คอมพิวเตอร์ช่วยงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

Computer Aided for Environmental Engineering

เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ และเขียนแบบ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูล และหาผลเฉลยของปัญหาทางวิศวกรรมโดยใช้โปรแกรมสำเร็จทางวิศวกรรรม
 
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้มีความทันต่อเทคโนโลยีปัจจุบันที่ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปช่วยในการออกแบบและคำนวณงานทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเขียนแบบโดยใช้โปรแกรมให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้หลักการทฤษฎีพื้นฐานในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ และเขียนแบบ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูล และหาผลเฉลยของปัญหาทางวิศวกรรมโดยใช้โปรแกรมสำเร็จทางวิศวกรรรม
ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และสามารถติดต่อได้ทางโทรศัพท์ หรือ e-mail address : Siraprapha42@yahoo.com
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ
1.2.2 ให้นักศึกษาทำที่มอบหมายด้วยตัวเอง และส่งภายในเวลาที่กำหนด โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
1.2.3 ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามา แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มและนำเสนอผลงานเขียนที่สร้างสรรค์ โดยไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสังคมและชุมชน
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาออกแบบและคำนวณได้ 
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการออกแบบคำนวณ
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยาย และ ให้ศึกษาความรู้ในบทเรียนเพิ่มเติมและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม
         2.2.2 อธิบายเป็นขั้นตอนและเปิดโอกาสให้ซักถาม
         2.2.3 ได้จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการนำนักศึกษาไปทัศนศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง พร้อมให้นักศึกษาทำรายงานประกอบเป็นกลุ่มพร้อมนำเสนอผลงาน
         2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
         2.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
         2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
          3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
          3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          3.2.1 ให้นักศึกษาระดมสมอง แสดงความคิดเห็นทั้งเป็นรายบุคลคลและเป็นกลุ่มย่อย
          3.2.2 ให้นักศึกษาดูงานระบบในสถานที่จริง
          3.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติทั้งในเวลาและนอกเวลา
        3.3.1 การร่วมกลุ่มกิจกรรมในชั้นเรียน
        3.3.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
        3.3.3 การสรุปความคิดรวบยอดของแต่ละหน่วยเรียน
        3.3.4 การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
         4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
        4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
 
        4.2.1 มอบหมายงานรายบุคคล เช่น การเขียนแบบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การค้นคว้าความรู้ด้านต่างๆเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
        
        4.3.1 การร่วมกลุ่มกิจกรรมในชั้นเรียน
        4.3.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
        4.3.3  พิจารณาจากพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละบุคคลรวมถึงพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
มีทักษะการคิดคำนวณ รวมถึงการใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้กับการเขียนแบบและการออกแบบทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
สอนทฤษฎีและการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางวิศวกรรม ให้มีการฝึกปฏิบัติและมอบหมายงาน
ประเมินจากผลงานที่มอบหมายและการสอบวัดผลกลางภาคและปลายภาค
 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สร้างทักษะในการปฏิบัติงานผ่านการมอบหมายงาน
ประเมินพฤติกรรมการเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6. ทักษะพิสัย 1. คุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 1 2 3 4 5
1 ENGEV503 คอมพิวเตอร์ช่วยงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1,2.1.2,2.1.3 2.1.1,2.1.2,2.1.3 สอบกลางภาค/ สอบปลายภาค 9/17 25%/25%
2 3.1.2,3.1.3,3.2.1,3.2.2,4.1.2,4.1.5 1.1.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1.5,4.2.1,4.2.2,4.2.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. ปราโมทย์ เดชะอําไพ และ สุทธิศักดิ์ พงศ์ธนาพาณิช. ไฟไนต์เอลิเมนต์อย่างง่าย. กรุงเทพฯ
: สํานักพิมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย1, 2548
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ