คอมพิวเตอร์เพื่องานเขียนแบบสถาปัตยกรรม

Computer - Aided Architectural Drafting

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการใช้คำสั่ง หลักการและวิธีการเขียนแบบ 2 มิติและ BIM
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในการใช้โปรแกรม เพื่อเป็นพื้นฐานการนำโปรแกรมไปปรับใช้กับวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการเขียนแบบสถาปัตยกรรม 2 มิติ และ BIM
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าชั้นเรียน จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยระบุเวลาไว้ในตารางสอน และแจ้งนักศึกษาในชั่วโมงแรกของสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังความมีวินัยการตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบ ต่อตนเอง โดยเน้นการเข้าเรียน อธิบายข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียน การลด-ถอนรายวิชา หากนักศึกษาไม่มีความพร้อมในการเรียน
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับงานด้านสถาปัตยกรรม

1.2.2 ปฏิบัติการใช้โปรแกรม
กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
1.3.1   ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลารับผิดชอบในปฏิบัติงานการประยุกต์ใช้โปรแกรม ภายในห้องเรียน
    2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ การใช้โปรแกรมAutoCAD, Google SketchUp และ Autodesk Revit Architecture
    2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมของสาขาวิชาที่ศึกษา
   2.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาและการใช้คำสั่งในการเขียน (Draw) คำสั่งในการแก้ไข (Modify)คำสั่งเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ (Printer) และเครื่องเขียนแบบ (Plotter) ฝึกปฏิบัติการเขียนแบบแปลน รูปด้าน รูปตัด และแบบลักษณะงาน 2 มิติ ในการออกแบบและเขียนแบบงานสถาปัตยกรรม
    2.2.2 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผลงานเพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษา
2.3.1   ประเมินผลจากการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินผลจากผลงานในการใช้โปรแกรมAutoCAD, Google SketchUp และ Autodesk Revit Architecture
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ โดยการใช้โปรแกรมAutoCAD, Google SketchUp และ Autodesk Revit Architecture
  3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำงานเพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการออกแบบและเขียนแบบงานสถาปัตยกรรม
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้โปรแกรม
3.3.2 วัดผลจากการประเมินผลงานการใช้งานโปรแกรม
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.1 สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
 4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
5.1.1   สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม มีทักษะทางการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดความรู้และนำเสนอผลงาน ทั้งการพูด การเขียนและการใช้สื่ออื่นๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และนำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  
5.3.1   ประเมินจากงานการใช้โปรแกรมและรูปแบบการนำเสนอ
5.3.2   สังเกตทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการเขียนแบบในชั้นเรียน
     6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
     6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
                6.2.1   ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงานและศิลปนิพนธ์   สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
     6.3.1   ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 3 1 2 1 2 1 1 2
1 BARIA401 คอมพิวเตอร์เพื่องานเขียนแบบสถาปัตยกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1. ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลารับผิดชอบในปฏิบัติงานการประยุกต์ใช้โปรแกรม ภายในห้องเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
2 ความรู้ 1. ประเมินผลจากการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2. ประเมินผลจากผลงานในการใช้โปรแกรมAutoCAD, Google SketchUp และAutodesk Revit Architecture ตลอดภาคการศึกษา และ 9, 18 30
3 ทักษะทางปัญญา 1. สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้โปรแกรม 2. วัดผลจากการประเมินผลงานการใช้งานโปรแกรม ตลอดภาคการศึกษา และ 9, 18 30
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1. ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ตลอดภาคการศึกษา 5
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. ประเมินจากงานการใช้โปรแกรมและรูปแบบการนำเสนอ 2. สังเกตทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการเขียนแบบในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20
6 ด้านทักษะพิสัย 1. ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 5
     คู่มือโปรแกรมAutoCAD และ Autodesk Revit Architecture
เอกสารที่เกี่ยวข้องในการประยุกต์ใช้โปรแกรม
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
 
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ