การบัญชีชั้นต้น

Introduction to Accounting

1. เข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน
2. เข้าใจหลักการ วิธีการบัญชี และรายงานทางการเงินสำหรับสำหรับธุรกิจประเภทกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า กิจการอุตสาหกรรม ตลอดจนเข้าใจวิธีการบันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ และการบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. สามารถบันทึกบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับธุรกิจประเภทกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า กิจการอุตสาหกรรม ตลอดจนสามารถบันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ และการบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ตระหนักในความสำคัญของการบัญชี และจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี
เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เป็นปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาจะมีการทำรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ5) และนำข้อมูลในประเด็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงไปใช้ในภาคการศึกษาต่อไป ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับความหมาย วัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงิน วงจรการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ ตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฎิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม   1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
- ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างในเรื่องการแต่งกาย การตรงเวลา
- การแจ้งนโยบายในการเรียนหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่อง

การแต่งกาย การตรงเวลา ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ สอนแทรกคุณธธรรม กฎกติกาการอยู่ร่วมในกันสังคม การทำงานกลุ่ม

- สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในเนื้อหารายวิชาและในชั่วโมงเรียน อันได้แก่ คุณธรรมจริยธรรมประพฤติอันมีผลต่อสังคม จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
- ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และปลูกจิตสำนักขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และความมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะและมหาวิทยาลัย
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการแต่งกายที่ถูกระเบียบ การมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ การแสดงออกในชั้นเรียน ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การส่งงานตรงเวลาที่กำหมด การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม

ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ และการคัดลอกงานเพื่อน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.2 มีความรู้และความเข้าใจองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฎิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- การบรรยาย เนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
- การสาธิตและยกตัวอย่างประกอบ
- การตั้งคำถามทางวิชาการในชั้นเรียนที่ทำให้เกิดความคิดและแก้ปัญหา
- มอบหมายใบงานและแบบฝึกหัด
- มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การบัญชี และ พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชีที่ประกาศใช้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิชาชีพบัญชี
ประเมินผลจากการทดสอบย่อย งานที่มอบหมายให้ค้นคว้า การสอบกลางภาคเรียน และการสอบปลายภาคเรียน
- ประเมินคุณภาพผลงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลจากใบงานและแบบฝึกหัดทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุ และวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
- ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้โจทย์ตัวอย่าง ใบงานและแบบฝึกหัด จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับหัวข้อ/เนื้อหาของรายวิชา
- สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านวิชาชีพบัญชีโดยรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินผลการแก้ไขโจทย์ใบงาน และแบบฝึกหัด การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
- ประเมินผลจากการสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
- ประเมินผลจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้ารายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียนรวมทั้งผลการแสดงความคิดเห็น
 
4.1 สามารถปฎิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.4 มีความรับผิดชอบพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
- มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อย (ใบงาน แบบฝึกหัด รายงาน)โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
- มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างในการพัฒนาตนเอง และการรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ มหาวิทยาลัย คณะ สาขากำหนด
- ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกลุ่ม พฤติกรรมจากการทำงานทีม
- ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
- ประเมินคุณภาพจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อการติดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง   5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟ้งที่แตกต่างกัน   5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสนเทศ
- มอบหมายงาน(ใบงานและแบบฝึกหัด) ที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
- มอบหมายงานที่ต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการทำใบงานและแบบฝึกหัด เช่น การใช้โปรแกรมExcel ในการจัดทำกระดาษทำการ และงบการเงิน เป็นต้น
- มอบหมายงาน(รายงาน) ที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
- ประเมินผลจากใบงาน แบบฝึกหัด การสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
- ประเมินผลจากการใช้โปรแกรม Excel มาช่วยในการทำใบงานและแบบฝึกหัด
- ประเมินคุณภาพรายงานที่ให้สืบค้นข้อมูล และทักษะการใช้ภาษาเขียน และภาษาพูดในการนำเสนอรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฎิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม 1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม 2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.2 มีความรู้และความเข้าใจองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฎิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุ และวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 4.1 สามารถปฎิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.4 มีความรับผิดชอบพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง 5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อการติดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟ้งที่แตกต่างกัน 5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสนเทศ
1 BACAC110 การบัญชีชั้นต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1/2.3/3.1/3.3/5.1 สอบย่อยครั้งที่ 1 5 10%
2 2.1/2.3/3.1/3.3/5.1 สอบกลางภาคเรียน 9 25%
3 2.1/2.3/3.1/3.3/5.1 สอบย่อยครั้งที่ 2 12 15%
4 2.1/2.3/3.1/3.3/5.1 สอบปลายภาคเรียน 18 30%
5 .2/1.3/2.1/2..2/2.3/3.1/3.2/3.3 รายงาน 3 5%
6 1.1/1.2/2.1/2.3/4.1/4.2/5.1/5.3 ใบงานและแบบฝึกหัด 1-17 10%
7 1.1/1.2/1.4/4.2 พฤติกรรมในชั้นเรียน การแต่งกายถูกระเบียบ การเข้าเรียนตรงเวลา การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ไม่กระทำทุจริตในการสอบ และไม่คัดลอกงานเพื่อน 1-17 5%
1) ให้นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ตามแบบประเมินของมหาวิทยาลัย
1) พิจารณาจากผลคะแนนการสอบ (สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค) 2) พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้ (ใบงาน แบบฝึกหัด รายงาน) 3) พิจารณาจากพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
 
1) นำผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษาและผลประเมินการสอน มาพิจารณาการปรับปรุงการสอน
2) นำสรุปผลรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ.5) และแบบประเมินผลการสอนของนักศึกษา โดยผู้สอนจะนำข้อมูลทั้ง 2 ส่วนมาทบทวนและปรับปรุงเพื่อนำไปออกแบบแนวทางการสอนในภาคเรียนต่อไปเพื่อให้การสอนในรายวิชาบรรลุตามผลลัพธ์การเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของวิชา
3) ผู้สอนควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เข้ารับการอบรมสัมมา ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาการสอน
การทวนข้อสอบและเกณฑ์ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ โดยจะประเมินผลการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างคะแนน ความตรงประเด็น ความสอดคล้องเนื้อหาที่ระบุไว้ในรายวิชากับประเด็นของการออกการวัดผลของข้อสอบ งานที่มอบหมาย โดยพิจารณากับผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา พิจารณาความเหมาะสมของเกณฑ์การวัดผล แนวโน้มของระดับคะแนน
นำเอาผลการประเมินข้อ1 ข้อ2 และข้อ4 มาวิเคราะห์และหาแนวพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ในรายวิชา