การประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้าง

Construction Cost Estimation and Analysis

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ เครื่องมือการก่อสร้าง วิเคราะห์ผลผลิตงานก่อสร้าง การถอดปริมาณวัสดุ การวิเคราะห์ราคาค่าแรงและค่าเครื่องจักร กลยุทธ์ในการประมูล หลักการควบคุมราคาการก่อสร้าง การวิเคราะห์แนวโน้มและการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การก่อสร้าง
เพื่อพัฒนารายวิชาให้เหมาะสมต่อชั่วโมงสอน และระดับการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยครอบคลุมเนื้อหาในคำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับวัสดุ เครื่องมือการก่อสร้าง วิเคราะห์ผลผลิตงานก่อสร้าง การถอดปริมาณวัสดุ การวิเคราะห์ราคาค่าแรงและค่าเครื่องจักร กลยุทธ์ในการประมูล หลักการควบคุมราคาการก่อสร้าง การวิเคราะห์แนวโน้มและการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การก่อสร้าง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และใช้การสื่อสารต่างๆ เช่น การนัดพบ E-mail หรือโทรศัพท์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ในการประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้าง อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้างต่อบุคคล องค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- ชี้แจงกติกาการเข้าชั้นเรียน การประเมินผล และการปรับตกหากทุจริตในการสอบ
- กำหนดวันและเวลาในการส่งรายงาน                   
- บรรยายในชั้นเรียนจำนวน 45 ชั่วโมง โดยใช้เวลาในการสอนแต่ละบทดังแผนการสอน
- ประเมินความรู้ทางวิชาการโดยจัดสอบอย่างน้อย 2 ครั้งต่อภาคการศึกษา
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา
- ประเมินผลของรายงานและการนำเสนอผลการศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องได้รับความรู้ทางด้านวัสดุ เครื่องมือการก่อสร้าง วิเคราะห์ผลผลิตงานก่อสร้าง การถอดปริมาณวัสดุ การวิเคราะห์ราคาค่าแรงและค่าเครื่องจักร กลยุทธ์ในการประมูล หลักการควบคุมราคาการก่อสร้าง การวิเคราะห์แนวโน้มและการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การก่อสร้าง และสามาถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในงานจริงได้
- ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสมมุติเหตุการณ์การประมาณราคาแบบบ้านจริง
- กำหนดงานประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้างแบบบ้านพักอาศัย 2 ชั้น
- จัดทำเป็นรายงาน  และนำเสนอรายงานผลการศึกษา
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์    ใช้งาน
- ประเมินจากรายงาน และการเสนอรายงาน
- การทำแบบฝึกหัด
- การเข้าห้องเรียน
- พัฒนาการคิดวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์และอภิปรายการประยุกต์ใช้หลักการทางทฤษฎีในการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ
บรรยายในชั้นเรียน เพื่ออธิบายให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ เครื่องมือการก่อสร้าง วิเคราะห์ผลผลิตงานก่อสร้าง การถอดปริมาณวัสดุ การวิเคราะห์ราคาค่าแรงและค่าเครื่องจักร กลยุทธ์ในการประมูล หลักการควบคุมราคาการก่อสร้าง การวิเคราะห์แนวโน้มและการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การก่อสร้าง
ประเมินจากการสอบ การทำรายงาน  การเสนอรายงาน และการแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
- มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคลและงานกลุ่ม
- สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ
- วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
-  การอภิปรายในชั้นเรียน
-  มอบหมายงานให้ทำ และการทำรายงาน
- สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- การประเมินผลการส่งงาน ตรงต่อเวลา และมีเนื้อหาครบถ้วนตามที่ได้รับมอบหมาย
-  ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
-  ทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน โดยการทำรายงาน
-  ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำรายงาน
-  ทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
-  ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์
- ใช้PowerPoint ที่น่าสนใจ ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการคำนวณจากเอกสาร และการสอบต่างๆ
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ
สอนด้วยการบรรยายในชั้นเรียนและให้แบบฝึกหัดและทำกรณีศึกษา (Case study)
สอบปลายภาคและประเมินผลจากแบบฝึกหัดและการทำกรณีศึกษา (Case study)
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 – 1.10, 2.1 – 2.2 สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 สัดส่วนของการประเมินผล 20%
2 2.2 การส่งงานตามที่มอบหมาย สัปดาห์ที่ 2 ถึง 12 สัดส่วนของการประเมินผล 20%
3 1.1 – 1.10 , 2.1 – 2.2 , 3.1-3.2,4.1-4.2,5.1-5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การเข้าชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 1 ถึง 8 การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 10 ถึง 16 สัดส่วนของการประเมินผล 10%
4 2.2 , 3.2, 4.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน สัปดาห์ที่ 16 สัดส่วนของการประเมินผล 20%
5 2.2 , 3.1-3.2, 4.1-4.2, 5.1-5.2 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 สัดส่วนของการประเมินผล 30%
-
สัญญา ข้อกำหนด และการประมาณราคาก่อสร้าง. วิสูตร จิระดำเกิง. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยรังสิต, พิมพ์ครั้งที่ 5, 2546. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ, สันติ ชินานุวัติวงศ์. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา. คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2546. การประมาณราคางานก่อสร้าง. พิภพ สุนทรสมัย รศ. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). ดวงกมลสมัย, 2543. รวมข้อมูลการก่อสร้าง. นรมิตร ลิ่วธนมงคล. กทม.:รุ่งแสงการพิมพ์, 2538. การประมูลและควบคุมต้นทุน. ปริญญา ศุภศรี. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพลส,2547. กลยุทธ์การวิเคราะห์ราคางานก่อสร้าง. ปริญญา ศุภศรี. กรุงเทพฯ: คณะบุคคล ปริญญา ศุภศรี และรักษพงศ์ นพวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2548. คู่มือประมาณราคา (Cost Estimation Handbook). วิสูตร จิระดำเกิง. กรุงเทพฯ : วรรณกวี, 2550. อุทัย อนันต์ “ประมาณราคาก่อสร้าง” เทคนิคกรุงเทพ.วิทยาเขต.  ราชมงคลสถาบันเทคโนโลยี. :กรุงเทพ วินิต ช่อวิเชียร , วิสุทธ์ ช่อวิเชียร “ประมาณราคาก่อสร้าง “ภาควิชาวิศวกรรมโยธา .คณะวิศวกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์ . มหาวิทยาลัย พิภพ  สุนทรสมัย  “ประมาณราคาก่อสร้าง.”กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี  (ไทย-ญี่ปุ่น)
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ