เทคโนโลยีหมักดอง

Fermentation Technology

1.1  เพื่อให้นักศึกษาทราบและมีความรู้/ความเข้าใจถึงความหมายของการหมักดอง  คุณสมบัติของจุลินทรีย์และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในการหมักดอง  เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างการหมักดองและสาเหตุของการเสื่อมเสีย  และพิจารณาเลือกวิธีการหมักดองให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละชนิด     
1.2  เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการหมักดอง แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกับความรู้ที่ได้รับ เพื่อให้รู้กระบวนการหมัก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการหมักในอุตสาหกรรม
          1.3  เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ได้แก่ การมีภาวะผู้นำและผู้ตาม การจัด การความขัดแย้ง  การปรับตัวเพื่อร่วมงานกับผู้อื่น  และความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองและของกลุ่ม
            1.4  เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลทางด้านองค์เทคโนโลยีการหมักดอง  การใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล  การนำเสนอข้อมูลเชิงสถิติและการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่าย โดยนำเสนอเป็นกราฟแบบต่าง ๆ    การใช้ Power point  ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย 
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ในวงการอุตสาหกรรมการหมักดอง ที่พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีและงานวิจัยใหม่ ๆ และนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงเนื้อหาการสอนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ความหมายของการหมักดอง  จุลินทรีย์และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในการหมักดอง  ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการหมักดอง  การผลิตอาหารหมักประเภทผักและผลไม้  เนื้อสัตว์  นม  และธัญพืช ทั้งในระดับครัวเรือน และอุตสาหกรรม 
       -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านอีเมล์และเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัย
       -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
          3.1 วัน พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้อง  421 โทร  089-7059808
          3.2  e-mail; jutasarot@hotmail.com เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
1.1  มีวินัยและความรับ ผิดชอบต่อตน เองและสังคม 
   1.2  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    1. มอบหมายให้ทำรายงานบทปฏิบัติ การเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม
    2. อธิบายข้อปฏิบัติที่ดีในกระบวนก่อนและหลังการปฏิบัติที่ถูกสุขลักษณะในภาคปฏิบัติ และ ข้อควรปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามระเบียบสถานศึกษาหรือเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในสัปดาห์แรกของการเรียน
    1. ประเมินผลงานรายบุคคลหรือกลุ่ม (เอกสาร รายงาน) การส่งรายงานบทปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมายตามระยะเวลาที่กำหนด
    2. ประเมินวิธีการปฏิบัติที่ดีและการปฏิบัติโดยให้คะแนนกลุ่มหรือรายบุคคล  และตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนทุกครั้งตามระเบียบสถานศึกษา
2.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักการและทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน  ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจด้านเคมีอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร การประกันคุณภาพและสุขาภิบาล และการทำวิจัย    
      2.2  มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ ชีวภาพ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    1. บรรยายเกี่ยวกับเกี่ยวกับกระบวนการหมักดอง คุณสมบัติของเอนไซม์และเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิด  หลักการผลิตอาหารหมักดองแต่ละประเภท การเสื่อมเสียและการเก็บรักษา  ตลอดจนความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหมักดอง
    2. มอบหมายงานให้มีการค้นคว้าความรู้ใหม่หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางเทคโนโลยีเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ
    1. สอบข้อเขียนแบบอัตนัยและ/หรือแบบปรนัย
    2. ประเมินผลการนำเสนอความรู้ใหม่หรืองานวิจัยทางเทคโนโลยีเนื้อสัตว์เช่น การตอบข้อซักถามความเข้าใจและการประยุกต์ความเข้าใจกับวิชาอื่นๆ
3.1  มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
     3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
    3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ  เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
   3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
1. อธิบายวิธีการปฏิบัติให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แต่ละขั้นตอนการผลิต แบ่งกลุ่มนักศึกษาปฏิบัติ วิจารณ์ผลการปฏิบัติร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
     1. ประเมินทักษะปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอน การแก้ปัญหาระหว่างปฏิบัติ และประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์สุดท้าย
    4.1  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบ หมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
    4.2  สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
    4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
  1. แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ
  2. มอบหมายงานทั้งรายบุคคลและกลุ่ม     3. อธิบายข้อปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
 1. ทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตาม ที่กำหนด
    2.  ตรวจสอบการความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาการแต่งกาย ที่เหมาะสม และการทำความสะอาดหลังการปฏิบัติ
    3. สังเกตและประเมินการทำงานร่วมกับผู้อื่นจากการส่งรายงานบทปฏิบัติการ
   5.1 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    5.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  1.  มอบหมายงานค้นคว้างานวิจัยใหม่ๆ ทางเทคโนโลยีการหมัก เทคโนโลยีทางชีวภาพที่มีการตีพิมพ์ในระดับ ชาติหรือนานาชาติ และมีการนำเสนอในชั้นเรียน
   1.  ประเมินผลการนำเสนอความรู้ใหม่หรืองานวิจัยทางเทคโนโลยีการหมัก เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอ
     6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการรวมถึงความ สามารถในการทำงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
 1. แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ
 2. อธิบายวิธีการปฏิบัติ วิธีการใช้เครื่อง มืออุปกรณ์ที่เหมาะสม และข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือ
  3. ฝึกทักษะปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน และมีการทดสอบภาคปฏิบัติ
1. ประเมินความสำเร็จของงาน ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม
   2. ประเมินการใช้เครื่องมือและอุป กรณ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม
   3. ประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย จากการทดสอบภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 4 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BSCFT123 เทคโนโลยีหมักดอง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 2.1 3.4, 4.1, 6.1 สอบกลางภาค (หน่วยที่ 1-3) สอบปลายภาค (หน่วยที่ 4-6) สอบปฏิบัติ 9 18 17 30 % 25 % 10 %
2 1.3, 1.5, 2.2, 5.2, 5.6 4.1, 6.1 4.1 การนำเสนองานวิจัยและรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งรายงานบทปฏิบัติการ 18 ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 10 % 5 % 10 %
3 1.3 1.5 การเข้าชั้นเรียน การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 5 % 5 %
จารุวรรณ  มณีศรี. 2550. เทคโนโลยีอาหารหมัก. ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ, คณะ
          วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.
นงลักษณ์  สุวรรณพินิจและ ปรีชา  สุวรรณพินิจ. 2544.  จุลชีววิทยาทั่วไป. สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์
          มหาวิทยาลัย,  กรุงเทพฯ.
นงลักษณ์  สุทธิวนิช. 2527.  ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา 
พรพรรณ  เลิศทวีสินธุ์. 2544.  การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรม. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,
       กรุงเทพฯ.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2547. การจัดการเนื้อสัตว์, ภาควิชาสัตวศาสตร์,คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
          เชียงใหม่.
ลูกจันทร์  ภัครัชพันธุ์. 2524. อุตสาหกรรมอาหารหมักดอง. ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ,  คณะอุตสาหกรรม
          เกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
วรวุฒิ  ครูส่ง และรุ่งนภา  พงศวัสดิ์มานิต.  2532. เทคโนโลยีการหมักในอุตสากรรม. โอเดียนสโตร์กรุงเทพฯ.
เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
สื่อตีพิมพ์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต่างๆ
เวปไซต์ที่นำเสนอองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการหมัก
1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

             1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
            1.3 ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ ทางเทคโนโลยีการหมักในชั้นเรียน
3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.4 การบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการหมักจากวิทยากรภายนอกตามโอกาส
3,5 การศึกษาดูงานนอกสถานตามโอกาส
ระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ