การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

System Analysis and Design

เมื่อนักศึกษาเรียนผ่านรายวิชานี้แล้ว จะมีความสามารถดังต่อไปนี้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ การออกแบบระบบ การเขียนโมเดลต่างๆ ทางซอฟต์แวร์ และการเขียนเอกสารประกอบ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในในการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการทำงานในอนาคต
ศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ วงจรการพัฒนาระบบ วิธีวิเคราะห์ระบบ เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ระบบ การศึกษาความเป็นไปได้ขอบระบบ ผังการบริหารโครงการ แผนภาพแสดงการทำงาน แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูล การเขียนคำอธิบายการประมวลผล แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล ผังแสดงโครงสร้างของระบบ การออกแบบส่วนรับข้อมูล การออกแบบส่วนแสดงผลข้อมูล การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การกำหนดคุณสมบัติของระบบฮาร์ดแวร์และเครือข่าย การทำเอกสารประกอบ
3.1 วิธีการให้คำแนะนำ ให้คำแนะนำในชั้นเรียนหากนักศึกษามีข้อสงสัยในเนื้อหาที่เรียน สามารถสอบถามในห้องเรียนหรือนอกเวลาเรียนได้ตลอดเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
3.2 นักศึกษาสามารถ E-mail มาปรึกษา หรือ แชทผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ทุกเวลา
    ™ 1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
    ˜ 1.2 วินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
    ™ 1.5 เครารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
    ™ 1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบันฯ
2.นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซ่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2.ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
4.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
˜ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา
    ˜ 2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจแลอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
    ™ 2.3 สามารถวิเคราะห์ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ระกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
    ™ 2.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้
    ™ 2.5 รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษา เพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
    ˜ 2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/ หรือการประยุกต์ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริง
     ˜ 2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทฤษฏี และประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามคำอธิบายรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
3. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
5. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
˜ 3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
    ™ 3.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินอุตสาหกรรมโดยใช้สารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
    ™ 3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
    ˜ 3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
1. การมอบหมายงานให้ผู้เรียนทำโครงงานกลุ่มที่ต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ
2. อภิปรายกลุ่ม
1. สอบกลางภาคและปลายภาค ออกข้อสอบให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
2. วัดผลจาการประเมินโครงการ การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
™ 4.1 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ
˜ 4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
1. มอบหมายงานกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา ที่มีการค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น 
2. การนำเสนอโครงงาน
1. ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
3. สังเกตุพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
    ˜ 5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
    ™ 5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
    ™ 5.4 สามารถเลือกใช้สื่อสารสนเทศอย่างเหมาะสม
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา รายกลุ่ม โดยการนำเสนอโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม   
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย และวิธีการอภิปราย การตอบข้อซักถามจากกลุ่มเพื่อน และอาจารย์ผู้สอน
˜ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
™ 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1. นำเสนอหน้าชั้นเรียนในส่วนที่ได้รับมอบหมาย
2. สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน การแบ่งหน้าที่กันทำงาน
1. มีการประเมินการปฏิบัติงานการทำงานเป็นทีม
2. การเข้าชั้นเรียนตรงตามเวลา
3. การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 3 4 2 1 2
1 ENGCE108 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรมจริยธรรม การเข้าชั้นเรียน 1-16 1-16 10%
2 2,3 ความรู้ และ ทักษะทางปัญญา 5,6 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีและทักษะปฏิบัติ สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5 9 17 5% 30% 30%
3 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีและทักษะปฏิบัติ - รายงานวิเคราะห์กรณีศึกษารายกลุ่ม - การแบ่งกลุ่มทำงานในรูปรายงานโครงงาน และการนำเสนอ 16 15% 10%
หนังสือ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม), โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ หนังสือ คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบ, กิตติ ภักดีวัฒนะกุล-พนิดา พานิชกุล
หนังสือ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ, ซีเอ็ดยูเคชั่น เอกสารการเรียนแบบ Power Point 
เว็บไซด์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา การติดต่อ ปรึกษา ส่งงานตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
สังเกตการณ์เรียนของนักศึกษาในห้องเรียน  พิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาผลงานกลุ่มของนักศึกษา
นำผลการประเมินผู้สอนและประเมินรายวิชามาพิจารณาและหาแนวทางปรับปรุงวิธีการสอนและการเรียนรู้ของนักศึกษา   สัมมนาการเรียนการสอน
     มีการทบทวนผลสัมฤทธิ์โดยคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์  หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
มีการปรับปรุงรายวิชาทุกๆ   5   ปี   นอกจากนี้ในแต่ละภาคการศึกษา  จะมีการนำผลการประเมินการสอนมาพิจารณาปรับปรุงเนื้อหารายวิชาและแนวทางการสอน เชิญอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญบรรยายให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น