ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ

English for International Business

เพื่อให้นักศึกษามีการพัฒนาความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษที่ใช้ในด้านธุรกิจระหว่างประเทศและการค้าขายเชิงพาณิชย์โดยเน้นการพูดและการเขียนพร้อมทั้งเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในด้านการพูดคุยทางโทรศัพท์ การสัมภาษณ์งาน การประชุมของบริษัทและการตกลงด้านการซื้อขายทางธุรกิจด้วย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการฟังและพูดภาษาอังกฤษ เน้นการสื่อสารภาษาอังกฤษตามสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในธุรกิจระหว่างประเทศ โดยใช้ภาษาที่สละสลวย เหมาะสมกับบริบท
การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ การเจรจาต่อรอง การนำเข้า-ส่งออก และวัฒนธรรมของคู่ค้า
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.2.2 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1 การเข้าเรียนตรงเวลา
1.3.2 การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจ ทั้งความรู้ด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา
2.1.1 ในทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ วัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้พูดและผู้ฟัง
2.1.2 ในทางปฏิบัติ เน้นความสามารถในใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการแสดงบทบาทสมมติตามสถานการณ์ด้านการติดต่อเจรจาทางธุรกิจ และรูปแบบของจดหมายธุรกิจ และเอกสารทางธุรกิจ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชั้นเรียน
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการจัดระบบความคิด การเขียนข้อความระดับประโยคและย่อหน้า
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
๒.๓.๒ การค้นคว้าข้อมูลจากสื่ออนไลน์ หนังสือและเอกสารต่างๆมานำเสนองาน หรือแสดงบทบาทสมมติหน้าชั้นเรียน
๒.๓.๓ การทำแบบฝึกหัดและกิจกรรมที่มอบหมายในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะด้านการนำความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจระหว่างประเทศและเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในด้านการพูดและการเขียนเชิงธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างคล่องแคล่ว
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 ให้นักศึกษาฝึกจัดระบบความคิดและการสร้างบทสนทนาในสถานการณ์ทางธุรกิจทั้งเป็นรายบุคคล รายคู่และเป็นกลุ่มย่อย
3.2.2 ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อแสดงความคิดเห็นตามสถานการณ์เฉพาะที่กำหนด จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม โดยการช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการอ่านเอกสารทางธุรกิจ  มีการฝึกฟังการสนทนาภาษาอังกฤษ และแสดงบทบาทสมมติในการสนทนาในสถานการณ์ทางธุรกิจ
4.3.1 ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
4.3.2 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
 
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจารณ์อย่างเหมาะสม
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในสื่อ on-line
ดูจากผลการศึกษาจากเว็บไซต์ที่มอบหมาย ความรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนหลังการศึกษาค้นคว้า และการฝึกฝนด้วยตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 13031047 ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3.1 การเข้าเรียนตรงเวลา 1.3.2 การส่งงานตามเวลาที่กำหนด 1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน เชคชื่อเข้าชั้นเรียน ตรวจการส่งงานที่มอบหมาย การสังเกตการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ทุกสัปดาห์ 20%
2 2.1.1 ในทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเนนิ้อหา 2.1.2 ในทางปฏิบัติ เน้นความสามารถในการฟัง การพูด 2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค 2.3.2 การฝึกปฏิบัติ สอบย่อยสัปดาห์ที่8,15/ สอบกลางภาคสัปดาห์ที่ 9/ สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 การฝึกปฏิบัติ -ทุกสัปดาห์ยกเว้นสัปดาห์ที่ 1, 9 และ 17 สอบย่อย10% สอบกลางภาค 25% สอบปลายภาค 25 %
3 3.3.3 งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม 4.3.2 ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม สัปดาห์ที่ 16 20%
Nimnual, W. (2010). Business Correspondence (2nd ed.). Bangkok: Triple Education Co.,Ltd.
Rajatanun, K. (2005). Communicative Business English (7th ed.). Bangkok: Thammasat University Press.
Sweebey, S. (2003). Enlgish for Business Communication, Student's Book (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Sweebey, S. (2004). Communicating in Business, Teacher's Book (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
-
http://www.economicsdiscussion.net/business/importance-of-international-business/13945 http://www.inurture.co.in/the-importance-of-english-language-in-international-business/ http://info.wsj.com/college/glossary/intlbusiness.pdf https://prezi.com/c5ybfyr98cd1/vocabulary-of-international-business/ https://www.vocabulary.com/lists/24739
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
3.1 อาจารย์ผู้สอนปรับปรุงเนื้อหา ที่สอน ปรับปรุงวิธีสอน
3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 4
5..2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์