การจัดและบริหารโรงฝึกงานและศูนย์ฝึก

Workshop and Training Center Organization and Management

ให้ผู้เรียนรู้ และเกิดทักษะในเรื่องทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ จุดมุ่งหมายของอาชีพในระดับและสาขาวิชาชีพต่างๆ ชนิดของเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกหัด และฝึกอบรม เข้าใจสภาพทางกายภาพโรงงาน และศูนย์ฝึก มนุษย์สัมพันธ์และวินัย หน้าที่ของครูช่าง หน้าที่ของผู้บริหารผู้เรียน ตลอดจนรู้จักจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวก การบริหารความปลอดภัย การบริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ การบริหารงานฝึกนักศึกษา การจัดทำโครงการทางวิชาการ  การจัดทำโครงการฝึกอาชีพ  การจัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
1. เพื่อปลูกฝังให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม สำนึกในจรรยาบรรณ วิชาชีพ รับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม   2. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานความรู้และสมรรถนะ มีทักษะทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านวิศวกรรมโยธาที่สามารถปฏิบัติงานในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษาและการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐและเอกชน   3. เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตเป็นผู้ที่สามารถบูรณาการใช้ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ทางด้านวิศวกรรมโยธาอย่างเป็นระบบ   4. เพื่อปลูกฝังให้บัณฑิตเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี   5. เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตสามารถศึกษาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ จุดมุ่งหมายของอาชีพในระดับและสาขาวิชาชีพต่างๆ ชนิดของเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกหัด และฝึกอบรม เข้าใจสภาพทางกายภาพโรงงาน และศูนย์ฝึก มนุษย์สัมพันธ์และวินัย หน้าที่ของครูช่าง หน้าที่ของผู้บริหารผู้เรียน ตลอดจนรู้จักจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวก การบริหารความปลอดภัย การบริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ การบริหารงานฝึกนักศึกษา การจัดทำโครงการทางวิชาการ  การจัดทำโครงการฝึกอาชีพ  การจัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดา เนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต   1. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม   2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญและเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น   3. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์   4. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู
 
มอบหมายงาน อภิปรายกลุ่ม 
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา   1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม   1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา   1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ จุดมุ่งหมายของอาชีพในระดับและสาขาวิชาชีพต่างๆ ชนิดของเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกหัด และฝึกอบรม เข้าใจสภาพทางกายภาพโรงงาน และศูนย์ฝึกมนุษย์สัมพันธ์และวินัย หน้าที่ของครูช่าง หน้าที่ของผู้บริหารผู้เรียน ตลอดจนรู้จักจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวก การบริหารความปลอดภัย การบริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์  การบริหารงานฝึกนักศึกษา การจัดทำโครงการทางวิชาการ  การจัดทำโครงการฝึกอาชีพ  การจัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎีและการ ประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ   
การสังเกต สอบกลางภาค และสอบปลายภาค การทำแบบฝึกหัด การเข้าห้องเรียน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผลเข้าใจที่มาและ สาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังนี้   1.  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ   2.  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎีและการ ประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ   1.  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ   2.  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.3.1  ประเมินคะแนนสอบย่อย และสอบปลายภาค   3.3.2  ประเมินรายงาน การเสนอผลงาน และการตอบข้อซักถามจากการซักถามของเพื่อนร่วมชั้นเรียนและอาจารย์ระหว่างการเสนอผลงาน และประเมินโดยกลุ่มนักศึกษา  ปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ 2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาด้วยกัน ทักษะความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ทักษะการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีของนักศึกษาและการปฏิบัติตัวที่ดีต่อ
4.2.1 จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก   4.2.2 มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด   4.2.3 กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
4.3.1 ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน   4.3.2 ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา 
ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล  การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์ เป็นต้น   
5.2.1 ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน   5.2.2 การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล   5.2.3 การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล   5.2.4 การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ   5.2.5 การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
5.3.1 ประเมินทักษะการคำนวณจากเอกสาร และการสอบต่างๆ   5.3.2 ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน   5.3.3 ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุลคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 30023308 การจัดและบริหารโรงฝึกงานและศูนย์ฝึก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-5,6-10 สอบเก็บคะแนน และสอบกลางภาคเรียน สอบเก็บคะแนน และสอบปลายภาคเรียน 8,17 40%,40%
2 1-11 งานที่รับมอบหมาย 1-7,8-16 10%
3 1-11 การเข้าชั้นเรียน 1-7,8-16 10%
กองมาตรฐานวิชาชีพครู. เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ :คุรุสภา, 2536.  จำเนียร ศิลปวานิช. การจัดและบริหารโรงฝึกงานและศูนย์ฝึก. เอกสารเรียบเรียง. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนนทบุรี, 2540.  ชนะ กสิภาร์. ครูอาชีวศึกษาในอนาคต, กรุงเทพฯ : กรมอาชีวศึกษา, 2530  ประภาศรี อมรสิน. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดระบบการสอนการงานพื้นฐานอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่2 นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , 2533.  พูลศรี สุนทรพงศ์. การจัดและบริหารโรงงาน. เอกสารโรเนียว กรุงเทพฯ : สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์, 2523.  ไพโรจน์ ตีรณธณกุล. การจัดการโรงฝึกงานช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริม การศึกษา, 2521.  วิฑูรย์ อุปถัมภ์. สมรรถภาพของอาจารย์ผู้สอนวิชาชีพในวิทยาลัยครู:กรุงเทพฯ, 2530.  วีระพันธ์ สิทธิพงศ์. การจัดและบริหารโรงฝึกงานในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 2544.  สุดา ด้วงเทพ. การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานด้านการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนอาชีวศึกษา, 2547.  สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครู. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2536
Website ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดและบริหารโรงฝึกงานและศูนย์ฝึก
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้   การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้   2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน   2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา   2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้   3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน   3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้   4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร   4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้   5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4   5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ