การเขียนเชิงวิชาการ

Academic Writing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเขียนระดับความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่างๆ โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ การอ้างอิง และแก้ไขปรับปรุงงานเขียนเชิงวิชาการ
2.1 นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค 1/2561) มาปรับปรุงในแต่ละด้าน ดังนี้
      ด้านการสอน

การถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายและชัดเจนเข้าใจง่าย (3.83)

         ปรับปรุง โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
     ด้านสื่อการสอน

มีสื่อการสอนและอุปกรณ์ที่น่าสนใจ เข้าใจได้ง่าย (4.8)

       ปรับปรุง โดยจัดทำสื่อการสอนในรูปแบบสื่อนำเสนอ ประกอบการอธิบาย และแนะนำ Link ที่น่าสนใจให้นักศึกษามีช่องทางเข้าถึงสื่อและแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น
      ด้านการประเมิน

มีการประเมินผลงานนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ แจ้งผลสอบให้ทราบและได้ชี้แจงปรับปรุง (4.8)

      ปรับปรุง โดยชี้แจงเกณฑ์ในการประเมินผลงาน และกำหนดการแจ้งผลการทดสอบย่อย งานมอบหมาย พร้อมทั้งแนวทางปรับปรุงผลงานให้นักศึกษาทราบอย่างสม่ำเสมอ
2.2  นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเขียนเชิงวิชาการ โดยมุ่งเน้นการฝึกทักษะในการถอดความ สรุปความ และการอ้างอิงแหล่งข้อมูล การวางโครงร่าง การแก้ไขปรับปรุงงานเขียน เพื่อสร้างงานเขียนเชิงวิชาการในรูปแบบต่างๆ
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- สร้างช่องทางติดต่อทาง social network เพื่อเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษาและส่งงาน
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามี
1.1.1 ความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีจิตสำนึกสาธารณะ เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
1.1.2 ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณทางวิชาการในเนื้อหาของบทเรียน
1.2.2 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.2.3 ฝึกวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
1.3.1 การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาค
1.3.2 การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 ผลการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในงานเขียน
ส่งเสริมผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ กระบวนการเขียน การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ รวมถึงความสามารถในการบูรณาการความรู้ในการเขียนกับศาสตร์ต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยให้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านการเขียนในการวิเคราะห์ปัญหา และการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ active learning ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด โดยให้นักศึกษาศึกษาความรู้จากบทเรียนต่าง แล้วฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
สังเกตุจากผลงานของนักศึกษา และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อม และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาวิเคราะห์ความหมายของคำศัพท์ ของข้อความต้นฉบับ วิเคราะห์คุณภาพและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานเขียนเชิงวิชาการ
สังเกตุจากการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่องานเขียน
สังเกตุจากการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาในบทเรียน และให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการเขียนงานเชิงวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
สังเกตุจากการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
พัฒนานักศึกษาให้มีความรอบรู้และมีทักษะในการปฏิบัติงานเขียน โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ โดยใช้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในประเทศไทย
6.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
6.3.2 ผลการฝึกปฏิบัติการเขียนงานเชิงวิชาการของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC126 การเขียนเชิงวิชาการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.2, 3.1, 5.2 การสอบกลางภาค 9 15%
3 2.2, 3.1, 5.2 การสอบปลายภาค 17 15%
4 2.2, 3.1, 5.2 การฝึกปฏิบัติ 2-8, 10-15 30%
5 6.2 งานมอบหมาย (3 ชิ้นงาน) 8, 13, 16 30%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนเชิงวิชาการ
Bailey, Stephen. 2011. Academic Writing: A handbook for International Students. 3rd edition. New York: Routledge. Cohen, R. and Miller, J. L. 2003. Reason to Write: Strategies for Success in Academic Writing. Oxford: Oxford University Press. Davis, Jason & Lies, Rhonda. 2006. Effective Writing 3. New York: Oxford University Press. Folse, K. S. and Pugh, T. 2007. Greater Essays. USA: Thomson Heinle. Geyte, Els Van. 2013. Writing: Learn to Write Better Academic Essays. London: Harper Collins Publishers. Hogue, Ann. 1996. First Steps in Academic Writing. Addison-Wesley Publishing Company. Ingram, B and King, C. 2004. From Writing to Composing. Cambridge: CUP. Jordan, R. R. 1999. Academic Writing Course: Study Skills in English. Essex: Pearson Education Limited. Leki, I. 1998. Academic Writing: Exploring Processes and Strategies. 2nd Edition. Cambridge: Cambridge University Press. Meyers, A. 2005. Gateways to Academic Writing. New York: Pearson Education, Inc. Oshima, A. and Hogue, A. 1999. Writing Academic English. 3rd Edition. New York: Addison-Wesley Longman. Oshima, A. and Hogue, A. 2007. Introduction to Academic Writing. 3rd Edition. New York: Pearson Education. Savage, A. and Shafiei, M. 2007. Effective Academic Writing 1: The Paragraph. New York: Oxford University Press. Veit, R., Gould, C. and Clifford, J. 2001. Writing, Reading and Research. 5th ed. USA: Allyn & Bacon (Longman). Zemach, D. E. and Rumisek, L. A. 2003. College Writing: From Paragraph to Essay. Oxford. Macmillan Publishers Limited. เว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ และข้อมูลที่นักศึกษาสนใจ

 
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จากแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา รวมถึงข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านการอภิปรายและช่องทางอื่น ๆ
การประเมินประสิทธิผลของการสอน ดูจากผลการเรียนของนักศึกษา เกณฑ์การวัดผล เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล และการทวนสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชาโดยคณะกรรมการฯ
นำผลประเมินการสอนที่ได้จากภาคเรียนที่ 1/2561 มาปรับปรุงในด้านการสอน สื่อการสอน และการประเมินผล รวมถึงการนำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลการเรียนรู้สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา ข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งกลางภาคและปลายภาค และเกณฑ์การประเมินผลงาน
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4