การเตรียมความพร้อมการเป็นวิศวกรการผลิต

Production Engineer Preparatory

เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความสามารถ  และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด กระบวนการและขั้นตอนของสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางวิศวกรรมการผลิต ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานและเทคนิคในการสมัครงานอาชีพ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ ระบบบริหารงานคุณภาพในสถานประกอบการ ไปใช้ในสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิศวกรรมการผลิต
ฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด กระบวนการและขั้นตอนของสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางวิศวกรรมการผลิต ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานและเทคนิคในการสมัครงานอาชีพ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ ระบบบริหารงานคุณภาพในสถานประกอบการ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง
1.1.2 เคารพกฏระเบียบวินัยและข้อปฏิบัติต่างๆ
1.1.3 มีคุณธรรมความเป็นผู้นำและผู้ตาม
1.1.4 ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
1.1.5 มุ่งปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรมทั้งในเรื่องส่วนตน และสังคม
1.2.1 ให้ความสำคัญของการตรงต่อเวลา มีการเช็คชื่อเข้าเรียนและให้คะแนนในส่วนของนักศึกษาที่ตรงต่อเวลา
1.2.2 การตักเตือนนักศึกษาในการเคารพกฎระเบียบด้านการแต่งกายและความประพฤติ
1.2.3 แจ้งวิธีประเมินผลการเรียน กฎระเบียบและข้อบังคับในการใช้ห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องและปลอดภัย
1.3.1 พิจารณาพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งผลงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามกำหนดเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 การร่วมกิจกรรมระหว่างเรียนการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์
สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.2.1 บรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องนั้นๆ 
2.2.2 มีกิจกรรม ประเด็นปัญหาเพื่อการถาม–ตอบในระหว่างการเรียนการสอน
2.2.3 การนำเสนอผลงานและรายงาน การวิเคราะห์ผลงานที่นักศึกษาทำ
2.3.1 วิเคราะห์ผลงานที่นักศึกษาทำ
2.3.2 ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
2.3.3 นำเสนอสรุปผลจากรายงานที่มอบหมาย และการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2.3.4 ประเมินผลจากการเข้าห้องเรียน
สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1 บรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องนั้นๆ
3.2.2 ปฏิบัติงานและวิเคราะห์งานที่ได้รับมอบหมาย
3.2.3 ทำงานกลุ่มและการนำส่งผลงาน
3.2.4 สรุปการเรียนการสอน
3.3.1 วิเคราะห์ผลงานจากงานที่มอบหมาย
3.3.2 วัดผลจากการทดสอบและการส่งผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหารวมถึงการทำงานกลุ่ม
4.1.1 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
4.1.2 สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
 
4.2.1 มอบหมายงานกลุ่ม และงานเดี่ยว
4.2.2 ปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 นำเสนอผลงาน
 
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ การทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง 
5.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูลและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 
5.2.1 นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ผลจากกระประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมาย
วัดผลจากการทดสอบและการส่งผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 3 4 1 2 5 1 2 4 3 5 3 5 1 2 4 3 4 1 2 5 4 5 1 2 3 1 2
1 ENGIE213 การเตรียมความพร้อมการเป็นวิศวกรการผลิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตรงต่อเวลา รายงาน ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 ปฏิบัติงานและนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 50%
สมุดบันทึกการปฏิบัติงาน.
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสมาคมสหกิจศกษาไทย. มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงาน สหกิจศิกษา / สมาคมสหกจศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3, นครราชสีมา : สมาคมสหกจศิกษาไทย. ,2552 สํานักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คู่มือสหกิจศึกษา และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. มปท. มปป.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บเพจ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ