การบัญชีชั้นสูง 1

Advanced Accounting 1

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การบัญชีสำนักงานใหญ่ สาขา และตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง การจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์ และการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ กิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร 
1.  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ความเข้าใจไปปรับประยุกต์ในการประกอบอาชีพและในชีวิตประจำวันได้
2.  เพื่อมีความรู้เกี่ยวกับความหมาย ลักษณะ หลักการ วิธีการบันทึกบัญชีและการจัดทำงบการเงินเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจร่วมค้าฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ ธุรกิจให้เช่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสัญญาก่อสร้างได้อย่างถูกต้อง
3.  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบันทึกบัญชีของสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศพร้อมแสดงการรายงานเกี่ยวกับรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงินได้อย่างถูกต้อง
4.  สามารถอธิบายหลักการพร้อมบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสัญญาการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์โดยตรงให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 เรื่อง สัญญาก่อสร้างในการรับรู้รายได้และมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 เรื่อง รายได้
5.  สามารถเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและเข้าใจหลักการพร้อมทำการแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การบัญชีสำนักงานใหญ่ สาขา และตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง การจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์ และการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ กิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ห้องพักอาจารย์ ตึก BLA ชั้น 4 ห้องหลักสูตร
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.2.1   สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น การรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างและต้นทุนค่าก่อสร้าง ซึ่งแนวทางของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง กำหนดให้ปฏิบัติดังนี้ คือ เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างและต้นทุนการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้างเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายตามลำดับโดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากงานก่อสร้างตามสัญญาเป็นค่าใช้จ่ายทันทีตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 36 หรือการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายโดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้างตามสัญญาเรียกว่าวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ วิธีนี้เป็นการจับคู่รายได้ค่าก่อสร้างกับต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้นตามขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ซึ่งทำให้การรายงานเกี่ยวกับรายได้ค่าใช้จ่ายและกำไร มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ ดังนั้น วิธีนี้จึงให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในขอบเขต ของกิจกรรมตามสัญญาก่อสร้างและผลงานที่ได้ทำในระหว่างงวดเป็นต้น
1.2.2  ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และความซื่อสัตย์ในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1   ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2   ประเมินจากการส่งงานหรือแบบฝึกหัดทันตามเวลาที่กำหนด
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการร่วมค้า การฝากขาย และการขายผ่อนชำระ
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสำนักงานใหญ่ สาขา และตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ
2.1.3  มีความรู้และความเข้าใจในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ รวมถึงการแปลงค่างบ การเงิน
2.1.4  มีความรู้และความเข้าใจในสัญญาเช่า สัญญาอสังหาริมทรัพย์และสัญญาก่อสร้าง
2.1.5  มีความรู้และความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด
2.1.6 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.2.1  การบรรยายและฝึกปฎิบัติ ทำแบบฝึกหัด
2.2.2  การถาม – ตอบปัญหาในห้องเรียน
2.2.3  มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล เช่น งบการเงินระหว่างกาล เป็นต้น แล้วนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.4 สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงานและการทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
2.3.2 การประเมินจากการสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
2.3.3 การประเมินผลการเรียนรู้จากการตรวจแบบฝึกหัด
3.1.1 สามารถพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบได้ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและพร้อมนำความรู้ที่ได้รับไปปรับประยุกต์ใช้ในการทำแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษาต่าง ๆ
3.2.1  บรรยาย การฝึกปฏิบัติ การยกตัวอย่าง พร้อมการถาม – ตอบในชั้นเรียน
3.2.2  ฝึกการคิด ฝึกการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัก หรือกรณีศึกษาต่าง ๆ
3.2.3  การมอบหมายงานตามใบงานที่กำหนดขึ้น
3.2.4  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานกลุ่มหรืองานเดี่ยว
3.3.1  การบรรยายและฝึกปฎิบัติ ทำแบบฝึกหัด
3.3.2  การถาม – ตอบปัญหาในห้องเรียน
3.3.3  สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.1.3  มีภาวะผู้นำและการสร้างความสามัคคีในกลุ่ม
4.1.4  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกันและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนได้
4.2.1  มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดเป็นรายบุคคล
4.2.2  มอบหมายให้ทำกรณีศึกษาเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 – 5 คน เช่น การวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาตัวอย่าง สัญญาก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์รูปแบบวิธีการรับรู้รายได้และต้นทุนการก่อสร้างและการบันทึกบัญชี เป็นต้น
4.3.1  ประเมินจากแบบฝึกหัด
4.3.2  ประเมินจากการนำเสนอกรณีศึกษาของแต่ละกลุ่ม
5.1.1 สามารถรายงานผลการจัดทำงบการเงินของบริษัท เพื่ออธิบายถึงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทได้พร้อมงบการเงินระหว่างกาล
5.1.2  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังหรือผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน
5.1.3  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.1.4  สามารถนำความรู้และความเข้าใจทางธุรกิจไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
5.2.1  มอบหมายงานให้ค้นคว้าด้วยตนเองจาก web site สื่อการสอน E-learning เป็นต้น
5.2.2  การนำเสนอและยกตัวอย่างโดยใช้ Power point
5.3.1   ประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
5.3.2   การตรวจรูปเล่มรายงาน
- ไม่มี -
- ไม่มี -
- ไม่มี -
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความคิดสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 3 1 2
1 BACAC130 การบัญชีชั้นสูง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 3,4 10%
2 บทที่ 2, 3, 4 สอบกลางภาค 8 25%
3 บทที่ 5, 6, 7 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 11 , 15 20%
4 บทที่ 9, 10 สอบปลายภาค 17 25%
5 บทที่ 1 - 10 - การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน - การส่งแบบฝึกหัด การทำโจทย์ปัญหา - และการถาม – ตอบ ทุกสัปดาห์ 20%
- รุจาภา  สุกใส .เอกสารประกอบการสอน การบัญชีชั้นสูง 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก , 2562. 
- ผศ.สุรชัย เอมอักษร. การบัญชีชั้นสูง 1. กรุงเทพฯ  : ทริปเพิ้ล  กรุ๊ป, 2558.
- เสนีย์ พวงยาณีและคณะ.การบัญชีขั้นต้น 2. กรุงเทพฯ  : ทริปเพิ้ล  กรุ๊ป, 2558.
- สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2561) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด. กรุงเทพฯ : ธันวาคม, 2561.
               - สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2561) สัญญาก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : กันยายน, 2561.
               - สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2561) สัญญาเช่า. กรุงเทพฯ : กันยายน, 2561.
       - สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2561) รายได้. กรุงเทพฯ : กันยายน, 2561.
       - สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2561) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : กันยายน, 2561.
                - สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2561) งบการเงินระหว่างกาล. กรุงเทพฯ : กันยายน, 2561.
                - สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 15 (ปรับปรุง 2561) สัญญาเช่า ดำเนินงาน- สิ่งจูงใจที่ให้แก่ผู้เช่า. กรุงเทพฯ : กันยายน, 2561.
 - สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.การตีความมาตรฐานการรายงงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 (ปรับปรุง 2561) การประเมินว่าข้อตกลงประกอบด้วยสัญญาเช่าหรือไม่. กรุงเทพฯ : กันยายน, 2561.
-  Power Point Slide ประจำบทเรียน
-  www.Fab.or.th เว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี
-  www.nukbunchee.com เว็บไซด์นักบัญชีดอทคอม
-  www.set.or.th เว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1   การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ทุกภาคการศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  ผลการสอบทั้งกลางภาคและปลายภาคเรียนของนักศึกษา
2.2  การทบทวนผลการประเมิน เช่น การทดสอบย่อย
2.3  จากการตรวจแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1  ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา
3.2  ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา การทำกรณีศึกษา
            4.1  ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
            4.2  ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนของสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้นำไปใช้ในการเรียน การทำแบบฝึกหัดหรือในการประกอบอาชีพต่อไป
5.3 ปรับเปลี่ยนตารางสอน เพิ่มการสอนเสริม ตามที่นักศึกษาต้องการ