คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม

Computer aided Architectural Design

1.1 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์การใช้งานโปรแกรมออกแบบสถาปัตยกรรม 3 มิติ ภาพเสมือนจริง ภาพเคลื่อนไหวและอื่นๆ 1.2 เข้าใจหลักการ วิธีการและสามารถปฏิบัติการใช้โปรแกรมออกแบบสถาปัตยกรรม 3 มิติ ภาพเสมือนจริง ภาพเคลื่อนไหวและอื่นๆ 1.3 มีทักษะการใช้โปรแกรมออกแบบสถาปัตยกรรม 3 มิติ ภาพเสมือนจริง ภาพเคลื่อนไหวและอื่นๆ ตามมาตรฐานงานสถาปัตยกรรมได้อย่างถูกต้อง 1.4 สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมออกแบบสถาปัตยกรรม 3 มิติ ภาพเสมือนจริง ภาพเคลื่อนไหวและอื่นๆ ให้เหมาะสมกับรายวิชาที่เกี่ยวข้อง 1.5 ตระหนักถึงความสำคัญของคุณค่าการประยุกต์ใช้โปรแกรมออกแบบสถาปัตยกรรม 3 มิติ ภาพเสมือนจริง ภาพเคลื่อนไหวและอื่นๆ
2.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา ให้ความตระหนักในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์กับการใช้เทคโนโลยีในเรื่องที่เกี่ยวข้อง 2.2 ความรู้ ให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้โปรแกรม เพื่อเป็นนำโปรแกรมไปปรับใช้กับวิชาที่เกี่ยวข้อง 2.3 ทักษธและปัญญา ฝึกทบทวนปฏิบัติและประยุกต์ใช้งานโปรแกรมเพื่อนำไปใช้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง 2.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ จัดกลุ่มเพื่อการประยุกต์ใช้โปรแกรมในการทำงาน โดยแบ่งงานในความรับผิดชอบเพื่อนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มและสรุปการทำงานภายในกลุ่ม 2.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการาสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงการประยุกต์โปรแกรม ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาหลักการ วิธีการและฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูงในงานสถาปัตยกรรมประเภทงาน 3 มิติ ภาพเสมือนจริง ภาพเคลื่อนไหว และอื่นๆ
    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.1.2 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับงานด้านสถาปัตยกรรม 1.2.2 ปฏิบัติการใช้โปรแกรม 1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
1.3.1  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2  มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3  ประเมินผลจากความรับผิดชอบในปฏิบัติงานการประยุกต์ใช้โปรแกรม ภายในห้องเรียน
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
บรรยาย  ปฏิบัติการใช้โปรแกรม การนำเสนอผลงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาแนวทางและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
2.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค  ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการประยุกต์ใช้โปรแกรม 2.3.2 ประเมินผลงานจากการใช้โปรแกรม
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำงานเพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติการใช้โปรแกรม 3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้งาน
3.3.1 ทดสอบย่อย โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้โปรแกรม 3.3.2 ประเมินผลงานจากการใช้โปรแกรม
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1.2 สามารถทำงานเป็นกลุ่มและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ตัวอย่างการประยุกต์ใช้โปรแกรมในการเรียนการสอน หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม 4.3.2 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง 
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.1.2 สามารถสืบค้น  ศึกษา  วิเคราะห์  และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และนำมาปฏิบัติการใช้โปรแกรม 5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากงานการใช้โปรแกรมและรูปแบบการนำเสนอ 5.3.2 สังเกตทักษะในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42014309 คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม - พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา - มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นามาทารายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม - ประเมินผลจากความรับผิดชอบในปฏิบัติงานการประยุกต์ใช้โปรแกรม ภายในห้องเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ - สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการประยุกต์ใช้โปรแกรม - ประเมินผลงานจากการใช้โปรแกรม 9 , 17 25% 25%
3 ด้านทักษะทางปัญญา - ทดสอบย่อย โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้โปรแกรม - ประเมินผลงานจากการใช้โปรแกรม ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ประเมินจากรายงานที่นาเสนอพฤติกรรมการทางานเป็นกลุ่ม - ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี - ประเมินจากงานการใช้โปรแกรมและรูปแบบการนำเสนอ - สังเกตทักษะในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในชั้นเรียน 16 10%
รศ.ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์. คู่มือโปรแกรม Google SketchUp Pro. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง, 2552. รศ.ดร.บุญทรัพย์ วิชญางกูร, เอกชัย นันทพลชัย. SketchUp 2016. นนทบุรี :
บริษัทไดดีซี พรีเมียร์ จำกัด, 2559
รศ.วิวัฒน์ อุดมปิติทรัพย์. Autodesk Revit Architecture 2012. กรุงเทพมหานคร :
วี อาร์ ดิจิตอล, 2554.
รศ.วิวัฒน์ อุดมปิติทรัพย์. Autodesk Revit Tips & Tricks. กรุงเทพมหานคร :
วี อาร์ ดิจิตอล, 2559.
สุธิพงษ์ สงกรานต์.Learning Sketchup. กรุงเทพมหานคร :
บริษัทบ้านสเกตช์อัพ จำกัด.  http://3deed.com/, 2559
VR Digital Company Limiteddsa. http://www.vr-3d.com/Main/, 2559 https://www.facebook.com/vrdigitalcoltd VR DIGITAL CO.,LTD. REVIT User Group https://www.facebook.com/RevitUserGroup/, 2559
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ