การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Data Communication and Networks

- รู้และเข้าใจถึงระบบและองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
- อธิบายการทำงานขององค์ประกอบต่าง ๆ ในการส่งผ่านข้อมูลแบบต่างๆ
- รู้วิธีการการควบคุมการส่งข้อมูล และการหาเส้นทางส่งข้อมูลระบบเครือข่าย
เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพบังคับ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดและสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และประยุกต์ความรู้ทางระบบสารสนเทศที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล มาตราฐานการสื่อสารข้อมูล สื่อส่งสัญญาณ การส่งข้อมูลแบบอนาล็อก การส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ตัวแบบการสื่อสารข้อมูล ข่ายงานการสื่อสารข้อมูล ข่ายงานท้องถิ่น ข่ายงานวงกว้าง ข่ายงานไร้สาย การออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานธุรกิจ การจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
 
- ชั่วโมงการสอน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- อาจารย์ให้คำปรึกษาเป็นรายคนและรายกลุ่มตามต้องการหรือทาง e-mail โดยไม่จำกัดเวลา ในช่วงเวลาที่อาจารย์ไม่มีภาระการสอนอื่นหรือภาระงานอื่นๆ และสามารถนัดหมายได้ทางโทรศัพท์มือถือ หรือติดต่อทาง e-mail หรือ Facebook
- อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งให้นักศึกษาทราบถึงการให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการเรียน
- มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
- มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบตัวเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
- มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไข ข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
- สามารถวิเคราะห์ผละกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม คุณค่าแห่งวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพ ยกตัวอย่างหรืออภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ การแสดงตนเป็นแบบอย่างที่ดี ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบโดยเน้นการเข้าเรียนตรงเวลาและการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษาแต่งกายและปฏิบัติตนให้เหมาะสม ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ประเมินจากพฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างการเรียนการสอน การให้คะแนนการเข้าห้องเรียนและการส่งงานตรงเวลา การปฏิบัติงานอย่างมีระเบียบและกฎเกณฑ์ ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
- มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบรูณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
- มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อ ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัณหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
- มีความรู้เเละความเข้าใจในสาระสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์กร การปฏิบัติการควบคุมและรายงานผลการดำเนินงาน รวมทั้งปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
บรรยายประกอบสื่อ ทำการทดลองปฏิบัติบนห้องปฏิบัติการ การทดลองและวิเคราะห์ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการค้นคว้าด้วยตนเองหรือรายงาน โดยนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบในการเรียนการสอน เพื่อให้เห็นถึงการนำความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ
สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบปฏิบัติ งานที่มอบหมาย และสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน
- สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถาณการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตัวเอง
- สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
- คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาทางธูรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
การบรรยาย การถามตอบ การทำกิจกรรมในห้องเรียน เช่น แบบฝึกหัด และการแก้ปัญหาขณะลงมือปฏิบัติในห้องเรียน
ประเมินผลจากการสอบปฏิบัติกลางภาคและปลายภาค การมีส่วนร่วมในการถามตอบ
- มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
สอนโดยมอบหมายงานและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่มและงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นผ่านงานกลุ่ม งานเดี่ยว พร้อมทั้งสอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเองและองค์กร และการมีมนุษยสัมพันธ์
ประเมินผลจากกระบวนการทำงาน ความกระตือรือร้น ความรับผิดชอบร่วมกัน รวมทั้งการสังเกตจากบทบาทที่เข้าร่วมกิจกรรม
- สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
- มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 
มอบหมายงานและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้า หาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบ สาธิตการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และการปฏิบัติตามใบฝึกปฏิบัติงาน
 ประเมินจากการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งรูปแบบการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงานที่เป็นรูปเล่ม ความสามารถในการอธิบายหรือการตอบคำถาม
- สามารถปฎิบัติงานโดยยึดแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการ์ณเสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
ผลงานและการปฎิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริงและความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชัพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.6 2.1 2.2 2.6 3.1 3.2 3.3 4.6 5.2 5.4 6.5
1 BBAIS908 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 5.2, 5.4 การนำเสนอรายงานเดี่ยว เรื่องระบบปฏิบัติการเครือข่าย NOS ที่นักศึกษาสนใจ 5 5%
2 1.2, 1.3, 1.4, 1.6, 2.1, 2.3, 3.2, 3.3, 4.6, 5.2, 5.4, 6.5 การทำงานกลุ่มและผลงาน รายงานเรื่อง การออกแบบเครือข่ายไร้สาย Infrastructure ขององค์กรภายนอก 13 5%
3 1.2 , 3.1 , 5.4 เข้าร่วมปฏิบัติการและส่งใบงานตามเวลาที่กำหนด 14-16 20%
4 1.1 , 1.2, 1.3 จิตพิสัย เช็คชื่อเข้าชั้นเรียน 1-17 10%
5 2.1 , 2.2 , 2.3, 3.2, 3.3 วัดผลการสอบกลางภาค ข้อสอบอัตนัยและปรนัย 9 30%
6 2.1 , 2.2 , 2.3, 3.2, 3.3 วัดผลการสอบปลายภาค ข้อสอบอัตนัยและปรนัย 17 30%
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2559 

- เจาะระบบ Network 2nd Edition. จตุชัย แพงจันทร์, อนุโชต วุฒิพรพงษ์. นนทบุรี : ไอดีซี, 2551
- Cisco Networking Academy Program CCNA1.กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า, 2547. 

- Cisco Networking Academy Program CCNA2.กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า, 2547.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 

- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 

- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 

- ข้อเสนอแนะผ่าน Social Network ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
กลยุทธ์การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอนได้กำหนดไว้ดังนี้
- สอบถามความเข้าในระหว่างการเรียนการสอน
- ประเมินจากการสอบถามในระหว่างเรียน
- นำผลการประเมินโดยนักศึกษามาปรับปรุงการสอน
- ประเมินจากการสอบถามในระหว่างเรียน
- ประเมินจากผลการเรียนของนักศึกษา
- ประเมินจากผลจากใบปฏิบัติงาน
หลังจากผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 

- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 

- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 

- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
 
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ 

- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ