ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาธารณะและบริการ

Public and Services Industrial Product Design

1. เพื่อทราบแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาธารณะและบริการ
2. เพื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการให้มีรูปแบบและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม สามารถผลิตได้
3. ฝึกปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาธารณะและบริการเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้
         เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรายวิชา มีเนื้อหาในการเรียนการสอนที่ปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม ตามยุคสมัย
       ฝึกปฏิบัติออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาธารณะและบริการ ค้นคว้าข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างกรอบแนวคิดในการออกแบบ ขนาดสัดส่วนมนุษย์ วัสดุและกรรมวิธีการผลิต ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์บริการตามกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
       Practice with research and analysis to create a framework for the design. Human proportions, materials and manufacturing processes related to the public and service industrial
Products in the product design process.
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ -
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
 1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูและเที่ยงธรรม
 2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบหน้าที่  มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ
 3. สุภาพอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้จักกาละเทศะ ใจกว้าง เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 4. มีน้ำใจ มีจิตอาสา จิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
 5. มีความพอเพียง
 6. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
 7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
2. อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
3. สอดแทรกประสบการณ์และเหตุการณ์จริงให้เกิดความเข้าใจระหว่างการเรียนการสอน
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. พฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน
3. ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่สาขาและมหาวิทยาลัยจัดขึ้น
4. ประเมินจากข้อสอบเชิงวิเคราะห์
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการ
2. มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากโจทย์ที่ได้รับมอบหมายได้
3. นำความรู้เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการมาทำหุ่นจำลอง    
4. นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบมาทำการออกแบบและผลิตจริง เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยในงานออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการ และนำเสนอผลงาน
      
1. บรรยายประกอบการยกตัวอย่างด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดีย การคิดวิเคราะห์ ถาม ตอบในชั้นเรียน
2. มอบหมายงานให้ไปปฏิบัติงานจริงในการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการเพื่อฝึกทักษะ
3. เน้นการเรียนการสอนที่เป็น Active learning โดยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. วิเคราะห์ วิพากษ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละชิ้น เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน
1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2. ประเมินจากงานส่วนบุคคลที่ได้รับมอบหมาย
3. ประเมินผลจากผลงาน Final Project
พัฒนาความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ พร้อมไปกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักการและเหตุผล เพื่อให้การสร้างสรรค์นั้นตอบสนองการใช้งานจริง เทคนิคในการพูดในการอธิบายการนำเสนองานออกแบบ
  1. นำเสนอความรู้ตามหลักการทางทฤษฎี
  2. วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขจากกรณีศึกษาซึ่งเกิดขึ้นจริง
  3. มอบหมายงานเพื่อให้คิดวิเคราะห์และความรู้จากประสบการณ์มาแก้ไข เพื่อพัฒนาต่อยอดงานในขั้นถัดไป
  4. การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
 
1. พิจารณาจากผลงานการปฏิบัติงานหลังจากการเรียนรู้ทางทฤษฎีแล้ว
2. สอบปลายภาคโดยเน้นการคิดวิเคราะห์และสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาทางทฤษฎีมาสู่การออกแบบสร้างสรรค์ในทางปฏิบัติได้
3. การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและมีการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ร่วมกัน
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
3. การมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลรอบข้าง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน
5. เข้าใจบทบาทของความเป็นผู้นำและผู้ตาม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาทของตน
6. สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์หลากหลายได้อย่างเหมาะสม
1. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
2. กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน
1. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ และผลการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
2. ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
 
 
1. พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารโดยการรายงานและการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน
3. พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
4. ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียนมา
2. จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
4. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
1. มีทักษะด้านออกแบบและใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน
2. มีทักษะในการทำหุ่นจำลอง และผลิตผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการต้นแบบ
3. มีทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ ด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย
1. มีทักษะด้านออกแบบและใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน
2. มีทักษะในการทำหุ่นจำลอง และผลิตผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการต้นแบบ
3. มีทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ ด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย
1. บรรยายประกอบการยกตัวอย่างด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดีย การคิดวิเคราะห์ ถาม ตอบในชั้นเรียน
2. มอบหมายงานให้ไปปฏิบัติงานจริงในการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการเพื่อฝึกทักษะ
3. วิเคราะห์ วิพากษ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละชิ้น เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน
1. ประเมินจากผลงานที่ได้ปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการออกแบบ การปฏิบัติงานและผลิตชิ้นงานจริง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAAID128 ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาธารณะและบริการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ - มีความรู้ ทักษะความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะและบริการ 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1 - 17 60 %
2 ทักษะทางปัญญา - มีความสามารถในการใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ และวิพากษ์ได้ - มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น - มีความสามารถในการประเมินและสรุปประเด็น - มีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1 - 17 20%
3 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - มีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย - มีความสามารถในการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม - มีความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ 1. คะแนนส่วนร่วมในชั้นเรียน 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1-7,9-16 10%
4 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - มีความสามารถเลือกทักษะทางภาษาและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม - มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูล ติดต่อสื่อสาร การจัดการและนำเสนอข้อมูลได้ - มีความสารถในการสืบค้นความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวกับออกแบบ คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1-7,9-16 10 %
นิรัช  สุดสังข์. ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ  :โอเดียนสโตร์, 2548.
ตระกูลพันธ์  พัชรเมธา. การนำเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2548.
พรทิพย์  เรืองธรรม. ทฤษฎีการออกแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อิทนิล, 
นวลน้อย  บุญวงศ์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
อุดมศักดิ์  สาริบุตร. เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2549.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
  1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
  1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
  2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
  2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
  2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
   3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
   4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
   4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
   5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
   5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์