ปฏิบัติการพันธุศาสตร์ทั่วไป

General Genetics Laboratory

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (ให้ถอดจาก วัตถุประสงค์หลักสูตร มคอ. 2)
1.1 เข้าใจการแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
1.2 สามารถอธิบาย การผสมที่พิจารณาลักษณะเดียวและสองลักษณะในสิ่งมีชีวิต
1.3 เข้าใจหลักความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาพันธุศาสตร์
1.4 ทราบวิธีการศึกษาหมู่เลือด และยีนที่คุบคุมลักษณะหมู่เลือดในมนุษย์
1.5 ทราบวิธีการศึกษาคาริโอไทป์ของพืชและสัตว์
1.6 สามารถอธิบาย ถึงการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
เพื่อให้สอดคลองกับวิชา 22036301 พันธุศาสตร์ทั่วไป ทำให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการ ที่จะส่งเสริมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถประยุกต์ใช้เพื่องานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องได้
ปฏิบัติการเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ ความน่าจะเป็น พันธุศาสตร์ของเมนเดล พันธุศาสตร์นอกเหนือกฎเมนเด พันธุกรรมที่ควบคุมด้วยยีนหลายคู่ พันธุศาสตร์ประชากร ยีนที่ไม่เป็นอิสระต่อกกันของสารพันธุกรรม
Laboratory experiments on cell division, Probability, Mendelian inheritance, Non-Mendelian genetics, Quantitative,Population genetics, genetic recombiantion
3.1 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 - 16.00 น. ห้อง ป. 25 โทร 055-298438 ถ้าหากมาแล้วไม่พบสามารถนัดเวลาในการขอคำปรึกษาหรือแนะนำได้
3.2 e-mail; genetics58@hotmail.com เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย
อาจารย์ประพฤติตนเป็นแบบอย่าง เน้นให้นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา เน้นให้นักศึกษาเข้าสิทธิของต้นเองและผู้อื่น สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในระหว่างการสอนเช่น การไม่ทุจริต การให้เกียรติแก่ผู้อื่น
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ ของวิชาพันธุศาสตร์
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การศึกษาโดยใช้ปัญหา และงานวิจัย และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบุรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
ฝึกให้คิดและหาคำตอบโดยใช้พื้นฐานทางความรู้ของทฤษฎีที่เรียนมา

มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.2.1 การสอนแบบบรรยาย
3.2.3 การเรียบแบบแก้ปัญหา (Problem-sloving)
3.2.4 การสอนแบบการศึกษาเป็นรายบุคคล (individual study)
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพันธุศาสตร์
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
 
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาคเรียน สอบปลายภาคเรียน 8 16 20% 20%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 คะแนนกิจกรรม รายงานผลการทดลอง ทุกสัปดาห์ 20%
3 1.1 – 1.7, 3. การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
1.1 ประดิษฐ์ พงศ์ทองคำ. 2541. พันธุศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
1.2 ไพศาล เหล่าสุวรรณ. 2553. พันธุศาสตร์. ไทยวัฒนาพานิช จำกัด กรุงเทพฯ
1.3 วิสุทธิ์ ใบไม้. 2536. พันธุศาสตร์. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ