การออกแบบอุปกรณ์นำเจาะและจับงาน

Jig and Fixture Design

เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน หลักการ เงื่อนไขและกฎเกณฑ์
ต่างๆในการออกแบบอุปกรณ์นำเจาะและจับยึดชิ้นงาน พร้อมทั้งฝึกทักษะในการปฏิบัติการออกแบบให้มีความเชี่ยวชาญเพื่อนักศึกษาจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกร
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานในด้านการออกแบบอุปกรณ์นำเจาะและจับยึดชิ้นงาน
ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานของวิศวกร ทางอาจารย์ผู้สอนจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทุกหัวข้อของรายวิชาและเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาล่วงหน้าและทางผู้สอนเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันต่อเทคโนโลยีของโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบบซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการออกแบบเครื่องมือ หลักการกำหนดตำแหน่งและรองรับ
ชิ้นงาน หลักการจับยึดชิ้นงาน และการคำนวณแรง การออกแบบอุปกรณ์นำเจาะและจับงาน การเลือกใช้วัสดุทำอุปกรณ์นำเจาะและจับงาน การใช้อุปกรณ์นำเจาะและจับงานแบบโมดูลาร์ อุปกรณ์ตรวจวัดและตรวจสอบในงานอุตสาหกรรม
2
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
บรรยายเนื้อหาความสำคัญของรายวิชาพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิชาชีพในองค์กรและสังคม
ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษา
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
-  มอบหมายงานให้นักศึกษาทำตามเงื่อนไขของรายวิชา
   - ให้นักศึกษาทำโครงงานทางด้านการเขียนแบบ
ดูจากผลการสอบย่อย กลางภาค ปลายภาคและ ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำตามเงื่อนไขของรายวิชา

- ให้นักศึกษาวิเคราะห์งาน และสามารถแสดงแนวความคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้
ดูจากงานที่นักศึกษาส่งและการวัดผลโดยการสอบกลางภาคและปลายภาค
รู้จักบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมายทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
มีการให้งานทำในลักษณะกลุ่ม นักศึกษาที่เรียนรู้ได้เร็ว ช่วยอธิบายเทคนิค ช่วยเหลือให้เพื่อน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายทันในเวลาที่กำหนด
การสังเกต ความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมาย
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
ฝึกให้นักศึกษาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ นักศึกษาสามารถส่งงานและนำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ดูจากผลงานของนักศึกษา
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายงานให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด มีการกำหนดคะแนนในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2 2. ความรู้ 2 3. ทักษะทางปัญญา 2 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5 6.ทักษะพิสัย 1
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา - มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ - สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม - มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อประยุกต์เข้ากับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี - มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ - มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี - สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ - รู้จักบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมายทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ - มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานและการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม - มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ - มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 ENGIE228 การออกแบบอุปกรณ์นำเจาะและจับงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 ตรวจสอบรายชื่อการเข้าชั้นเรียน ความสนใจในการเรียน ทุกสัปดาห์ ที่มีการเรียน ร้อยละ 10
2 2.2 สอบวัดความรู้แต่ละครั้งที่เข้าสอน เลือกสัปดาห์ที่เหมาะสม ร้อยละ 50
3 2.2 2.5 3.4 4.4 5.1 6.1 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย ทุกครั้งที่มอบหมาย ร้อยละ 40
ตัวอย่างชิ้นงานและกรณีศึกษาจากการทำงานจริงจากสถานประกอบการและเอกสารใบงานประกอบการสอน หนังสือตารางงานโลหะ
Power Point ประกอบการบรรยาย ชิ้นงานจริงที่ได้จากสถานประกอบการที่มีการผลิตจริง
Power Point ประกอบการบรรยาย ชิ้นงานจริงที่ได้จากสถานประกอบการที่มีการผลิตจริง
นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผ่านระบบการประเมิลของมหาวิทยาลัยฯ
สังเกตการณ์การสอนนักศึกษาโดยการมอบหมายงานที่มีลักษณะเป็นกลุ่มๆละ 2-3 คนในแต่ละงานและเมื่อให้งานใหม่ต้องมีการเปลี่ยนกลุ่มใหม่เพื่อต้องการฝึกให้นักศึกษาทำงานและร่วมแก้ปัญหางานกับเพื่อนคนอื่นๆได้ นักศึกษาจะมีการแข่งขันกันทำงานที่ได้รับมอบหมายในระหว่างกลุ่มและให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมห้อง

สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา
ผู้สอนต้องเข้าไปศึกษางานที่อยู่ในสถานประกอบการที่นักศึกษาปฏิบัติงานอยู่จริงแล้วนำมายกตัวอย่างเรื่องการออกแบบ การใช้งานของอุปกรณ์นำเจาะและจับยึดชิ้นงานจริงและเทคนิคการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม

เตรียมโจทย์เงื่อนไขการออกแบบอุปกรณ์นำเจาะและจับยึดชิ้นงานเพื่อให้นักศึกษาได้ทำการออกแบบอุปกรณ์ตามเงื่อนที่กำหนดพร้อมทำการสเก็ตซ์และเขียนแบบอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานจริงที่มีความหลากหลายมากขึ้น
เปรียบเทียบผลการสอนกับนักศึกษากลุ่มอื่นและรายวิชาอื่นๆ

สอบถามปัญหาการสอนในรายวิชาดังกล่าว พร้อมนำมาปรับปรุง
ปรับปรุงกิจกรรมและแผนการสอนให้มีความเหมาะสม