การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 1

Professional Experience 1

สามารถบูรณาการความรู้ทั้งหมดที่ได้ศึกษามาใช้ในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาจริง สามารถนำประมวลรายวิชาเฉพาะมาจัดทำแผนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถนำเทคนิคและยุทธวิธีการสอนมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้   สามารถเลือกใช้และผลิตวัสดุช่วยสอน ตลอดจนเทคนิคการแก้ไขปัญหา สามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามสภาพความเป็นจริงและนำผลมาพัฒนาการจัด  การเรียนรู้ สามารถจัดทำบันทึกและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ สามารถทำวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สามารถจัดกิจกรรมทางวิชาการเรียนรู้รวมทั้งการปฏิบัติงานครูด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานสอนโดยตรง และเพื่อส่งเสริมการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในองค์การ มีเจตคติที่ดีและศรัทธาวิชาชีพครู ร่วมสัมมนาการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูสามารถปฏิบัติงานด้านการสอน ผลิตสื่อ และปฏิบัติงานอื่น ๆ ในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา
ปฏิบัติการสอนเพื่อรับประสบการณ์วิชาชีพครู  โดยฝึกทักษะและความสามารถในรูปแบบของการบูรณาการการสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ    การวางแผนการสอน การเลือกยุทธวิธีการสอน   การเลือกใช้และผลิตวัสดุช่วยสอน  ตลอดจนเทคนิคการแก้ไขปัญหาขณะทำการสอนและตรวจงานของผู้เรียน  การวัดและประเมินผลและนำผลมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตลอดจนการบันทึกและการรายงานผลการจัดการเรียนรู้  การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมฝึกสอนและสถานฝึกสอน  การปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมของความเป็นครูฝึกสอนกับผู้เรียน  และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถานฝึกสอน การสัมมนาทางการศึกษา โดยอยู่ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากอาจารย์นิเทศและอาจารย์พี่เลี้ยง
-
2.1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
                    2.1.1.2   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
                    2.1.1.3   มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
                     2.1.1.4   เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
            กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
2.1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
                    2.1.3.2   ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
                    2.1.3.3   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
                    2.1.3.4   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
                    2.1.3.5   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
     2.2.1.1      มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
                    2.2.1.2   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา       
                    2.2.1.3   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา              นั้น ๆ
     2.2.3.1      การทดสอบย่อย
                    2.2.3.2   การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
                    2.2.3.3   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
                    2.2.3.4   ประเมินจากโครงงานที่นำเสนอ
                    2.2.3.5   ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
                    2.2.3.6   ประเมินจากรายวิชาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
     2.3.3.1      มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
                    2.3.3.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)  มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้องและเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
2.3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
                    2.3.3.2   การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ
                    2.3.3.3   การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
                    2.3.3.4   การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
2.4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
                    2.4.1.2   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    2.4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
                    2.4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
2.4.2.1 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                    2.4.2.2   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
                    2.4.2.3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
                    2.4.2.4   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
                    2.4.2.5   มีภาวะผู้นำและผู้ตาม
                    2.4.2.6   มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย  และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
2.4.3.1 พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
                    2.4.3.2   พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
     2.5.1.1      สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
                    2.5.1.2   สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
                    2.5.1.3   สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.5.2.1  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
                    2.5.2.2   ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
                    2.5.2.3   ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
                    2.5.2.4   ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
2.5.3.1  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
                    2.5.3.2   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
                    2.5.3.3   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
                    2.5.3.4   จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
2.6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    2.6.1.2   สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม
2.6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
                    2.6.2.2    สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
                    2.6.2.3    สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
                    2.6.2.4    จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
                    2.6.2.5    สนับสนุนการทำโครงงาน
                    2.6.2.6    การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
2.6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
                    2.6.3.2   มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
                    2.6.3.3   มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
                    2.6.3.4   มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
                    2.6.3.5   มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 3.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 3.2 ด้านความรู้ 3.3 ด้านทักษะทางปัญญา 3.4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 3.5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 3.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 3.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 3.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 3.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 3.2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 3.2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3.2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ 3.3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 3.4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 3.4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 3.4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 3.5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 3.5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3.5.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.6.2 มีทักษะทางด้านการสอนในสายวิชาชีพที่เด่นชัด
1 30022506 การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ผลการเรียนรู้ทั้งหมด ประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูจากอาจารย์ประจำวิชา / อาจารย์พี่เลี้ยง / ผู้บริหาร (แบบประเมินผลการสอน สำหรับอาจารย์พี่เลี้ยง/ผู้บริหาร) 1-8, 9-17 40%
2 ผลการเรียนรู้ทั้งหมด ประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูจากอาจารย์นิเทศ คะแนนจากการนิเทศ (คู่มือการนิเทศการสอน) 1-17 25%
3 ผลการเรียนรู้ทั้งหมด คะแนนจากผลงาน (โครงการสอน หนังสือเรียบเรียงทฤษฏี หนังสือเรียบเรียงปฏิบัติพร้อมคู่มือ วิจัยในชั้นเรียน การจัดสัมมนาปลายภาคเรียน) สัมมนาปลายภาคเรียน) 1-17 25%
4 ผลการเรียนรู้ทั้งหมด ประเมินจากผู้เรียน (แบบประเมินผลการสอน สำหรับนักศึกษา) 1-17 10%
4 ผลการเรียนรู้ทั้งหมด ประเมินจากผู้เรียน (แบบประเมินผลการสอน สำหรับนักศึกษา) 1-17 10%
บันทึกการปฏิบัติงาน
เอกสารการสอน
แผนการสอน
นิสิต
การตอบแบบประเมินผล การประชุมสัมมนาหลังการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
อาจารย์พี่เลี้ยงหรือสถานศึกษา
  (1)  นิเทศ และประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู ทั้งการสอน และการปฏิบัติงานครูอื่นๆ ในแบบฟอร์มที่กำหนด      (2)  การประชุมสัมมนาอาจารย์พี่เลี้ยงหลังการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อประเมินผลการปฏิบัติและการจัดการการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
อาจารย์นิเทศก์     (1)  นิเทศ และประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู ทั้งการสอน และการปฏิบัติงานครูอื่นๆ ในแบบฟอร์มที่กำหนด      (2)  การประชุมสัมมนาอาจารย์พี่เลี้ยงหลังการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อประเมินผลการปฏิบัติและการจัดการการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
อาจารย์ประจำวิชาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู             (1)  การสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู ของผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู จากคณะผู้บริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง               (2)   รวบรวมผลการประเมินทั้งหมดเพื่อนำมาคิดค่าระดับคะแนน
(1)  คณะและสาขาวิชาประมวลผลจากการประชุมอาจารย์ประจำวิชาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์นิเทศ อาจารย์พี่เลี้ยง จากเอกสารการนิเทศ และแบบสอบถามความพึงพอใจของคณะผู้บริหารสถานศึกษา และการประเมินผลค่าระดับคะแนนของผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะ (2)  สาขาวิชาร่วมพิจารณาประสิทธิผลของการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในภาคการศึกษาต่อไป โดยแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร