แคลคูลัส 2

Calculus 2

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
            1.1  นำฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่องและกราฟของฟังก์ชันสองตัวแปรไปใช้
             1.2  นำอนุพันธ์ย่อยและการประยุกต์ไปใช้
             1.3  นำการหาปริพันธ์หลายชั้น และการประยุกต์ไปใช้
             1.4  นำสมการเชิงอนุพันธ์อันดับ 1 ระดับขัน 1 และสมการเชิงเส้นอันดับ n ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงตัวไปใช้
             1.5  เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ของผู้เรียนในด้านการฝึกสมองอันเป็นแนวทางทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และ แก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้คณิตศาสตร์เพียงพอที่จะไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนมีเหตุผลและรอบคอบ  มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน ส่งเสริมประสบการณ์ในด้านการฝึกสมองอันเป็นแนวทางทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อ เป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาแคลคูลัสชั้นสูงและวิชาชีพทางด้านวิศวกรรม
ศึกษาเกี่ยวกับฟังก์ชันหลายตัวแปร กราฟของฟังก์ชันสองตัวแปร ลิมิต  ความต่อเนื่อง อนุพันธ์ย่อยและการประยุกต์   ปริพันธ์หลายชั้น และการประยุกต์  สมการเชิงอนุพันธ์อันดับ 1 ระดับขั้น 1 และสมการเชิงเส้นอันดับ n ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงตัวไปใช้
วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์   
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. ชี้แจง ตกลงเกณฑ์ต่างๆ และวิธีการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก
2. การตั้งประเด็นคำถามให้ผู้เรียนเกิดแนวความคิด เกิดการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีแรงจูงใจในการเรียน
3. การอภิปรายรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล ฝึกความเป็นผู้นำและสามารถนำไปบูรณาการได้
4. กระตุ้นให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
5. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยในตัวเอง โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ไม่มีการทุจริตในการสอบ
4. ประเมินผลกิจกรรมที่มอบหมายรายกลุ่มและรายบุคคล
5. สังเกตจากพฤติกรรมจากการตอบคำถาม
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2. มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. บรรยายและการใช้สื่อการสอนชนิดต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. การซักถามในบทเรียนรวมทั้งร่วมกันอภิปราย เพื่อแสดงคิดเห็นและความสัมพันธ์เหล่านั้นตามความเข้าใจ
3. ทำการสอนโดยอาศัยวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว (animation) เพื่อให้นักศึกษาเกิดการจินตนาการตามเนื้อหาและเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น
4. นำงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมาทำการบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการอภิปราย เกิดคำถาม และเกิดการแก้ปัญหา
5. สร้างคำถาม มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้และสืบค้นด้วยตนเองแล้วนำเสนอรายงานหน้าชั้น (Presentation) หรือทำรายงาน (Report)
1. การทำแบบทดสอบหลังเรียน
2. ผลการทำข้อสอบกลางภาคและปลายภาค
3. ประเมินผลการเรียนรู้จากผลงานที่มอบหมายในระหว่างเรียน เช่น จากการนำเสนอรายงานหน้าชั้น หรือจากการทำรายงาน
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ฝึกทำแบบฝึกหัดในห้องเรียนหลังการสอน และแบบฝึกที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล
ทวนสอบ  สอบย่อย  สอบกลางภาค  และสอบปลายภาค
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
มีการถามตอบในระหว่างเรียน  ให้นักศึกษาทำความเข้าใจและหาวิธีคิด    นำวิธีการคิดมาเสนอให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างที่นักศึกษาต้องเจอในเหตุการณ์ต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ในระบบสารสนเทศได้
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BSCCC202 แคลคูลัส 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา ทุกสัปดาห์ 5%
2 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา การทดสอบย่อย 4, 12 40 %
3 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา การสอบกลางภาค 9 20 %
4 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองาน/การรายงาน /แบบฝึกหัด 17 15 %
5 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา การสอบปลายภาค 17 20 %
เอกสารประกอบการสอนวิชา แคลคูลัส 2
นิตยา แจ่มยวง. แคลคูลัส 2 . พิมพ์ครั้งที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, 2552
นิตยา แจ่มยวง. คณิตศาสตร์ 3 พิมพ์ครั้งที่ 10.สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, 2548    
 Ayres , Frank , Jr. Theory & Problems of Calculus. 2nd ed .New york : McGraw - Hill Book Company , 1972 .
 Boyce , William E., and DiPrima, Richard C. Calculus. New york: John Wiley and Sons, Inc., 1988.
 Finizo, N./Ladas, G. An Introduction to Differential Equations. Belmont, Cal;ifornia: Wadsworth Publishing Company, 1962
James, Stewart. Single Variable Calculus. 3 rd ed. Mc Master University ; Brooks/Cole Publishing Company, 1994 .
 Kaplan , Wilfred. Advanced Calculus. 3rd ed . Reading Massachusetts; Addison-Wesley Publishing Company , Inc.,1984.
 Kreyszig, Erwin. Advance Engineering Mathematics. 6 th ed. New york: John Wiley andSons. Inc., 1988 .
 Mendelsons, Elliott, Schaum' s 3000 solved problems in Calculus. New york : McGraw - Hill Book Company, 1988 .
Salas , Hille , Etgen . Calculus One and Several Variables. 8 th ed. New york: John Wiley and Sons, Inc.1999.
-  การสังเกตความสนใจของผู้เรียนขณะทำการสอน
-  แบบประเมินผู้สอนผ่านเว็บมหาวิทยาลัย
-  ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาเสนอแนะ
- การสังเกตการณ์ในการสอน
- ผลการสอบตามจุดประสงค์ของแต่ละหัวข้อ
- การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
- แก้ไขข้อบกพร่อง จากแบบประเมินที่นักศึกษาประเมินผู้สอน
- การทวนสอบจากการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นที่ไม่ใช่ผู้สอน
 - มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา เช่น ตรวจสอบ ข้อสอบ
- ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการทวนสอบในข้อ 4
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาจากงานวิจัยของอาจารย์
- นำผลการเรียนของนักศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพของรายวิชา