การจัดการธุรกิจนำเที่ยว

Tourism Business Management

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจรูปแบบของธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อให้นักศึกษามารถวิเคราะห์ วางแผน และจัดการธุรกิจท่องเที่ยว

เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำแนวคิด หลักการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัตินำเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้จริง
เพื่อบูรณาการ การเรียนการสอนในกลุ่มวิชาชีพ ให้สามารถนำมาใช้ร่วมกัน เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้จากการเรียนนำไปสู่การปฏิบัติในสถานที่จริง โดยเน้นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับมรดกโลกในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อต่อยอดให้นักศึกษาสามารถเตรียมพร้อมทำงานในสถานประกอบการด้านธุรกิจนำเที่ยว
ลักษณะและรูปแบบของธุรกิจท่องเที่ยว การวิเคราะห์และการวางแผนพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว วิธีการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว หน้าที่และความรับผิดชอบของธุรกิจท่องเที่ยว ขั้นตอนการเป็นผู้จัดนำเที่ยวและเป็นตัวแทนนำเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ การดูแลนักท่องเที่ยว การประสานงานกับมัคคุเทศก์และบริษัทนำเที่ยว ตลอดจนแนวทางแก้ปัญหาโดยศึกษาจากกรณีตัวอย่างและการปฏิบัติ
3.1 อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษา ผ่านทางป้ายประกาศ ผ่านระบบ อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์
3.2 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ( เฉพาะรายที่ต้องการ)
Accountability ความรับผิดชอบ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ ü 1. กำหนดให้มีวิชาจรรยาบรรณโดยเฉพาะและทำรายงาน   ü 2. สอนคุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในบทเรียนวิชาเฉพาะ   ü 3. สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
4. สอนโดยการอ้างอิงประมวลกฎหมาย (Ethic Code) ที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณ   ü 5. การบรรยายพิเศษโดยผู้มีประสบการณ์หรือพระในศาสนาต่าง ๆ   ü 6. การแสดงออกอันเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สอน  
 รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ ü 1)  ผลการสอบในวิชาคุณธรรม จริยธรรมโดยตรง จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมาย   ü 2)  สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน   ü 3)  ทำงานเป็นกลุ่ม และรายงานผลงาน   ü 4)  กำหนดหัวข้อทางคุณธรรม จริยธรรมให้พูดแสดงออก   ü 5)  ผลการประเมินจากการฝึกงานสหกิจโดยองค์กรที่ผู้เรียนเข้าฝึกงาน  
Ability ความรู้ความสามารถ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจ)

บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน

Accountability ความรับผิดชอบ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ ü 1. การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ   ü 2. ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานจริง ภาคปฏิบัติ   ü 3. อภิปรายเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้สอนตั้งคำถามตามระบบการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   ü 4. การศึกษานอกสถานที่และทำรายงาน   ü 5. ฝึกปฏิบัติร่วมกับสถานประกอบการ    ü 6. ฝึกปฏิบัตินอกสถานที่โดยร่วมกับมืออาชีพ (professional) ในวิชานั้นๆ  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ ü 1. ทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ โดยการสอบย่อย และให้คะแนน   ü 2. ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค   ü 3. ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน   ü 4. ประเมินจากรายงานที่ให้ค้นคว้า  
Brilliance ความเฉลียวฉลาด (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ ü 1. ฝึกปฏิบัติและจัดทำโครงการเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ตลอดจนการวิจัย   ü 2. การอภิปรายเป็นกลุ่ม   ü 3. การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้า หรืองานเกี่ยวกับการพัฒนา   ü 4. การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการในสายอาชีพ   ü 5. กำหนดให้มีรายวิชาที่ต้องใช้ทักษะการคำนวณ เช่น การจัดการการบริการการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่ม  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ ü 1. ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ   ü 2. การสอบข้อเขียน   ü 3. การเขียนรายงาน  
Learning การเรียนรู้ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ ü 1. บรรจุเนื้อหาความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรายวิชาชีพ   ü 2. มอบหมายงานเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยหมุนเวียนกันในกลุ่ม   ü 3. สอนโดยใช้กรณีศึกษา  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ ü 1. ประเมินจากผลงานของกลุ่มและผลงานของผู้เรียนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน   ü 2. ประเมินตนเอง และประเมินซึ่งกันและกัน (peer)   ü 3. ใช้ประวัติสะสมงาน (portfolio) ในการประเมิน   ü 4. สังเกตพฤติกรรมในการเรียน   ü 5. ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการสหกิจศึกษา  
      Ability ความรู้ความสามารถ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ ü 1. ทดสอบระดับความสามารถทางภาษาในการติดต่อกับคนไทยและต่างชาติผ่านการสอบปฏิบัติและสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ   ü 2. ทดลองให้ใช้อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางการท่องเที่ยวและโรงแรม หรือสายการบิน   ü 3. นำเสนอผลงานที่ค้นคว้าและอภิปรายด้วยตนเองหรือแบบกลุ่มในห้องเรียน   ü 4. บูรณาการการใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์ หรือสื่อต่าง ๆ   ü 5. ทดสอบกระบวนการแก้ปัญหาหรือกรณีศึกษาที่จำเป็นต้องใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์หรือสถิติในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ ü 1. ประเมินผลโดยการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ   ü 2. ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน   ü 3. ประเมินผลจากการใช้คอมพิวเตอร์   ü 4. ประเมินผลจากการสรุปหัวข้อที่มอบหมายให้ค้นคว้า  
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้้านความรู้ 3.ด้านปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะด้าน การปฏิบัติงานในวิชาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 3 3 2 3 1 2 3 1
1 BOATH112 การจัดการธุรกิจนำเที่ยว
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.4 สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน ตลอดภาคการศึกษา 10
2 2.3 ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาค 9 50
3 2.1, 2.3, 2.4 ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน ทุกสัปดาห์ 10
4 2.1,2.4 ประเมินนักศึกษาโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน 10 10
5 2.5 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน 10 10
6 2.1,2.4 ประเมินผลจากการปฏิบัติ 10 10
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. ธุรกิจนำเที่ยว(Tour Business). กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549.
ธเนศ ศรีสถิตย์. การจัดการธุรกิจนำเที่ยว. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2547.
จุลสารการท่องเที่ยว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551
แผนยุทธศาสตร์จังหวัด และกลุ่มล้านนา, 2552
วารสารธุรกิจการท่องเที่ยว และวารสารที่เกี่ยวข้องทั้งของไทย และต่างประเทศ
http://www.wftga.org
http://www.tourism.go.th
http://thai.tourismthailand.org
http://www2.tat.or.th/tat
http://www.pgathaiguide.com
http://www.atta.or.th
ในวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจถึงการปรับปรุงรายวิชานี้จากการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และประโยชน์จากข้อคิดเห็นของนักศึกษาต่อการพัฒนารายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนารายวิชาในช่วงปลายของภาคการศึกษา ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้

ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน และการพัฒนารายวิชาผ่านระบบการประเมิน on line ของมหาวิทยาลัย
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา

มีการประเมินการสอนโดยคณะกรรมการทวนสอบผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่มสัมภาษณ์ผู้เรียน
การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกปฏิบัตินอกสถานที่

ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัยและเหมาะสมกับนักศึกษารุ่นต่อไป
4.1 คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
4.2 ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามกรอบเวลาที่ทางหลักสูตรกำหนด
4.3 คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยการสุ่มสัมภาษณ์นักศึกษากลุ่มเป้าหมาย
4.4 ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยใช้แบบประเมินตนเองของนักศึกษาต่อระดับผลการเรียนรู้
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
5.3   ลงพื้นที่ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวของกับรายวิชาเพื่อบูรณาการการเรียนการสอนกับงานวิจัย
5.4   ปรับปรุงเนื้อหารายวิชที่ได้จากการวิจัย