ระบบการจัดการสี

Color Management System

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและกระบวนการในการวัดค่าสี รวมทั้งการ แปลงค่าสีในระบบต่างๆ หลักการของการจัดการสีโดยการใช้อุปกรณ์ในการควบคุมค่าสี กระบวนการในการ ควบคุมการแสดงสีของอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตแต่ละประเภท ให้สามารถเทียบเคียงกันได้โดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือที่ได้มาตรฐานในการจัดการสี
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการวัดค่าสี และการแปลงค่าสีใน ระบบต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานสิ่งพิมพ์ โดยสามารถนำความรู้มาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและ วิเคราะห์ผลได้ถูกต้อง
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและกระบวนการในการจัดการสี เพื่อการ ควบคุมคุณภาพงาน รวมถึงการตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อพัฒนาความรู้ในรายวิชาให้สอดรับกับเทคโนโลยีทางด้านการจัดการสีของระบบการพิมพ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดค่าสี การแปลงค่าสีในระบบต่างๆ หลักการของการจัดการสีโดยใช้ อุปกรณ์ในการควบคุมค่าสี กระบวนการควบคุมการแสดงสีของอุปกรณ์ ในกระบวนการผลิตแต่ละประเภทให้ เทียบเคียงกัน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือที่ได้มาตรฐานในการจัดการสี
- อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ตามความเหมาะสม
- อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งให้คำปรึกษาทาง Social Network
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 สอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในการสอนให้แก่นักศึกษา
1.2.2 ปลูกฝังจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
1.2.3 เน้นเรื่องระเบียบวินัย การเข้าชั้นเรียน แต่งกายและการปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้องตาม
ระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.4 ให้ความสำคัญด้านการตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.5 จัดแบ่งกลุ่มปฏิบัติงานเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการแสดงออกทางความคิด ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม ตลอดจนการทำงานร่วมกับผู้อื่น
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตามกำหนดเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยในการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ รวมทั้งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่กำหนด
1.3.4 ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎระเบียบของข้อบังคับต่าง ๆ อาทิเช่น การเข้าสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี และหลักการในการจัดการสี
2.1.2 สามารถนำความรู้ หลักการ และทฤษฎีต่าง ๆ มาบูรณาการร่วมกับความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการควบคุมคุณภาพงานให้ได้ตามมาตรฐาน
2.2.1 บรรยายเนื้อหาในภาคทฤษฎีร่วมกับสื่อนำเสนอ PowerPoint และเอกสารประกอบการอธิบาย
2.2.2 ภาคปฏิบัติสอนการใช้โปรแกรมและการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการสีทางการพิมพ์
2.2.3 กำหนดกิจกรรมในชั้นเรียนโดยจัดแบ่งกลุ่มนักศึกษา ฝึกทดลองปฏิบัติร่วมกัน จัดทำรายงาน อธิบายขั้นตอนการทดลอง อภิปรายและวิเคราะห์ผล
2.2.4 มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้านการจัดการสีนอกชั้นเรียน รวมทั้งนำเสนอข้อมูลที่ได้หน้าชั้นเรียน
2.3.1 ประเมินจากการสอบกลางภาค และการสอบปลาย ด้วยข้อสอบที่เน้นความเข้าใจเนื้อหาด้านหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากผลการปฎิบัติงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์ และงานกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
2.3.3 ประเมินจากการค้นคว้าข้อมูลในการทำรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง โดยแบ่งกลุ่มปฏิบัติตามหัวข้องานที่กำหนดทำการวิเคราะห์อภิปรายผล และจัดทำรายงาน รวมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์
3.3.1 ประเมินผลจากรายงานในการปฏิบัติงานกลุ่ม และการนำเสนอที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียน
3.3.2 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ฝึกปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์
4.1.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้อย่างเหมาะสม
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเหลือสังคมได้เหมาะสม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการฝึกปฏิบัติ วิเคราะห์และอภิปรายผล
4.2.2 มอบหมายรายงานกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3 การนำเสนองานหลังจากฝึกปฏิบัติให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ได้ศึกษา
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษา ในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษาและประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือด้วยตนเอง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.2.2 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1 ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายผล และวิธีอภิปราย
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบ และปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1 มอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติ ตามรูปแบบงานที่โจทย์กำหนด
6.2.2 กำหนดโจทย์ปัญหาต่างๆ ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ ทำการวิเคราะห์ อภิปรายผล และนำเสนอ
6.3.1 ประเมินผลจากรายงานในการปฏิบัติงานเดี่ยวและกลุ่ม
6.3.2 ประเมินผลจากการนำเสนอการปฏิบัติ ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลจากโจทย์ปัญหาที่กำหนด ผ่านการนำเสนอที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BTEPP131 ระบบการจัดการสี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.1, 5.1 สอบกลางภาค, สอบปลายภาค 9, 18 20%, 25%
2 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1, 6.1 การปฏิบัติงานกลุ่ม ทำรายงาน การวิเคราะห์และอภิปรายผล การนำเสนอหน้าชั้นเรียนและการส่งงานตามที่มอบหมายใน แต่ละสัปดาห์ ครบถ้วนถูกต้องตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 45%
3 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย และปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้องระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
นิพัทธ์ ไพบูลย์พรพงศ์. การจัดการสีเพื่องานกราฟิก = Color management system.
        กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
พรทวี พึ่งรัศมี และมิตซูโอะ เคดะ. สีและการเห็นสี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
        2551.
Abhay Sharma. Understanding Color Management. Wiley; 2 edition, 2018
Bruce Fraser, Chris Murphy and Fred Bunting. Real world color management : Industrial
        strength production techniques, 2ed. Berkeley, CA: Peachipt Press, 2005.
John T. Drew and Sarah A. Meyer. Colour management for packaging : a comprehensive
        guide for graphic designers. Mies : Rotovision, 2008, p.130-163
Michael Freeman and John Beardsworth. The art of printing photos : on your Epson
        printer. Lewes, East Sussex : ILEX, 2009, p.56-90
Phil Green. Color management : understanding and using ICC profiles. U.K.:Wiley, 2010.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการจัดการสีทางการพิมพ์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็น จากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน Social Network ที่ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดม สมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ เรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุง การสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ