การพัฒนาหลักสูตร

Curriculum Development

เพื่อให้นักศึกษา
         1. รู้ความสำคัญและองค์ประกอบของหลักสูตร   
        2. เข้าใจการประเมินและพัฒนาหลักสูตร
        3. เห็นความสำคัญของการจัดทำและการนำหลักสูตรไปใช้
        4. มีสมรรถนะในการวิเคราะห์และจัดทำหลักสูตร
        5. มีสมรรถนะในการประเมินหลักสูตรและนำผลการประเมินไปพัฒนา
            หลักสูตร
        6. มีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู
วิชานี้เป็นวิชาในหลักสูตรที่ทำการปรับปรุงใหม่ทั้งเล่มของปีการศึกษา 2560 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน เข้าใจในเรื่องหลักสูตรและการพัฒนา ตลอดจนบริบทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์และช่างอุตสาหกรรม
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการ  แนวคิดทฤษฎีหลักสูตร บริบทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา กระบวนการพัฒนาหลักสูตร  การออกแบบและจัดทำหลักสูตรรายวิชาชีพในสาขาวิชาเอกตามกลุ่มหลักสูตรที่นักศึกษาสังกัด การนำหลักสูตรไปใช้  การประเมินหลักสูตร การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร  สภาพและปัญหาของหลักสูตรด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา  แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม  อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้ 
(1) แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครูที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
(2) สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู
(3) แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมและเป็นแบบอย่างที่ดี
(4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(1) กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อมและเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย 
(2) กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(3) สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
(4) จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี   การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
(1) ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
(2) ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
(3) ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น 
(4) ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูและการมีจิตสำนึกสาธารณะ
1) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
            นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาวิศวศึกษาตามเอกวิชา คือ วิศวกรรมไฟฟ้าหรือวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมหรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้
            สาระความรู้
1. หลักการ ความสำคัญและองค์ประกอบและทฤษฎีของหลักสูตร
2. หลักการและแนวคิดการจัดทำหลักสูตรรายวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์
3. การนำหลักสูตรไปใช้
4. การประเมินผลหลักสูตร
5. แนวโน้มและปัญหาด้านหลักสูตรอาชีวะและเทคนิคศึกษา 
6. บูรณาการ การจัดทำหลักสูตรกับหลักและวิธีการสอน (Bloom’s Taxonomy)
7. ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ
            สมรรถนะ

การวิเคราะห์และการจัดทำหลักสูตรรายวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ การประเมินหลักสูตร การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร

ซึ่งสาระความรู้และสมรรถนะที่กล่าวมาประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม  ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
(1) มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครูและวิชาชีพเฉพาะอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
(2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
(3) สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
(1) เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง โดยสอนแบบรรยาย  มอบหมายงานส่วนบุคคลและงานกลุ่ม จัดทำหลักสูตรรายวิชาเป็นรายบุคคล
(2) ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการรวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ โดยมอบหมายให้ค้นคว้าหลักสูตรสาขาวิชาระดับปวช.และปวส.
(3) ส่งเสริมและชี้แนะการบูรณาการนำความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการฝึกงานในสถานประกอบการ และปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู นำความรู้ในวิชาชีพมาจัดทำหลักสูตรรายวิชา
(1) ประเมินผลตลอดภาคเรียน
(2) ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
 
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุมดังนี้

มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มี ความสลับ

ซับซ้อนในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
(2)  มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
(1) ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ  
(2) ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัยและสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
(1) ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(2) ประเมินผลจากการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
(3) ประเมินผลจากการอภิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ 
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน การมี ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
(1) แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
(2) แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
(3) สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 
(4) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
(1) ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(2) ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
(3) กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
 
(1) ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(2) ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
(3) ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
 
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง  ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
(1) มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
(2)  สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
(3)  สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
(2) วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
(3) นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
(2) ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
(3) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
(4) จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล  
การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริง  ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างทักษะการปฏิบัติงานและ
การจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
(1) แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
(2) แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
(1) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
 
(1) ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน
(2) ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC806 การพัฒนาหลักสูตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1-2.3, 3.2, 5.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 25% 30%
2 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3, 6.1-6.2 -การทำงานกลุ่ม ค้นคว้าและการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรการอาชีวศึกษา การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา -การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.2,1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3, 6.1-6.2 การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 5%
4 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3, 6.1-6.2 ผลงานการทำหลักสูตรรายวิชา 20%
5 1.3 การเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน การแต่งกายและการทำผิดวินัย 10%
1. ใจทิพย์  เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
            มหาวิทยาลัย.
2. ธำรง  บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ : พัฒนศึกษา.
3. ธำรง  บัวศรี.  ศาสตราจารย์ ดร.(2542).  ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา.  กรุงเทพฯ: พัฒนา     ศึกษา.
4. บุญชม  ศรีสะอาด. พัฒนาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒม 2528.
5. วิชัย  วงษ์ใหญ่, รศ.ดร.(2525). พัฒนาหลักสูตร และการสอน-มิติใหม่. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
5. วีระพรรณ  จันทร์เหลือง. (2548). เอกสารประกอบการสอนประกอบการสอนวิชาหลักสูตรและการ
            พัฒนารายวิชาช่างเทคนิค : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตาก.
6. สงัด  อุทรานันท์. (2538). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. สงัด  อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. สันต์  ธรรมบำรุง. (2527). พื้นฐานและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : วงเดือน.
9. สันต์  ธรรมบำรุง. (2527). หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศาสนา.
10. สุมิตร  คุณานุกร. (2520). หลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชวนชม.
11. Beauchamp, George A. (1975). A curriculum Theory. 3rd Illinois : The Kagg Press
12. Beauchamp, George A. (1968). The Curriculum of Elementary School.  Boston : Allyn and
            Bacon Inc.
13. Beauchamp, G. (1975). Developing The Curriculum. New York : Harper Collins.
14. Cronbach Lee J.. (1970). Essential of Psychological Testing. 3rd ed. New York : Harper Row.
15. Saylor, J.G. & Alexander. W.M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York : Holt
            Rinehart & Winston.
16. Stufflebeam, Danniel L. (1985). “Education Evaluation and Decision Making” Education 
            Evaluation : Theory and Practice. California : Wadsworth Publishing.
17. Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcouit
            Brace & World, Inc.
18. Tanner, D. & L.N.Tanner. (1980). Curriculum development : theory into practice. New York
            : macmillan.
19. Tyler, R.W.(1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago : University of
            Chicago  Press.
ให้นศ.ทำการค้นหารูปภาพใน google สำหรับ

Vocational and technical  Curriculum Development Model Trends for curriculum development 2030 STEM for Vocational and technical Education CDIO , Framework in 21 century

Vocational and Technical Competency Development
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

แบบประเมินผู้สอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   รูปแบบการนำเสนองาน  นำเสนอสรุปสาระสำคัญด้วยปากเปล่าเป็นรายบุคคล
3.2   รูปแบบการนำเสนองาน  นำเสนอสรุปสาระสำคัญด้วยวิดีทัศน์เป็นกลุ่ม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชาจะจัดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา โดยการสอบถามนักศึกษาหรือการตรวจผลงานของนักศึกษา พิจารณาจากผลการสอบกลางภาคและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา การทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2   มีการแลกเปลี่ยนตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงหัวข้องานที่มอบหมายและวิธีการสอน สื่อประกอบการสอนภาคการศึกษาที่ทำการสอน ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างนศ.