เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2

Electrical Machines 2

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรสมมูลและคุณลักษณะรวมทั้งสมรรถภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำทั้งเฟสเดียวและสามเฟส การวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้าทั้งแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส หลักการควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับและการป้องกันเครื่องจักรกลไฟฟ้า
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2 เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการนำไปพัฒนา และประยุกต์ใช้งานในการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และนวัตรกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงสร้างของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรสมมูลและคุณลักษณะรวมทั้งสมรรถภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำทั้งเฟสเดียวและสามเฟส การวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้าทั้งแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส หลักการควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับและการป้องกันเครื่องจักรกลไฟฟ้า
Study and practice of the structure and operation of mechanical alternator, the equivalent circuit including the performance and features of the generator, the induction motors single phase motors and three phase motors, analysis of mechanical power, a synchronous and a- synchronous machine, the mechanical control and the prevention of electrical machine.
1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
š1.1.1 แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
˜1.1.3 แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความ รับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
กำหนดให้นักศึกษาต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกาย การสอนเน้นการสอดแทรกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
1.3.1 ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่ก าหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.2 ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททาง วิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่นงานในกลุ่ม
˜2.1.1 มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่าง กว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
˜2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพ เฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึง ความส าคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
š2.1.3 สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
บรรยายทฤษฎี อภิปรายเกี่ยวกับหลักทางทฤษฎี และประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยสอดคล้องกับเนื้อหาเครื่องจักรกลไฟฟ้า การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม ข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งเน้นนวัตกรรมใหม่หรืองานวิจัยใหม่ มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลไฟฟ้า
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการทฤษฎี และปฏิบัติ
2.3.3 ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดและการทำการทดลอง รวมถึงการวิเคราะห์และอภิปรายผลการทดลอง
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและ จริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญา ต้องครอบคลุมดังนี้
˜ 3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มี ความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
˜ 3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์ และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษานำเสนอแนวความคิด และปัญหาที่สนใจที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้า
3.2.2 ให้นักศึกษาได้ลงปฏิบัติ และแก้ไขสภาพปัญหาจริง ในรูปแบบการพัฒนาอุปกรณ์ โดยใช้องค์ความรู้ที่ศึกษาจากทฤษฎี
3.2.3 การอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์กรณีศึกษา โดยการนำทฤษฎีที่เหมาะสมมาใช้
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2 ประเมินผลจากการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
3.3.3 ประเมินผลจากการอภิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ
š4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
š4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 กำหนดบทบาท หน้าที่ การท างานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการ แก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
4.2.3 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
4.3.1 ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
4.3.2 ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
š5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ดำเนินการสอนโดยมอบหมายงานหรือหัวข้อที่ต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรืองานวิจัยที่น่าสนใจ ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยให้นำเสนอผ่านการทำเล่มรายงานพร้อมการนำเสนอความคิดสนับสนุน จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
5.3.1 ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
การเรียนการสอนเน้นความสำคัญไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม
˜6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานใน วิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบ หลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
š6.1.2 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึง ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมี นวัตกรรม
จัดกิจกรรมเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.3.1 ประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติงาน
6.3.2 ประเมินผลจากการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.3 ประเมินจากโครงงานนักศึกษา
6.3.4 ประเมินจากการนิเทศนักศึกษาขณะปฏิบัติการสอน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDEE108 เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2, 3.1.1, 3.1.2, 6.1.1, 6.1.2 สอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 5% 20% 5% 25%
2 2.1.1, 2.1.2, 3.1.1, 3.1.2, 6.1.1, 6.1.2 - การทดลองและรายงาน - โครงงานประยุกต์ ตลอดภาคการศึกษา 20% 15%
3 1.1.1, 1.1.3, 3.1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
- Stephen J. Chapman, Electric Machinery Fundamentals, McGRAW – HILL
- เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้า 2 (Electrical Machine II)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ