การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี

Business Finance for Accountant

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน การวิเคราะห์ การพยากรณ์และการวางแผนทางการเงิน การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน เครื่องมือทางการเงินที่นำมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนและวิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุน นโยบายเงินปันผลเนื้อหาวิชาจะเป็นความรู้สาขาวิชาทางการเงินขั้นพื้นฐานที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานทางการเงินเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ศึกษาเป็นพื้นฐานทางด้านการบริหารการเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถจัดหาและจัดสรรทรัพยากร ให้เกิดมูลค่าสูงสุดต่อธุรกิจ ให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการบริหารการเงินที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาความหมายของการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่างๆ เทคนิคในการวิเคราะห์การพยากรณ์และการควบคุมทางการเงิน การจัดการทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน วิธีการจัดหาเงินทุน ของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุนนโยบายเงินปันผล
 
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ /อีเมล์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
1.1.1 มีความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ
1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้อย่างดี
1.1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคมได้
มีจิตสำนึก คุณธรรม และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน

การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
13.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงาน
ทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1. มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี
2. มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี
โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
3. มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการเงินธุรกิจสำหรับนักการบัญชีและอื่นๆ
1. ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ
ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยาย และอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2.การถาม-ตอบ ปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
4. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยทำกรณีศึกษาหรือ การศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจ
1. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ

2. การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติ
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูลและแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำกรณีศึกษาหรือวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถวิเคราะห์การควบคุมทางการเงิน การจัดการทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน ต้นทุนของเงินทุน โครงสร้างและผลตอบแทนทางการเงิน รวมทั้งนโยบายเงินปันผลได้
3.1.2 บรรยาย และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้นโดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.2.2 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์กรณีศึกษาได้รับมอบหมาย
3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของเนื้อหาในรายวิชา
3.3.3 ประเมินจากรายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียนรวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ
วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการ
แก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีได้อย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายการทำงานที่เกี่ยวกับความรู้ทางการเงินสำหรับนักบัญชี แบบกลุ่มย่อยโดยมีการ สลับกันเป็นผู้นำกลุ่ม สมาชิกกลุ่มและผู้รายงาน
4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจาก กรณีศึกษาต่างๆ
4.3.1 ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยสังเกตพฤติกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
4.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงานจากงานกลุ่มของนักศึกษา
5.1.1 สามารถนำวิธีวิเคราะห์เชิงตัวเลข ประยุกต์ในกรณีศึกษาทางบัญชี และเสนอวิธีการแก้ไข
จากกรณีศึกษาและแบบฝึกหัดได้
5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน
5.2.1 บรรยาย และให้แสดงความคิดเห็น การทำงานกลุ่มโดยศึกษาค้นคว้าจากฐานข้อมูลออนไลน์และสถานประกอบการจริงได้
5.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แล้ววิเคราะห์พร้อมนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอ
ผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5.3.2 ประเมินจากการสอบข้อเขียน สอบย่อย สอบกลางภาคและ สอบปลายภาค
5.3.3 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงาน
เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู็ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC122 การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 13 16 10% 30% 10% 30%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนองานรายงาน การทำงานกลุ่ม การอ่านและสรุปบทความทางการเงิน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
ยพรัตน์ อิ่มพิทักษ์. (2562). เอกสารประกอบการสอนวิชาการเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก.
สรินยา สุภันทรานนท์. (2562). เอกสารประกอบการสอนวิชาการเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก.
กมลวรรณ พิมพ์แพทย์.(2554). การเงินธุรกิจ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.
สุพาดา สิริกุตตา และคณะ.(2552). การเงินธุรกิจ. บริษัทธรรมสาร จำกัด. กรุงเทพฯ.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น www.set.or.th , www.bot.or.th เป็นต้น
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
        ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ