สหกิจศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Cooperative Education in Food Science and Technology

เมื่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนามนี้แล้ว นักศึกษาจะสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และ/หรือเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานในสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
1.2 นักศึกษาได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ทางทฤษฎีและการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน
1.3 นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการและวิธีการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารมาใช้ในการทำงานสามารถนำมาปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ
1.4 ฝึกความอดทน การมีวินัย และความซื่อสัตย์ในการปฎิบัติงาน
1.5 พัฒนาความสามารถในการปรับตัวให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร
1.6 นักศึกษาสามารถจัดทำโครงงาน รายงานผลการปฏิบัติงาน เขียนรายงาน นำเสนอโครงงานแบบปากเปล่า และจัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม
2.1 เพื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการณ์และอาจารย์ที่ปรึกษา
2.2 เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการฝึกงานในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับภาวะการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด
ฝึกปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษาจะต้องผ่านการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา   โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน ตลอดจนการจัดทำโครงงาน รายงานผลการปฏิบัติงาน เขียนรายงาน นำเสนอโครงงานแบบปากเปล่า และจัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม  มีการประเมินผลร่วมกันระหว่างหน่วยงานและสถานศึกษา เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่การประกอบอาชีพ
On-the job training for food company or organization. Student is required to attend orientation, integrate knowledge into practice, perform a proposal, present the assignment, write report, give an oral presentation and provide a report. Mutual evaluation between organization persons and academic persons is required.
˜1.1 มีระเบียบวินัย อดทน ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต
   ˜1.2 นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกงานอย่างถูกต้อง โดยคำนึงถึงคุณธรรม และจริยธรรม
  ˜1.3 มีจรรยาบรรณวิชาชีพ คำนึงถึงความปลอดภัยส่วนบุคคล และส่วนรวม
  ˜1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1. การอบรมก่อนการฝึกงานให้นักศึกษาทราบถึงแนวการปฏิบัติตนในระหว่างการฝึกงานในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ ของสถานประกอบการ การปฏิบัติตามกฏระเบียบของสถานประกอบการ
2. ขอความร่วมมือกับสถานที่ฝึกงานให้กำหนดตารางเวลาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม กำหนดขอบเขตของงาน วิธีการประเมินผลงานให้นักศึกษาทราบ และมอบหมายงานและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร
3. มีสมุดคู่มือการฝึกงาน ที่สามารถบันทึกผลการปฏิบัติงานในแต่ละวัน
4) ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1. นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรมจริยธรรม
2.  ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง
3. ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้องพร้อมมีรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามประกอบ
2.1 สามารถวิเคราะห์ปัญหา และประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการอาหารที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
   2.2  มีความรู้/ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือระบบประกันคุณภาพ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามที่ได้รับการฝึกประสบการณ์
1. สถานประกอบการที่ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง
2. ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง
3. พนักงานพี่เลี้ยงมอบหมายให้นักศึกษาได้ทำงานวิจัยเพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการหรือพัฒนากระบวนการการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
1. ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศ
2. ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการทำงาน และความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดแบบฟอร์มบันทึกการสั่งงาน
3. การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา
3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
   3.2 สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีมาอธิบายการทำงานในภาคปฏิบัติ
   3.3 สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
1. การมอบหมายโจทย์ปัญหา ให้ฝึกการค้นหาสาเหตุของปัญหา หรือมอบหมายโจทย์ปัญหาในรูปแบบของโครงงานวิจัย ให้ฝึกการออกแบบการทดลอง และวิเคราะห์ผลเชิงสถิติที่เหมาะสม รวมทั้งฝึกการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในสภาพแวดล้อมจริง
2. จัดทำรายงานผลวิเคราะห์และนำเสนอ
3. ประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
1. ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่ เกี่ยวข้องและควรนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน
2. การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา
˜4.1 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในงานกลุ่ม
   ˜4.2 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
   ˜4.3 สามารถวางตัวในตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเหมาะสม
    4.4 กล้าแสดงความคิดเห็นในขอบเขตของงานและภาระหน้าที่
   4.5 พัฒนาตนเองจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจากการฝึกอบรม หรือการสอบถามเพื่อนร่วมงาน
   4.6 สร้างความสัมพันธ์อันดี ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันในหน่วยงาน
1. สร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาทัศนคติให้เกิดความรู้รัก สามัคคี พร้อมทำงานเป็นทีม
2. ขอความร่วมมือจากสถานที่ฝึกงานให้มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจนมอบหมายงานที่ต้องไปพูดคุย สัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูล
3. ประชุมร่วมกัน เพื่อมอบหมายงาน ติดตามงาน ประเมินผล
1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
2. ประเมินจากข้อมูลที่ได้รับจากที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์
3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
  5.1 สามารถใช้ความรู้ทางสถิติ คณิตศาสตร์ เทคนิคการคำนวณ เพื่อแก้ปัญหาโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย อย่างเหมาะสม
˜5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม 
5.3 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ตในการค้นคว้า หาข้อมูลประกอบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ ทักษะการคำนวณ หรือใช้สถิติเพื่อนำเสนอข้อมูล  โดยผ่านการทำโครงงานวิจัย
2. กำหนดให้มีการนำเสนอผลการฝึกงานด้วยPower point
3. กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานสรุปผลการฝึกงาน
1. ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอความครบถ้วนของข้อมูล และครอบคลุมเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย  ตลอดจนความเข้าใจและความถูกต้องในเนื้อหาที่นำเสนอ  มารยาทและบุคลิกภาพในการนำเสนอ
2. ประเมินจากผลการแก้ปัญหาโดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
˜ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1. จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่อง อุปกรณ์และวิธีการให้ได้มาซึ่งขบวนการแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอย่างเหมาะสม
1. ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 1.
1 BSCFT108 สหกิจศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล