การเตรียมโครงงาน

Pre-project

เข้าใจการหลักการและเป้าหมายของการเตรียมโครงงาน จุดประสงค์ การกำหนดเป้าหมาย ขอบเขต การวางแผนการดำเนินงานโครงการ หลักการเขียนโครงงาน ตลอดจนการประเมินโครงานเบื้องต้น มีเจตคติที่ดีต่อการทำโครงงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเตรียมโครงงาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการทำโครงงานเซรามิก ทั้งในการเรียนและการประกอบอาชีพในอนาคต และเป็นพื้นฐานการเรียนรายวิชาโครงงานอุตสาหกรรม
 ศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมโครงงาน จุดประสงค์ การกำหนดเป้าหมาย ขอบเขต การวางแผนการดำเนินงานโครงการ หลักการเขียนโครงงาน ตลอดจนการประเมินโครงานเบื้องต้น
-    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
       1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
       2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
       3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
      1.  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
      2 . ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
      3.  ประเมินการทำทุจริตในการสอบ
      4.  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
      1.  มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
      2.  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย ยกตัวอย่าง
      1.   การทดสอบย่อย
      2.   การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
     1.  บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
      2.  ยกตัวอย่างโครงงานของนักศึกษารุ่นก่อนๆ
      3.  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
      1.  ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน
       2.  การนำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน
       3.  แบบทดสอบ
      1.  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
      2.  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
      3.  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
      1.  มอบหมายงานรายบุคคล
      2.  การนำเสนองาน
      1.  ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
      2.  สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
      3.  ความครบถ้วนชัดเจน ตรงประเด็นของข้อมูล
      1.   สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
      2.   สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      1.   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
      2.   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
      1.  ประเมินจากโครงงาน และการนำเสนอด้วยหลักการและแนวทางการแก้ปัญหา
      2.  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเเละการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 1 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 44020424 การเตรียมโครงงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-3.4 3.5-5.5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 16 20% 20%
2 1.1 -5.5 การส่งโครงการและการนำเสนอโครงการ ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 1.1-5.5 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. กัญญา กำศิริพิมาน. (2540). การวิจัยทางอาชีวศึกษา. เชียงใหม่: ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
2. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2539). คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าแบบอิสระ. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: คณะศึกษา      ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3. ญาณี รักษาทรัพย์. (2535). การศึกษาสมรรถนภาพของนักเทคโนโลยีสาขาเซรามิกตามความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมช่วงปี         พ.ศ. 2533-2540. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
4. หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา. (2537). การวิจัยและประเมินผล แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร        แห่งประเทศไทย.
5. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2541). คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
6. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: B&B Publishing.
7. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2537). หลักการวิจัยเบื้องต้น : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โครงการการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยมหิดล.
8. ประนอม มานะกิจ. (2536). การทดลองเนื้อดินปั้นจังหวัดนครสวรรค์เพื่อใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผาประเภทสโตนแวร์. วิทยานิพนธ์การ        ศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
9. ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2539). เอกสารประกอบการสอนวิจัยการศึกษา.                  เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
10. ล้วน สายยศ. และอังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
11. สมบูรณ์ สารสิทธิ์. (2539). การทดลองเนื้อดินปั้นจากดินแดงจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อการขึ้นรูปด้วยวิธีหล่อแบบและน้ำเคลือบที่        เหมาะสม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
12. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (บรรณาธิการ). (2535). รวมบทความทางการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์                          มหาวิทยาลัย.
13. เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์. (2540). โครงการปรับปรุงคุณภาพดินพานทองเพื่อการใช้ในการขึ้นรูปด้วยการหล่อน้ำสลิป. รายงานประกอบ        การศึกษาตามหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาเครื่องเคลือบดิบเผา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
14. อภิญญา วิไล. (2541). การพัฒนาเนื้อดินเอิร์ทเทนแวร์ในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการขึ้นรูปวิธีการหล่อน้ำดินและการตกแต่งด้วย                เคลือบ. รายงานประกอบการศึกษาตามหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาเครื่องเคลือบดิบเผา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
15. อภิญญา วิไล. (2541). โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกบล็อค. รายงานประกอบการศึกษาตาม หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขา              เครื่องเคลือบดิบเผา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
16. อภิญญา วิไล. (2542). โครงการออกแบบประกอบและตกแต่งภายในบ้าน. รายงานประกอบการศึกษาตามหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต              สาขาเครื่องเคลือบดิบเผา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
     1.  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     2.  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
     1.  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
     2.  ผลการเรียนของนักศึกษา
     3.  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
     1.  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจโครงงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
      1.  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจโครงงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
    2.  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
     1.  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
     2.  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์