การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง

Power System Protection

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการป้องกันระบบไฟฟ้า ชนิดของฟิวส์แรงต่ำและแรงสูงตามมาตรฐาน การทำงาน การเลือกชนิด และ พิกัดของฟิวส์ การเลือกชนิดและพิกัดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ การติดตั้งระบบล่อฟ้า ระบบการต่อลงดิน หม้อแปลงกระแสและหม้อแปลงแรงดัน โครงสร้างและหลักการทางานของรีเลย์ รีเลย์กระแสเกินและแรงดันเกิน รีเลย์ผลต่างรีเลย์รู้ทิศทาง รีเลย์วัดระยะทาง การแบ่งโซนของระบบป้องกัน การประสานของการทางานรีเลย์ การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์บัส หมอแปลงและสายส่ง สายป้อน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ  การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการนำไปพัฒนา และประยุกต์ใช้งานในการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการป้องกันระบบไฟฟ้า ชนิดของฟิวส์แรงต่ำและแรงสูงตามมาตรฐาน การทำงาน การเลือกชนิด และ พิกัดของฟิวส์ การเลือกชนิดและพิกัดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ การติดตั้งระบบล่อฟ้า ระบบการต่อลงดิน หม้อแปลงกระแสและหม้อแปลงแรงดัน โครงสร้างและหลักการทางานของรีเลย์ รีเลย์กระแสเกินและแรงดันเกิน รีเลย์ผลต่างรีเลย์รู้ทิศทาง รีเลย์วัดระยะทาง การแบ่งโซนของระบบป้องกัน การประสานของการทางานรีเลย์ การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์บัส หมอแปลงและสายส่ง สายป้อน
-  อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาโดยตรงกับผู้เรียน
-  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในและรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
          1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม.
˜ 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
™ 1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
          1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
มีการทำข้อตกลงและกฎเกณฑ์ในการแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การปฏิบัติตนในระหว่างการศึกษา การมอบหมายแบบฝึกหัด การศึกษาวิชาการและงานวิจัยในสื่อ Online พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน การศึกษากฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานและจรรยาบรรณที่สัมพันธ์กับรายละเอียดเนื้อหาที่สอนตามความที่จำเป็น การมอบหมายการทำงานเป็นกลุ่มในรูปแบบระดมความคิดหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อสร้างพื้นฐานนิสัยการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นๆ การสอดแทรกตัวอย่างประกอบในการนำเทคโนโลยีไปใช้ร่วมกับสังคมและศิลปวัฒนธรรม เช่น บ้าน วัด และสาธารณสถานต่างๆได้อย่างเหมาะสม
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมที่มอบหมาย
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ความตั้งใจและความสนใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
˜ 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
˜ 2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
˜ 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสอนโดยการมอบหมายการศึกษาตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือสิ่งที่เรียน โดยให้ผู้เรียนทำการสรุปประเด็นสำคัญและนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การเสนอแนวคิดในการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้กับสภาพแวดล้อมที่สมมติ/สภาพภูมิศาสตร์/สภาพแวดล้อมใกล้เคียง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากโครงการที่นาเสนอ
2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน และการตอบคำถาม
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กับนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังนี้
˜ 3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
™ 3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ใช้การสอนแบบมอบหมายงานศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้น พร้อมให้แสดงข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถาม การยกตัวอย่างข้อปัญหาและให้ประมวลความรู้ที่มีในการปรับใช้เพื่อการแก้ประเด็นปัญหา
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
3.3.2 การเรียบเรียงขั้นตอนและการเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่าง ๆ
3.3.3 การนำเสนอรายงานการค้นคว้า
3.3.4 การทดสอบ/การซักถามระหว่างเรียน/การซักถามระหว่างการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน การมีความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
™ 4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
™ 4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
™ 4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
˜ 4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม/การมอบหมายงานค้นคว้าและการนำเสนอ การกำหนดโจทย์ตัวอย่างและให้ระดมสมองเพื่อหาข้อสรุปและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม การสอดแทรกและยกตัวอย่างการประพฤติปฏิบัติที่ดีของนักศึกษาที่ผ่านการฝึกประสบการณ์ครู
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น โดยสังเกตจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ความตั้งใจในการนำเสนอผลงาน การประสานความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
     5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
™ 5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
    5.1.3 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การยกตัวอย่างข้อปัญหาจากที่พบในเหตุการณ์จำลองแบบรูปต่างรวมถึงการแก้ไขปัญหาหน้างานระหว่างการมอบหมายเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยนำทักษะทางวิชาการ คำนวณ ความเป็นเหตุเป็นผล ความเหมาะสมต่อสภาพงานพร้อมทั้งให้แสดงความเห็นประกอบ
การประเมินผลจากความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การนำเสนอผลงาน ความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหา การมีจรรยาบรรณและมารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ความสามารถในการถ่ายทอดหรือแนะนำผู้อื่น
การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
    6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜ 6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
˜ 6.1.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
การมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมและงานของหลักสูตรทั้งในและนอกเวลาเรียน การมอบหมายงานค้นคว้าและทดลองเพื่อหาข้อสรุปของปัญหา การระดมกลุ่มเพื่อปฏิบัติงานที่มอบหมาย
มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ผลการทำงานในภาคปฏิบัติและ/หรือกิจกรรมที่เข้าร่วม การนำความรู้และทักษะไปใช้ในการแก้ปัญหาภายนอกของผู้เรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ 3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ 5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม. 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 4.1.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.1.3 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม 6.1.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
1 32022408 การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 / 1.3 - ตรวจสอบความเหมือน/แตกต่างของเนื้อหาและรายละเอียดของรายงานกับนักศึกษาคนอื่นๆ - ตรวจสอบขั้นตอนการแก้ไขปัญหาว่าสอดคล้องกับหลักการทางวิชาการหรือหลักการตามข้อกำหนดของวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง - พฤติกรรมการตรงต่อเวลา ได้แก่ การเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา เป็นต้น - พฤติกรรมการปฏิบัติตัวทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน ได้แก่ การมีสัมมาคารวะและนอบน้อม การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น - ประเมินผลการนำสิ่งที่เรียนไปใช้หรือสอดแทรกในงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.1 / 2.2 / 3.1 / 3.2 / 6.1 / 6.2 - การทดสอบแบบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์รายบุคคล - การบรรยายเนื้อหาในรายงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย - ความชัดเจนและความถูกต้องตามหลักการที่ใช้อ้างอิงในการแสดงความคิดเห็นหรือในรายละเอียดของผลงาน - พิจารณาเนื้อหาการนำข้อมูลการศึกษาหรือค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านวิศวกรรมแสงสว่างมาใช้เพื่อการทำงานหรือไม่ - สังเกตการณ์นำเทคโนโลยีหรืองานวิจัยไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับงานที่ได้รับมอบหมาย หรืองานช่วยเหลือมหาวิทยาลัยในการปฏิบัติจริง - พิจารณาการนำความรู้/ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในงานที่มอบหมาย - พิจารณาและสังเกตจากงานที่มอบหมายว่าได้มีการนำเอาความรู้ด้านเช่น เทคนิคการคำนวณ เป็นต้น มาใช้มาก-น้อยเพียงใด - พิจารณารายละเอียดของงานที่มอบหมาย/การบ้าน และอื่นๆ ว่ามีการอธิบายหรือแสดงขั้นตอนการหาผลที่ชัดเจนหรือไม่ - พิจารณาการนำเสนอ การตอบข้อซักถาม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า - การปฏิบัติงานชุดทดลอง และหน้างาน ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 5.2 - ปริมาณข้อมูลการนำเสนองานและแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ โจทย์ปัญหาในห้องเรียน การบ้าน งานมอบหมาย เป็นต้น - จำนวนการสอบถามข้อสงสัยในข้อมูลที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
ผศ.ประสิทธิ์  พืทยพัฒน์. “การป้องกันระบบไฟฟ้า
 รศ. สุรัตน์ นันตะสุคนธ์ "การทดลองระบบไฟฟ้ากำลัง"
ผศ.ดร.นิตย์ เพ็ชรรักษ์"การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลัง"
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ผ่านกิจกรรมในการนำแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบสอบถามประสิทธิผลรายวิชาโดยผู้เรียน
1.2 แบบประเมินความเห็นการแสดงออกทักษะของเพื่อนในชั้นเรียนในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ภายนอกห้องเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  แบบประเมินการสังเกตการณ์และการสอนของอาจารย์ โดยผู้บริหารหลักสูตร และ/หรือตัวแทนอาจารย์ประจำหลักสูตร และ/หรือ กรรมการประเมินผลการสอน
2.2  การสำรวจโดยแบบประเมินผู้สอนอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเทอม โดยผู้เรียน
2.3  แบบประเมินการจัดการเรียนการสอนในระบบทะเบียนกลาง
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการสรุปข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานแนวทางการปรับปรุงใน มคอ.5
ดำเนินการทั้งในระหว่างศึกษาและภายนอกห้องตามมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชานี้
4.1. แบบประเมินความเห็นการแสดงออกทักษะของผู้เรียนภายหลังการเรียนการสอนในชั้นเรียน
4.2. การประเมินความสอดคล้องระหว่างแนวทางการวัดและประเมิลผล มาตรฐานการเรียนรู้ และคำอธิบายรายวิชา
4.3 แบบสอบถาม/การสัมภาษณ์ คณาอาจารย์และผู้เกี่ยวข้องตามมาตรฐานการเรียนรู้ และผลลัพธ์ที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาของผู้เรียนที่แสดงออก
ผู้สอนสรุปผลข้อมูลทั้งหมดเพื่อรายงานอาจารย์ประจำหลักสูตร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงใน แบบ มคอ.7