การภาษีอากร 1

Taxation 1

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ และความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี รายรับของรัฐบาล นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากรในประเทศไทย การจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร ได้แก่  ภาษีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์  หลักและวิธีการจัดเก็บภาษีอากร  ภาษีศุลกากร  ภาษีสรรพาสามิต และภาษีเฉพาะอย่างอื่นที่เก็บตามสภาวะเศรษฐกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการ วิธีการ และความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี รายรับของรัฐบาล นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากรในประเทศไทย การจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร
ศึกษาหลักการ วิธีการและความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี แหล่งรายรับของรัฐบาล  ความแตกต่างของรายรับอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาจากการภาษีอากร  นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากร  ปัญหาภาษีอากรที่เกิดขึ้นภายในประเทศ  วิธีการจัดเก็บตามประมวลรัษฎากร  ซึ่งได้แก่  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ภาษีเงินได้หัก  ณ ที่จ่าย  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ  อากรแสตมป์  หลักและวิธีการจัดเก็บภาษีอากร  ศุลกากร  ภาษีสรรพสามิต  และภาษีเฉพาะอย่างอื่น ๆ  ซึ่งรัฐอาจกำหนดขึ้นตามความจำเป็นและ สภาวะเศรษฐกิจ
อาจารย์ผู้สอนกำหนดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาและแบบฝึกหัดเป็นเวลา3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย
มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา                   การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
4.2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
4.2.3.1 งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย สอบปลายภาค สอบกลางภาค 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BACAC124 การภาษีอากร 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10
2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สอบย่อย1 : สอบกลางภาค: สอบย่อย2 : สอบปลายภาค : รายงาน 6,8,14,18 15 : 15 : 20 : 20 :20
สุเมธ ศิริคุณโชติ, กำธร สิริชูติวงศ์, อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์ และภิรัตน์ เจียรนัย. (2562). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2562. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเรือนแก้วการพิมพ์.
www.rd.go.th
www.rd.go.th
การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาในส่วนของนักศึกษาผู้เรียนในแต่ละหมู่นั้น ผู้สอนของทุกหมู่เรียนจะประชุมตกลงกันในกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้ได้รับผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาที่สอนในแนวทางเดียวกัน และนำมาวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการปรับปรุงต่อไป
          กิจกรรมที่จะนำไปสู่การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาโดยนักศึกษา  ได้แก่
          1.1  ผู้สอนจัดกิจกรรมพบนักศึกษาเป็นกลุ่มซึ่งใช้กลุ่มที่ได้จัดไว้ในการมอบหมายงานกรณีศึกษา   เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสาระเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
             1.2  ผู้สอนติดตามผลการมอบหมายงานของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นระยะ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน
          1.3  ผู้สอนมอบหมายให้ นักศึกษาแต่ละคนเขียนบันทึกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
          1.4  จัดให้มีการประเมินผู้สอนและประเมินรายวิชาโดยใช้แบบประเมินโดยส่วนกลางก่อนสอบกลางภาค เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบและสามารถปรับปรุงได้ในภาคการศึกษานั้น หากผลการประเมินพบว่าควรมีการปรับปรุง
การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนและผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการ ดังนี้
             2.1  การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนดำเนินการโดยให้ผู้สอนได้เข้าสังเกตการณ์การสอนของหมู่เรียนอื่น แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันพร้อมข้อเสนอแนะ
          2.2  การประเมินการสอน โดยผู้ร่วมทีมการสอนร่วมกันออกข้อสอบและใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทดสอบผู้เรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านตามที่ระบุ
          2.3  การประเมินการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการทวนสอบข้อสอบก่อนนำไปใช้ โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาและเห็นชอบข้อสอบก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
          3.1  จัดให้มีการสัมมนาเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชา โดยนำผลการประเมินประสิทธิภาพรายวิชา ผลการประเมินการสอน ผลการสอบ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการพิจารณา
          3.2  จัดให้มีการวิจัยในชั้นเรียน หรือ การรายงานการปฏิบัติงานสอน ทุกสัปดาห์
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
          4.1  จัดให้มีการสัมมนาเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชา โดยนำผลการประเมินประสิทธิภาพรายวิชา ผลการประเมินการสอน ผลการสอบ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการพิจารณา
          4.2  จัดให้มีการวิจัยในชั้นเรียน หรือ การรายงานการปฏิบัติงานสอน ทุกสัปดาห์
จากผลการประเมินประสิทธิภาพในข้อ 1. และ ข้อ2. ดังกล่าวแล้วข้างต้น รวมทั้งการนำไปปรับปรุงการสอนในข้อ 3. แล้วนั้น เพื่อให้การสอนของรายวิชานี้มีคุณภาพอันนำไปสู่การผลิตบัณฑิตทางการบัญชีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชีและการเงิน ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          5.1  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน โดยการให้มีอาจารย์ผู้สอนเดิมอยู่อย่างน้อย ๑ คน แล้วจัดอาจารย์ผู้สอนใหม่เข้ามาหากสามารถดำเนินการได้ เพื่อให้ได้รับมุมมองใหม่จากอาจารย์ผู้สอนท่านใหม่
          5.2  ทบทวนและปรับปรุงหัวข้อการสอน กลยุทธ์การสอน วิธีการสอน วิธีการวัดผลและประเมินผล ฯลฯ ตามที่ได้รับจากผลการประเมิน