กระบวนการผลิต

Manufacturing Processes

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
ผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถในกระบวนการผลิตสำหรับงานทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการในสภาพปัจจุบัน
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ในสภาพปัจจุบันเพื่อผลิตวิศวกรอุตสาหการที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถที่จะนำฤษฎีและแนวคิดทางกระบวนการผลิตในด้านต่างๆนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์โดยอาศัยความสัมพันธ์ของวัสดุกับกระบวนการผลิต การปรับปรุงคุณสมบัติของโลหะด้วยความร้อน ทำการประเมินราคาทางด้านกระบวนการผลิตได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม
1. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวคิดทางกระบวนการผลิต เช่น กรรมวิธีการหล่อ การขึ้นรูปโลหะ การตัดขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกล และการเชื่อมประสาน ความสัมพันธ์ของวัสดุกับกระบวนการผลิต การปรับปรุงคุณสมบัติของโลหะด้วยความร้อนเช่น โลหะกับการขึ้นรูป พอลิเมอร์กับการขึ้นรูป หลักมูลของการประเมินราคาทางด้านกระบวนการผลิต
เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

คุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสำเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนา หรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ  ได้แก่

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริตเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1 วิธีการสอน 
1.21 ให้ความสำคัญกำหนดให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.22 ให้ความสำคัญของคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต ต่อการปฏิบัติงานทางด้านกระบวนการผลิต
1.2.3 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วทำการนำเสนอผลงานที่ได้ทำการศึกษาตามที่ได้รับมอบหมาย
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1  การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา
1.3.2  ประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและงานที่มอบหมาย
1.3.3  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการกระทำทุจริตใน การสอบ
1.3.4  ประเมินจากการแต่งกายให้ตรงตามระเบียบ และ ปฏิบัติตามข้อบังคับของการใช้พื้นที่ปฏิบัติงาน
ความรู้

นักศึกษาด้องพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่ศึกษานั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคมดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1   พัฒนาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชากระบวนการผลิต
2.1.2   พัฒนาความสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชากระบวนการผลิตกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3   พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านกระบวนการผลิตด้วยวิธีการที่เหมาะสมรวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น การใช้เครื่องจักรกลซีเอ็นซี การเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.4   พัฒนาความรู้และทักษะในวิชากระบวนการผลิตในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
2.2 วิธีการสอน
2.2.1    มอบหมายงานศึกษาและค้นคว้าปัญหาทางด้านกระบวนการผลิต และการผลิตชิ้นงานที่จำเป็นต้องอาศัยหลักการของกระบวนการผลิต
2.2.2    ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและเลือกใช้วัสดุในการสร้างชิ้นส่วนเครื่องจักรกลด้วยหลักการทางด้านของกระบวนการผลิต
2.2.3    มอบหมายให้แบ่งกลุ่มหรือเฉพาะบุคคล โดยให้กรณีศึกษาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล วัสดุจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและทำการนำเสนอผลงาน
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินผลจากงานที่มอบหมายและนำเสนอจากการวิเคราะห์ข้อมูลกรณีศึกษา
3.   ทักษะทางปัญญา 
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในขณะที่สอนนักศึกษา   
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
3.1.1  พัฒนาความสามารถทางการคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านกระบวนการผลิตได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.2  พัฒนาความสามารถในด้านของจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2 วิธีการสอน
3.2.1  ฝึกวิเคราะห์จากกรณีศึกษา ชิ้นงานตัวอย่าง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.2.2  มอบหมายงานสืบค้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.3  ฝึกการคิดและวิเคราะห์ของกระบวนการผลิตอยู่เป็นประจำ
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1  ประเมินผลจากการวิเคราะห์ด้วยหลักการ พร้อมอธิบายวิธีการใช้งาน ปัญหา แนวทางในการออกแบบ จากกรณีศึกษา ชิ้นงานตัวอย่าง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาและวิธีการรวมถึงปริมาณแหล่งสืบค้นข้อมูล
3.3.3  ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมาย
4.   ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนคนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.4  พัฒนาบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2 วิธีการสอน
4.2.1  ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2  ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานได้ตรงตามเวลา มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3  มอบหมายงานการปฏิบัติงานกลุ่มและปฏิบัติงานรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีทางด้านการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาหรือการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1  นักศึกษาสามารถช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พยายามช่วยเหลือกันโดยตลอด
4.3.2  ประเมินผลจากการส่งงานได้ตรงตามกำหนด
4.3.3  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม
5.   ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ของกระบวนการผลิต
5.1.2 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในกระบวนการผลิต
5.2 วิธีการสอน
5.2.3  มอบหมายรายงานและการนำเสนอจากหลักการของกระบวนการผลิตหรือกรณีศึกษา
5.2.4  มอบหมายงานด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับงานที่ เช่น การคำนวณหาจุดคุ้มทุนในกระบวนการผลิต การประเมินราคา เป็นต้น
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1  ประเมินผลจากการนำเสนอ การสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2  ประเมินผลจากการคำนวณตามที่ได้ให้แบบฝึกหัด
-
-
-
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2,1.4, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2,3.3,5.31.2,1.4 2.1, 2.3,2.4,2.5, 3.1,3.2, 3.3,,3.5,4.4,4.5,5.2,5.41.2,1.4,2.5 4.4,5.4 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาควิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมายการเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 4 9 12 18 ตลอดภาคการศึกษา 10% 25% 10% 25% 20% 10%
พีรวัตร  ลือสัก. กระบวนการผลิต. เอกสารประกอบการสอน หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ                      คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย. 2560
วัสสนัย  วรรธนัจฉริยา. กระบวนการผลิต. เอกสารประกอบการสอน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ            คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2549
ชลิตต์ มธุรสมนตรี และคณะ.กระบวนการผลิต. เอกสารประกอบการสอน ภาควิชาวิศวกรรม           อุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโลโยยีราชมงคล. 2544
วัลลภ ภูผา. กระบวนการผลิต. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.2556
Serope Kalpakjian. Manufacturing Engineering and Technology. Boston, United States: Addison-Wesley Longman.1995
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชากระบวนการผลิต
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
         การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
         ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน
         หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
         ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
         จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ