เครื่องมือวัดและการวัดทางไฟฟ้า

Electrical Instruments and Measurements

1.  รู้จักหน่วยวัดและมาตรฐานการวัดทางไฟฟ้า
2.  รู้จักประเภทและคุณลักษณะของเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3.  สามารถใช้งานเครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าแบบแอนะลอก
4.  สามารถใช้งานเครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าแบบดิจิตอล
5.  เข้าใจวิธีการวัดกำลังงาน ตัวประกอบกำลังและพลังงานไฟฟ้า
6.  สามารถวัดค่าความต้านทาน ค่าความเหนี่ยวนำ และค่าความจุไฟฟ้า
7.  สามารถวัดความถี่และช่วงเวลา
8.  รู้จักสัญญาณรบกวนที่เกี่ยวข้องกับการวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
9.  รู้จัดวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัด
10.  เห็นความสำคัญของวิชาเครื่องมือวัดและการวัดทางไฟฟ้า
เพื่อปรับปรุงรายละเอียดตั้งแต่การแบ่งหน่วยเรียน บทเรียน หัวข้อ และวิธีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานี้เกิดความสอดคล้องกับมาตรฐานของเล่มหลักสูตรครุศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2560 และสอดคล้องกับ Learning Outcome มากที่สุด และก่อให้เกิดความทันสมัยของเนื้อหาเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
          ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหน่วยและมาตรฐานการวัดทางไฟฟ้า ประเภทและคุณลักษณะของเครื่องมือวัด การวิเคราะห์การวัด การวัดกระแสและแรงดันไฟฟ้า กระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับโดยใช้เครื่องวัดแบบแอนะลอกและแบบดิจิตอล การวัดกำลัง ตัวประกอบกำลังและพลังงานไฟฟ้า การวัดค่าความต้านทาน ค่าความเหนี่ยวนำและค่าความจุไฟฟ้า การวัดความถี่และคาบหรือช่วงเวลา สัญญาณรบกวน การแปลงสัญญาณ และ การสอบเทียบเครื่องมือวัด
-    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพัก
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
           1.1.1   มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
           1.1.2   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
           1.1.3    มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
            1.1.4    เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1   สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
             1.2.2   สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
             1.2.3   เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
             1.2.4   ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
             1.2.5   เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
             1.2.6   ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
                 1.2.7   ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
             1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
             1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
             1.3.4   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
            1.3.5   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
           มีความรู้และเข้าใจและปฏิบัติงานในเรื่องเกี่ยวกับหน่วยและมาตรฐานการวัดทางไฟฟ้า ประเภทและคุณลักษณะของเครื่องมือวัด การวิเคราะห์การวัด การวัดกระแสและแรงดันไฟฟ้า กระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับโดยใช้เครื่องวัดแบบแอนะลอกและแบบดิจิตอล การวัดกำลัง ตัวประกอบกำลังและพลังงานไฟฟ้า การวัดค่าความต้านทาน ค่าความเหนี่ยวนำและค่าความจุไฟฟ้า การวัดความถี่และคาบหรือช่วงเวลา สัญญาณรบกวน การแปลงสัญญาณ และ การสอบเทียบเครื่องมือวัด
บรรยาย  อภิปราย การทำรายงาน การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และ การลงปฏิบัติใบงานการทดลอง
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจหลักการ การคำนวณเพื่อการวิเคราะห์
2.3.2   ประเมินจากการรายงานและการนำเสนอรายงาน
2.3.3  การลงปฏิบัติใบงานการทดลอง
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
3.2.1   การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
           3.2.2  การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.2.4  การแก้ปัญหาจากการทำใบงาน
3.3.1   สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการคำนวณเพื่อการวิเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชา
3.3.2   ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3.3.3   วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน  ใบงาน
3.3.4   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.2   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4   พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ
5.1.5   พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6   พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          5.1.7  พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล