การจำลองทางธุรกิจ

Business Simulation

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ
2. เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจจริง
3. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานธุรกิจ
4. นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจได้
เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการดำเนินทางธุรกิจ รวมไปถึงการวางแผนทางการตลาด การดำเนินธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง และฝึกปฏิบัติการทำงานร่วมกันเป็นทีม และนำรายวิชาที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานธุรกิจ ทั้งในเรื่องของการตลาด การจัดการ การผลิต การเงิน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการติดต่อประสานงาน โดยได้รับแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา
- อาจารย์ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- อาจารย์ประจำวิชา ประกาศให้คำปรึกษาผ่าน Social Network
1.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
1.1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา
1.3.2 การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด การมอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.3 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.2.4 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
2.2.5 ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจิรง
2.2.6 การถามตอบในชั้นเรียน
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
2.3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
2.3.5 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย การนำเสนอหน้าชั้นเรียน รายงาน การค้นคว้า
3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจและการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
3.2.1 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
3.2.2 การศึกษาค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.3 การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา
3.3.1 ประเมินจากการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 ประเมินจากการนำเสนอรายงาน การอภิปรายกรณีศึกษา
3.3.3 ประเมินจากผลทดสอบ โดยออกข้อสอบให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
4.1.2 มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 จัดให้นักศึกษาทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4.2.3 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงานให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.3.1 พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
4.3.2 พฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.3 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจและชีวิตประจำวัน
5.1.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเ?สในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากกรณีศึกษา
5.2.2 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 ผลงานของนักศึกษาจากการงานที่มอบหมายให้ และเลือการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
5.3.2 พฤติกรรมการนำเสนอผลงานและความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสารของนักศึกษา
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจนำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
6.1.2 สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมและมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
6.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริงและนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3.1 ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา ความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3.2 การนำเสนอโดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-On)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA612 การจำลองทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 30% 30%
2 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2, 5.1, 5.2, 5.3 โครงการ / งานที่มอบหมาย / การส่งและการดำเนินธุรกิจตามที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1, 1.2, 1.3 การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและการแสดงความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10%
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ และคณะ. E-Marketing เจาะเทคนิคการตลาดออนไลน์. กรุงเทพ ฯ: ตลาด
ดอท คอม, 2551. 252 หน้า
กุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา. ระบบสารสนเทศทางการตลาด. เชียงใหม่ : ภาควิชาการตลาด คณะ
บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ, 2550.
พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร และกรภัทร สุทธิดารา, อินเทอร์เนตและอินทราเน็ต, กรุงเทพฯ:
ดวงกมลสมัย.
วัชรพงศ์ ยะไวทย์, e-Commerce และกลยุทธ์การทา เงินบนอินเทอร์เน็ต,vกรุงเทพฯ :
ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2543.
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การงานกลุ่มของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
-สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ