แนวคิดเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

Database System Concepts

1. เพื่อให้นักศึกษามีความมรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล สามารถอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างหน่วยเก็บข้อมูล 2. เพื่อให้นักศึกษามีเข้าใจและอธิบายแบบจำลองข้อมูล และระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ 3. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจ และสามารถออกออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์โดยใช้แผนภาพอี-อาร์ 4.เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์โดยวิธีการให้อยู่ในรูปแบบบรรทัดฐาน(Normalization) 5.เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูล ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการดำเนินการทางธุรกิจ 6. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาเอส คิว แอล ในการจัดการจัดเก็บข้อมูล การ การนำข้อมูลมาประมวลผล การเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบงาน และการรักษาความปลอดภัยในฐานข้อมูล
1. เพื่อให้นักศึกษามีฐานความรู้ที่เป็นรูปธรรมในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ในสาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ในวิชานี้เพื่อใช้ประกอบอาชีพได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลและองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประมวลผลแฟ้มข้อมูล สถาปัตยกรรมข้อมูล สารสนเทศ และฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูลด้วยแบบจำลองข้อมูลเชิงแนวคิด แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ด้วยอีอาร์โมเดล แบบจำลองข้อมูลเชิงตรรกะ การแปลงโครงสร้างเชิงแนวคิดไปเป็นโครงสร้างเชิงสัมพันธ์ การนอร์มัลไลเซชัน และบอยส์-คอดนอร์มัลไลเซชัน แบบจำลองข้อมูลเชิงกายภาพ ภาษาเอสคิวแอล พีชคณิตสัมพันธ์ ฐานข้อมูลแบบกระจาย และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจอัจฉริยะ คลังข้อมูล และเหมืองข้อมูล
- อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
Accountability  ความรับผิดชอบ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะคุณธรรมจริยธรรม (แสดงความรับผิดชอบหลัก  แสดงความรับผิดชอบรอง ***)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับ มาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ด้านคุณธรรมจริยธรรม   1.  มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (1) 2.  มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม (2) 3.  มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม (5)   4.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ (3)   5.  มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (4) และ (7)   6.  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม (6)

 
1.  สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา 2.  ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 3.  กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น 4.  สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน 5.  อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม 3. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน 4. ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์ 5. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 6. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
Ability ความรู้ความสามารถ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจ) •    บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน Accountability ความรับผิดชอบ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ) •    บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรมผลการเรียนรู้ด้านความรู้ 
 
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (แสดงความรับผิดชอบหลัก  แสดงความรับผิดชอบรอง ***)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับ มาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ด้านความรู้   1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง (1) และ (8) 2.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน (2)   3.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ -   4.  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน -   5.  สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด (3) 6.  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ (4)   7.  รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง (5)   8. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง (6)   9.  มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง (7)

 
1.  จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ 2.  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3.  จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง 4.  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป 5.  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง 6.  การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.  รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ 3.  ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง 4.  ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ 5.  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา 6.  ประเมินจากการนำเสนอผลงาน 7.  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
Brilliance ความเฉลียวฉลาด  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ) •    บัณฑิตมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (แสดงความรับผิดชอบหลัก  แสดงความรับผิดชอบรอง ***)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับ มาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ด้านทักษะทางปัญญา   1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ                    จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง (2)   2.  สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ - 3.  คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป (1)   4.  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ (3)   5.  สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม (4)

 
1. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  จากกรณีศึกษา 2. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม 3. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน  4. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 5. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา  2. ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา 3. ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา 4. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
Learning  การเรียนรู้  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ) •    บัณฑิตมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (*** ลำดับข้อตาม Curriculum Mapping -- แสดงความรับผิดชอบหลัก  แสดงความรับผิดชอบรอง***)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับ มาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ   1.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ -   2.  มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม (3)   3.  มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือ ในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน (2)   4.  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (6)   5.  สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1) 6.  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม (4)   7.  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม (5)

 
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง 2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป 4. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 2. การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา  3. พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี 4. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
Ability ความรู้ความสามารถ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ) •    บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (*** ลำดับข้อตาม Curriculum Mapping -- แสดงความรับผิดชอบหลัก  แสดงความรับผิดชอบรอง ***)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับ มาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   1.  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน - 2.  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ (3)   3.  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ - 4.  มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (1)   5.  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ (2)   6.  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4)

 
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง 2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา 3. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.  ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม 2.  พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
(ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552) บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
ผลการเรียนรู้ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับ มาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์ ด้านทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)          1.  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม -   2.  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง -   3.  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต -   4.  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล -   5.  สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย -

 
ไม่ประเมินผลการเรียนรู้ในทักษะนี้
ไม่ประเมินผลการเรียนรู้ในทักษะนี้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBAIS910 แนวคิดเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม
- ทักษะด้านความรู้
- ทักษะทางปัญญา
- ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สอบเก็บคะแนนกลางภาคและปลายภาค 9 และ 17 60%
2 - ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม
- ทักษะทางปัญญา
- ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- นำเสนองานกลุ่ม
- ใบงานรายบุคคล
16
ตลอดภาคเรียน
30%
3 - ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม - การเข้าชั้นเรียน
- การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
ตลอดภาคเรียน
10%
1. พนิดา พาณิชกุล และ ณัฐพงษ์ วารีประเสริฐ. (2552). การออกแบบ พัฒนา และดูและรบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์. 2. สมจิตร อาจอินทร์ และงามนิจ  อาจอินทร์. (2521). ระบบฐานข้อมูล. ขอนแก่นการพิมพ์ : ขอนแก่น. 3. อัจฉรา  ธารอุไรกุล และคนอื่น ๆ. (2541). ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น. บริษัทเนติกุลการพิมพ์ : กรุงเทพฯ. 4. โอภาส  เอี่ยมสิริวงศ์. (2546). การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล. ซีเอ็ดยูเคชั่น : กรุงเทพฯ. 5. Coronel C. and Morris S. (2016). Database Systems: Design, Implementation, & Management (12th Edition). USA: Cengage Learning. 6. Date C.J. (2004). An Introduction to Database Systems (8th Edition). USA: Caroline Fell. 7. Elmasri R. and Navathe S.B. (2017). Fundamentals of Database Systems (Global Edition). Malaysia: iEnergizer Aptara, Ltd. 8. Hoffer J., Venkataraman R. and Topi H. (2016). Modern Database Mangement (Global Edition). Malaysia: Integra Software Solutions Pvt., Ltd. 9. Kifer M., Bernstein A., and Lewis P.M. (2006). Database Systems: An Application-Oriented Approach (2nd Edition). USA: Hamilton Printing. 10. Korth, Henry F. , Silberschatz Abraham . Database System Concepts. 2nd Edition. McGraw-Hill2 International Edition. 11. Turban E., Aronson J.E., Liang T., and Sharda R. (2007). Decision Support and Business Intelligence Systems (8th Edition). USA: Hamilton Printing.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ