การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุขั้นสูง

Advance Object Oriented Programming

1. ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาโปรแกรมโดยใช้หลักการและแนวคิดเชิงวัตถุ 2. พัฒนาโปรแกรมโดยอาศัยหลักพื้นฐานของการออกแบบเชิงวัตถุ ได้แก่ การกำหนดคลาสและชนิดข้อมูล 3. เข้าใจการถ่ายทอดคุณลักษณะของคลาส 4. เข้าใจการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล 5. เข้าใจกรรมวิธีโพลีมอร์ฟิซึ่ม โอเวอร์โหลดดิงส์และโอเวอร์ไรดิงส์ 6. พัฒนาโปรแกรมเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล 7. เข้าใจวิธีกำหนดข้อมูลในรูปแบบต่างๆ การใช้คำสั่งต่างๆ 8. สร้างส่วนปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้และการใช้คําสั่งเกี่ยวกับการป้อนข้อมูลเข้าและการแสดงผลลัพธ์ข้อมูล 9. เข้าใจรูปแบบการเขียนโปรแกรมเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์โดยเน้นฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาโปรแกรมโดยใช้หลักการและแนวคิดเชิงวัตถุ พัฒนาโปรแกรมโดยอาศัยหลักพื้นฐานของการออกแบบเชิงวัตถุ ได้แก่ การกำหนดคลาสและชนิดข้อมูล การถ่ายทอดคุณลักษณะของคลาส การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล กรรมวิธีโพลีมอร์ฟิซึ่ม โอเวอร์โหลดดิงส์และโอเวอร์ไรดิงส์ การเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล วิธีกำหนดข้อมูลในรูปแบบต่างๆ การใช้คำสั่งต่างๆ การสร้างส่วนปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้และการใช้คําสั่งเกี่ยวกับการป้อนข้อมูลเข้าและการแสดงผลลัพธ์ข้อมูล รูปแบบการเขียนโปรแกรมเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์โดยเน้นฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
1
2.  มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม 
ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 6. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
1.  จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ 2.  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง 3.  การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน (ทฤษฎีและปฏิบัติ) 2. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงานการทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป 4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
1. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา (งานที่ได้รับมอบหมาย) 2. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผน การทำงานเป็นทีม 3. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน  4. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 5. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา  2. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา 3. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
6. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
1. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 2. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
4. มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มีเนื้อหาของเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุที่ทันสมัย
การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 6. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ 1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป 4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 6. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4. มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1 BBAIS212 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุขั้นสูง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 เชคชื่อ ตรวจเครื่องแต่งกาย ทุกสัปดาห์ 10
2 2.1, 2.2, 3.1, 3.3, 3.4, 5.4 สอบทฤษฎี ครั้งที่ 1 8 15
3 2.1, 2.2, 3.1, 3.3, 3.4, 5.4 สอบปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 8 15
4 2.1, 2.2, 3.1, 3.3, 3.4, 5.4 สอบทฤษฎี ครั้งที่ 2 15 15
5 2.1, 2.2, 3.1, 3.3, 3.4, 5.4 สอบปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 15 15
6 4.6 งานที่ได้รับมอบหมาย (ทฤษฏี, ปฏิบัติ) ทุกสัปดาห์ 30
เว็บไซต์ E-Learning ของมหาวิทยาลัย
ธีรวัฒน์ ประกอบผล. 2556. คู่มือการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุภาษา JAVA OOP ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : รีไวว่า. รังสิต ศิริรังษี. 2556. แนวคิดเชิงวัตถุด้วยจาวา. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วรเศรษฐ สุวรรณิก และ ทศพล ธนะทิพานนท์. 2549. เขียนโปรแกรม Java เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. สุดา เธียรมนตรี. 2555. คู่มือเรียนเขียนโปรแกรมภาษา Java ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์.
Bootstrap, https://getbootstrap.com/
Java OOP, https://docs.oracle.com/javase/tutorial/java/concepts/index.html
Angular, https://angular.io/
CodeIgniter, https://codeigniter.com/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 3. ข้อเสนอแนะผ่านระบบสังคมออนไลน์ (Social Network)  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 1. แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุง ดังนี้ 1. ปรับหัวข้อ และ ระยะเวลาในการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน 2. ปรับปุรงเนื้อหา ให้เหมาะสมกับ การเรียนการสอน  
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ มีการตั้งคณะกรรมการในหลักสูตร ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยใช้แบบสอบถามประเมินผลการเรียนรู้ และ/หรือตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ