องานที่นำเสนอ และประโยชน์เชิงวิศวกรรม
5.1.1   ˜ มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2   ˜ มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3   ™ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
5.1.4   ˜ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5    ˜ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   สอดแทรกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอน เช่น การค้นหาข้อมูลที่นอกเหนือจากการสอนในชั้นเรียน
5.2.2   สอดแทรกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการคำนวณ และออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติ และการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์
5.2.3    มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงานประกอบโครงการพิเศษ โดยให้จัดทำและประชาสัมพันธ์งานผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1   ประเมินจากรายงานประกอบโครงการพิเศษ ที่แสดงถึงความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นหาข้อมูล
5.3.2   ประเมินจากรายงานประกอบโครงการพิเศษ ถึงความสามารถในการใช้โปรแกรมประยุกต์
1 ™  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 2 ˜ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมี ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1   สอดแทรกและเน้นให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารเวลา และการวางแผนการทำงาน
6.2.2   มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงานประกอบโครงการพิเศษ โดยให้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และให้มีการนำเสนอที่เน้นการทำงานเป็นทีม
6.-.1  ความตรงต่อเวลาในการส่งงานมอบหมายในแต่ละครั้ง
6.-.2 ความสามารถในการนำเสนองาน และการจัดสรรภาระงานให้แต่ละคน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา (1) เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต (2) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและ ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม (3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถ แก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (4) สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรม ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม (5) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน (1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และ การสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (2) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและ ปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม (3) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง (4) สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการ ประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม (5) สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไข ปัญหาในงานจริงได้ (1) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี (2) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความ ต้องการ (3) สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่าง เหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ (5) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการ เรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ (1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ใน ประเด็นที่เหมาะสม (2) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้ง ส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความ ช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ (3) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (4) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมี ประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความ รับผิดชอบ (5) มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษา สภาพแวดล้อมต่อสังคม (1) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้ เป็นอย่างดี (2) มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดง สถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ (3) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่าง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ (4) มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อ ความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ (5) สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบ วิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ (1) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ (2) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมี ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 ENGME131 อุปกรณ์ขับเคลื่อนและตรวจวัดในหุ่นยนต์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2, 3.1.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 30 30
2 a) 1.1.2, 1.1.3, 3.1.2, 4.1.3, 4.1.4, 5.1.3 b) 2.1.3, 3.1.3, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.5 c) 2.1.4, 3.1.1, 4.1.1, 4.1.4, 5.1.4 d) 1.1.1 a) การทำโครงงานพิเศษ b) รายงานประกอบโครงงานพิเศษ c) การนำเสนอโครงงานพิเศษ d) การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30
3 a) 1.1.1 b) 3.1.1, 4.1.2 a) การเข้าชั้นเรียน b) การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10