เคมีสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม

Chemistry for Environmental Engineers

รู้และเข้าใจหลักเบื้องต้นทางเคมีของน้ำ คุณลักษณะของน้ำ การใช้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมี


รู้จักและเข้าใจความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการทางเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ การบำบัดน้ำทิ้งและน้ำเสีย การเก็บรักษาตัวอย่างน้ำ


รู้จักและเข้าใจขบวนการทางเคมีที่สำคัญในงานบำบัดน้ำทิ้งและน้ำเสีย รู้และเข้าใจและฝึกการทดลองวิเคราะห์หาพารามิเตอร์ที่สำคัญของตัวอย่างน้ำ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตวิศวกรสิ่งแวดล้อม โดยเน้นความรู้ที่สำคัญทางเคมีของน้ำ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการเรียนวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้จริงได้ต่อไป รวมทั้งสอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุติระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการบำบัดน้ำทิ้ง น้ำเสียลักษณะทางเคมีและกายภาพของน้ำ น้ำทิ้งและน้ำเสีย และการเก็บรักษาตัวอย่างน้ำ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ดีโอ บีโอดี ซีโอดี ของแข็ง ไนโตรเจน เป็นต้น รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและการนำข้อมูลวิเคราะห์ได้ไปใช้ในงานทางด้านวิศวกรสิ่งแวดล้อม
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ
1.1.1 การตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.2 มีวินัย และความใส่ใจในงานที่ได้รับมอบหมาย และสามารถทำงานเป็นหมู่คณะ
1.1.3 มีความซื่อสัตย์สุจริตในงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในลักษณะงานกลุ่มและส่งภายในเวลาที่กำหนด โดยการฝึกปฏิบัติ และค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน ให้นักศึกษานำผลการศึกษาและความรู้ที่ค้นคว้าได้มาแลกเปลี่ยนกันกับเพื่อนต่างกลุ่มและนำเสนอผลงานที่ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อสังคมหรือชุมชน
1.3.1 การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.3 การส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
1.3.4 การพิจารณาจากคุณภาพผลงานของนักศึกษาที่ส่งในเวลาที่กำหนด
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้าน นิยาม ความหมาย ทฤษฏี หลักการและเทคนิควิธีการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
2.1.2 มีทักษะการปฏิบัติด้านการวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากการลงมือปฏิบัติงานกลุ่มในเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนไปประยุกต์แก้ปัญหาในงานได้
 
2.2.1 บรรยายแบบ Active learning และให้นักศึกษาหาความรู้จากเนื้อหาทางทฤษฎีในบทเรียนต่างๆ และประยุกต์ใช้ความรู้ในการลงมือปฏิบัติจริงจากการทำ Lab ประกอบตามเนื้อหาที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 อภิปรายผล เพื่อสรุปความรู้ ที่ได้จาการทำแบบฝึกหัดและการลงมือปฏิบัติ
2.2.3 ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อประกอบการสอน เช่น แผ่นใส Power point & Website ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.3.1 การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
2.3.3 การทำแบบฝึกหัด
2.3.4 การทำรายงาน
2.3.5 การทดสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
3.1.1 ทักษะการลงมือปฏิบัติวิเคราะห์พารามิเตอร์ที่สำคัญซึ่งแสดงคุณภาพน้ำ
3.1.2 ทักษะการคิดและแก้ไขโจทย์และปัญหาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
3.2.1 ให้นักศึกษาฝึกการใช้สมองและแสดงความรู้ ความเข้าใจทั้งรายบุคคลและกลุ่มย่อย
3.2.2 ให้นักศึกษาอภิปรายข้อบกพร่องและฝึกแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในงานที่ได้จัดทำ
3.2.3 ให้นักศึกษานำเสนอผลงานกลุ่มของแต่ละกลุ่ม
3.3.1 การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
3.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
3.3.3 การอภิปรายและตอบคำถาม
3.3.4 การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3.3.5 รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสื่อสารกับองค์กรที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง สามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและวิชาชีพ โดยรู้จักบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะการมีจิตสำนึกที่ดีในการช่วยกันรักษาคุณภาพน้ำ
4.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับงานที่เกี่ยวข้อง
4.2.2 จัดกิจกรรมในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว
4.2.3 ทำรายงานจากกรณีศึกษาจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
4.3.1 การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนและสถานศึกษา
4.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
4.3.3 การพิจารณาจากพฤติกรรมของนักศึกษา
 
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการทำงาน
5.2.1 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามเนื้อหาและตัวอย่างที่ใช้ศึกษา
5.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานกลุ่มเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนจากสื่อออนไลน์
หรือ Web site ที่เกี่ยวข้อง
5.2.3 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อจัดทำรายงาน
ได้อย่างมีคุณภาพ
5.3.1 ผลการทำงานรายบุคคลและกลุ่มย่อยของแต่ละเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.2 ผลการศึกษาจากตัวอย่างที่ให้ลงมือปฏิบัติ และการวิเคราะห์ที่เหมาะสมและถูกต้อง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติตามเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 ENGEV102 เคมีสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2 2.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 35% 35%
2 2.3, 5.1 2.2, 2.4, 5.1 3.4, 4.1 2.3 การทำรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การนำเสนอรายงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2, 1.3 3.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย และเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กลิ่นประทุม ปัญญาปิง, เอกสารประกอบการสอนวิชาเคมีสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม. 2555. Sawyer, C.N., McCarty, P.L., and Parkin, G.F., Chemistry for Environmental Engineering.

        4th ed., McGraw-Hill International Editions, 1994.

Snoeyink, V.L., and Jenkins, D., Water Chemistry. John Wiley & Sons, Inc., 1980. Benefield, L.D., Judkins, J.F., and Weand, B.L., Process Chemistry for Water and Wastewater Treatment. Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey, 1982.
- ตัวอย่างรายงาน
- ตัวอย่างงานที่มอบหมายของนักศึกษารุ่นก่อน ๆ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อแนะนำผ่านการให้คำปรึกษานอกชั้นเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์ พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนจาการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียนและ งานที่มอบหมาย รวมทั้งความคิดเห็นของผู้เรียน
2.2 ผลการเรียนและการทำงานของนักศึกษา ทั้งกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหา รูปแบบการเรียนรู้ และกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
3.2 ใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ง่าย และสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกันจากกิจกรรมกลุ่มและงานที่ มอบหมายให้ฝึกปฏิบัติในและนอกห้องเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 จากผลการตรวจงานที่มอบหมาย และคะแนนที่ได้จากการทำงาน การสอบ
4.2 แนะนำเทคนิควิธีการที่มีการใช้จริง และการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รวมทั้งติดตาม
ตรวจสอบความก้าวหน้าในการทำงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม ตลอดจนแจ้ง
ผลการเรียนการสอบทุกครั้ง
 
จากผลการประเมินผลสัมฤทธิ์และประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ทบทวนเนื้อหาของบทเรียนให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
5.2 ปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามกรณีศึกษาที่น่าสนใจซึ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ
5.3 ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ให้สามารถตอบสนองความสามารถของผู้เรียน
5.4 ปรับปรุงรายวิชาให้สอดคล้องกับสภาวิศวกรในการสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรสิ่งแวดล้อม