ไวยากรณ์เพื่อการสื่อสาร

English Grammar for Communication

จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น การสร้างประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และการเลือกใช้คำศัพท์อย่างเหมาะสมเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมาย
วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้เพิ่ม กิจกรรมให้มีการฝึกปฏิบัติในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
 สมรรถนะรายวิชา
          1. จำแนกประโยคคำถามได้
          2. สร้างประโยคด้วยกาลและกริยาช่วยต่างๆได้
          3. วิเคราะห์และสร้างกรรมวาจกได้
          4. จำแนกประโยคเงื่อนไขได้
          5. สื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อสื่อความหมายในระดับประโยคได้
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น การสร้างประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และการเลือกใช้คำศัพท์อย่างเหมาะสมเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมาย
 
Study application of complex English grammar, the production of correct sentence, and the selection of appropriate vocabulary for meaningful communication
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
          อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
         (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะคุณธรรมจริยธรรม
     
Accountability  ความรับผิดชอบ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์)

บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะคุณธรรมจริยธรรม
       โดยแสดงความรับผิดขอบหลัก (  ˜  ) และความรับผิดชอบรอง ( š    )
š  มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม   
 
 
ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้  
˜ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่
         เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 
 
˜มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา
     รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
วิธีการสอน
1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ 
2.  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
วิธีการประเมินผล
-.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
-  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน  การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน การค้นคว้า
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
š สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
วิธีการสอน
-  การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
 - การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
วิธีการประเมินผล 
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
šมีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 
2. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1 - 4 หน่วยที่ 5 - 8 การทดสอบ - การสอบกลางภาค (หน่วยที่ 1-4) - การสอบปลายภาค (หน่วยที่ 5-8) การทดสอบ สัปดาห์ที่ 9 การสอบกลางภาค (หน่วยที่ 1-4) สัปดาห์ที่ 18 การสอบปลายภาค (หน่วยที่ 5-8) การสอบกลางภาค (หน่วยที่ 1 - 4 ) 30% การสอบปลายภาค (หน่วยที่ 5 - 8 ) 30%
2 หน่วยเรียนที่ 1 - 8 รายงาน และการนำเสนอ - งานที่มอบหมาย / รายงาน (กลุ่ม) - แบบฝึกหัด (เดี่ยว, กลุ่ม) - การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน (กลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา รายงาน และการนำเสนอ - งานที่มอบหมาย / รายงาน (กลุ่ม) 10% - แบบฝึกหัด (เดี่ยว, กลุ่ม) 10% - การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน (กลุ่ม) 10%
3 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10 %
เอกสารประกอบการสอนวิชาไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ไม่มี
1.  Peter Maggs, Sue Kay, Vaughan Jones. 2005. Inside English. London. Macmillan.
         2. Michael Mccharthy, Jeanne Maccharten, Helenn Sandiford. 2005. Touchstone 3. United Kingdom. Cambridge University Press.
         3. Michael Mccharthy, Jeanne Maccharten, Helenn Sandiford. 2013. Touchstone 2A. United Kingdom. Cambridge University Press.
         4. Liz and John Soars. 2010. American Headway. United Kingdom. Oxford University Press.
          5. รองศาสตราจารย์ ดร.อลิสา วานิชดี. Trevor John Smith. English Grammar in Use 14212ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร   http://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/D4LP/14212/Contents.html
6. เว็บไซต์ต่างๆทีเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตลอดจนแบบฝึกหัดออนไลน์
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
          การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
กลยุทธ์การประเมินการสอน
          การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน
          นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
          ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
            5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
      5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์