การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

E-Marketing

- เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการตลาดอิเล็คทรอนิคส์ในยุคปัจจุบันได้
- เพื่อให้นักศึกษาอธิบายได้ถึงการวางแผนการตลาดอิเล็คทรอนิคส์
- เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเครื่องมือการตลาดอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภทและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- เพื่อให้นักศึกษารับรู้และตอบสนองในด้านความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ในการเรียนและการทำงาน
- เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานทำงานร่วมกับผู้อื่น ใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของการตลาดในยุคดิจิตอล
การวิเคราะห์สภาพแวดพฤติกรรมผู้บริโภค การแบ่งส่วนตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งทางการตลาด การจัดการผลิตภัณฑ์ ราคา และการจัดจำหน่ายผ่านอินเตอร์เน็ต การสื่อสารการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การวางแผนและกลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
- ชั่วโมงการสอน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  
- อาจารย์ให้คำปรึกษาเป็นรายคนและรายกลุ่มตามต้องการหรือทาง e-mail โดยไม่จำกัดเวลา ในช่วงเวลาที่อาจารย์ไม่มีภาระการสอนอื่นหรือภาระงานอื่นๆ และสามารถนัดหมายได้ทางโทรศัพท์มือถือ หรือติดต่อทาง e-mail หรือ Facebook  
- อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งให้นักศึกษาทราบถึงการให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการเรียน
 - มีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ 

 - มีน้ำใจ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 

 -  มีความพอเพียง 

 -  มีความซื่อสัตย์ กตัญญู เที่ยงธรรม

 - สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลเทศะ ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 - มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 

  เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรและสังคม 
ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ในเรื่องความยุติธรรม การแต่งกาย การตรงเวลา

- การแจ้งนโยบายในการเรียนประกอบด้วย

 การแต่งกาย การตรงเวลา ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การทำงานกลุ่ม

- สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในชั่วโมงเรียน ประกอบด้วย จริยธรรมวิชาชีพ คุณธรรมจริยธรรมทางความประพฤติอันมีผลต่อสังคม
- ประเมินผลพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และการสอบ เช่น การแต่งกายที่ถูกระเบียบ , การมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ , การทุจริตในการสอบ และการลอกงานเพื่อน

- ตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การเข้าห้องตรงเวลา การส่งรายงานตรงเวลา

- ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นโดยการสังเกตในการทำงานในชั้นเรียน โดยเพื่อนในกลุ่ม
 - มีความรอบรู้อย่างกว้างขวางในศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้

 - มีความรู้พื้นฐานเพื่อศึกษาต่อในหลักสูตรได้ 

 - มีความรู้ตามหลักการ ทฤษฎีในสาขาวิชาการตลาด 
- การบรรยาย และยกตัวอย่างประกอบ

- นักศึกษาเเสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถาม

- นักศึกษาจัดทำกรณีศึกษา , งานมอบหมาย

- จัดทำรายงาน
- สอบกลางภาค

- งานมอบหมาย

- การจัดทำกรณีศึกษา

- การนำเสนอรายงาน
 - เป็นผู้ใฝ่รู้ และมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 - สามารถคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจบนพื้นฐานของ เหตุผลได้ มีวิสัยทัศน์ และความคิดสร้างสรรค์ 

 - นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- นักศึกษาเสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามในชั้นเรียน 

- การประยุกต์ใช้ความรู้ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา โดยให้นักศึกษาจัดทำกรณีศึกษา , งานมอบหมาย
- ประเมินจากการตอบปัญหาการแสดงความคิดเห็น

- รายงานกลุ่ม

- งานมอบหมาย

- การจัดทำกรณีศึกษา

- สอบกลางภาค

 
-  มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
 
- ตระหนักถึงสิทธิของตนเองและผู้อื่น และยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ 
 
- มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
- การจัดทำงานกลุ่ม พร้อมกับการนำเสนองาน โดยให้แต่ละกลุ่มจัดทำรายงาน ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะต้องร่วมกันค้นหาข้อมูล การวิเคราะห์ การตัดสินใจ ในการจัดทำงาน
- ประเมินความรับผิดชอบงานกลุ่ม การช่วยเหลือในการทำงาน ความขัดแย้งในกลุ่มงาน การรับฟังความคิดเห็น คุณภาพของงานที่ร่วมรับผิดชอบ - ประเมินจากการส่งงานตามเวลา
- สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน

- สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลข ระบุเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมายได้

- สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และคัดเลือก

- สรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการเขียน การพูด รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ
- แนะนำแหล่งข้อมูลสำหรับสืบค้น

- การมอบหมายงานที่ต้องสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

- การนำเสนองานด้วยวิธีการเขียน 

- การให้แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนเพื่อทักษะในการฟัง พูด
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาจากเอกสาร การรายงานและงานมอบหมาย

- ประเมินทักษะการใช้สื่อ การใช้ภาษา จากการนำเสนอรายงาน และการแสดงความคิดเห็น

- ประเมินจากคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ประกอบในรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.5 5.1 5.2 5.3 5.4
1 12022412 การตลาดอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.5,1.7,4.1,4.2,4.5 การเข้าเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การส่งงานตรงเวลา 1-17 10%
2 2.1,2.2,3.2,3.3,5.1,5.3 การติดตามความก้าวหน้าของงานที่ได้มอบหมาย 3,5,6,13 20%
3 2.1,2.2,3.2,3.3,4.1,4.2 รายงานและการนำเสนอ 15 10%
4 1.1,1.7,2.1,2.2,3.2,3.3 การสอบกลางภาค 9 30%
5 1.1,1.7,2.1,2.2,3.2,3.3 การนำเสนอผลงานและรายงานสรุปการดำเนินธุรกิจ 17 30%
- ณัฐพล ใยไพโรจน์ 2558 Digital Marketing : Concept & Case Study ไอดีซี
- Cravens, D. and Piercy, N. (2006), “Strategic Marketing”, 8th Eds., McGraw-Hill.

- ธนวรรณ แสงสุวรรณและคณะ แปลและเรียบเรียง (2000), “การจัดการการตลาด”, พิมพ์ครั้งที่ 2, Pearson Education Indochina.

- รังสรรค์ เลิศในสัตย์ (2549), “การตลาดเชิงกลยุทธ์ เพื่อความสำเร็จสำหรับผู้บริหาร SMEs”, พิมพ์ครั้งที่ 1, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

- นุวีร์ เลิศบรรณพงษ์ แปล (2549), “กลยุทธ์การบริหารแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ”, สำนักพิมพ์แบรนเอจบุ๊คส์.
1. Cravens, D. and Piercy, N. (2006), “Strategic Marketing”, 8th Eds., McGraw-Hill.
2. ธนวรรณ แสงสุวรรณและคณะ แปลและเรียบเรียง (2000), “การจัดการการตลาด”, พิมพ์ครั้งที่ 2, Pearson Education Indochina.
3. รังสรรค์ เลิศในสัตย์ (2549), “การตลาดเชิงกลยุทธ์ เพื่อความสำเร็จสำหรับผู้บริหาร SMEs”, พิมพ์ครั้งที่ 1, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
4. นุวีร์ เลิศบรรณพงษ์ แปล (2549), “กลยุทธ์การบริหารแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ”, สำนักพิมพ์แบรนเอจบุ๊คส์.
http:// www.brandagemag.com 2. http:// www.marketeer.co.th 3. http://www.gotomanager.co.th
นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา 
มีการประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการคณะจากการสังเกตการสอน การสัมภาษณ์นักศึกษา
ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามที่ สกอ.กำหนด ทุกภาคการศึกษา ให้ผู้สอนเข้ารับการอบรมกลยุทธ์การสอน การวิเคราะห์ผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน ในรายวิชาที่มีปัญหาอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมผู้สอนเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
มีคณะกรรมการประเมินข้อสอบ และความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ทุกรายวิชาในหลักสูตรภายในรอบเวลาหลักสูตร
มีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คณะกรรมการประเมินของหลักสูตร การรายงานรายวิชาหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน และเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาเสนอต่อประธานหลักสูตร เสนอต่อกรรมการประจำคณะพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปเพื่อวางแผนปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป