โครงสร้างภาษาอังกฤษ

English Structure

1. สามารถวิเคราะห์โครงสร้างในระดับคำ
      2. มีความรู้ในเรื่องการสร้างคำ
      3. สามารถวิเคราะห์โครงสร้างภาษาในระดับวลี  อนุประโยค  และ ประโยค
      4. สามารถเขียนโครงสร้างภาษาอังกฤษในระดับวลี อนุประโยคและ ประโยค ได้ตามหลักภาษาที่ถูกต้อง
      5. สามารถเขียนประโยคโดยใช้ตัวเชื่อมเพื่อสื่อความหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพและใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเรื่องการวิเคราะห์ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำ โครงสร้าง ภาษาอังกฤษในระดับคำวลี และประโยค ผู้เรียนสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษอื่นๆ ตลอดจนประยุกต์ใช้กับศาสตร์อื่นๆ และสามารถใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
        ศึกษาชนิด และ หน้าที่ของคำ  วลี  และ  โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษ
        Study English parts of speech, phrases and sentences structures
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึก
สาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
1.1.2  [¡] มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ
สังคม
ส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
1.1.3   มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.4  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ
ความสำคัญ
1.1.5 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า
และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรมที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสังคมจากเทคโนโลยีในการสื่อสาร
[·] เน้นหลัก     [¡]  เน้นรอง
1. 2..1   ใช้แรงเสริมเพื่อให้กำลังใจนักศึกษาในการทำดี เช่นเมื่อนักศึกษามีวินัยในการส่งงาน   มีความขยัน
        ในการเรียน การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา มี รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และ
        สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
1.2.2  สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบต่อ
        ตนเองและสังคม มีความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์
        สิ่งแวดล้อม
-เข้าเรียนตรงเวลา
-ส่งงานตามที่กำ หนด
-มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
            2.1.1  [·] มีความรู้และเข้าใจหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
          2.1.2  [·] มีความรู้และเข้าใจในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน สามารถนำความรู้ และทักษะมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้
           2.1.3  มีความรู้และเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการในการวางแผน การจัด การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่หลากหลาย
          2.1.4  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
          2.1.5  สามารถวิเคราะห์ และนำข้อมูลมาปรับปรุงและ/หรือประเมินตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
          2.1.6  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
          2.1.7  รู้ เข้าใจ และสนใจที่จะพัฒนาความรู้ ความชำนาญในการใช้ภาษาอย่างต่อเนื่อง
2.1.8  มีความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา พร้อมทั้งเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา
    2.1.9  มีประสบการณ์เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้า และ/หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในงานได้จริง
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติ
2.2.3  มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สอนและ
         เพื่อนร่วมชั้นเรียน
2.3.1  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบ ปลายภาค
2.3.2  ผลการปฏิบัติ
2.3.3  ผลงานการค้นคว้าและการนำเสนอ
สามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ สามารถประเมินข้อมูลแนวคิดและ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ใช้ข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้ รวมถึงนำมาแก้ไขปัญหาอื่นๆ ได้ด้วยตนเอง และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์
                   3.1.1  [¡] สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินข้อมูลจากหลายแหล่ง    เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม
                   3.1.2  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
                   3.1.3 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้และประสบการณ์ มาใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม
                     3.1.4 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา และความต้องการได้
                   3.1.5  สามารถศึกษา ค้นคว้า ประยุกต์ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1. ผู้สอนบรรยาย
2. ให้ผู้เรียนซักถามและอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3. ผู้เรียนฝึกใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน ภาษาอังกฤษตามเนื้อหาการบรรยาย
             4. ให้ผู้เรียนทำแบบฝึก จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการวิเคราะห์ และให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ
-จากการอภิปราย ซักถาม และแสดงความคิดเห็น
-จากการทดสอบภาคปฏิบัติ
-จากการตอบคำถามท้ายบทเรียน
-สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
นักศึกษาสามารถแสดงออกซึ่งภาวะความเป็นผู้นำ และผู้ตาม มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาตนเอง ดังนั้นนักศึกษาต้องรู้จักการวางตัว การมีมารยาทในการเข้าสังคม และทักษะ    ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
             4.1.1  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม  มีความรับผิดชอบ  ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
             4.1.2  มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม การแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม 
             4.1.3  มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
             4.1.4 [¡] มีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
             4.1.5  สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             4.1.6  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
             4.1.7  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหาที่พบจากโครงสร้างภาษา จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม จัดกิจกรรมให้นักศึกษาช่วยกันสอน ช่วยกันฝึกฝน
ให้เพื่อนนักศึกษาช่วยกันประเมิน ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติ สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
นักศึกษาสามารถศึกษาและทำความเข้าใจ สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้า และเสนอแนะ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
                   5.1.1  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในเรื่องทีศึกษา
                   5.1.2  สามารถอธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม  มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
                   5.1.3  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   5.1.4  มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                   5.1.5  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อเรื่องศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                   5.1.6  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1)  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
(2) นักศึกษาฝึกปฏิบัติทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนตามสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด
-ดูจากการเขียนบันทึกความก้าวหน้า ความรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนที่นักศึกษาบันทึกหลักการศึกษาค้นคว้า
   และฝึกฝนด้วยตนเอง
                   6.1.1  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
                     6.1.2  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษา มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
                     6.1.3  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรม
ได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
                     6.1.4  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
                     6.1.5  สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย       
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6
1 BOAEC101 โครงสร้างภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2 [O] มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม 2.1.1 [] มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตาม ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.1.2 [ ] มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา และการดำรงชีวิตประจำวัน 3.1.1 [O ] สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา และ ตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 4.1.1 [O] มีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20 % งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20% การเข้าชั้นเรียนและความ รับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10% สอบกลางภาคเรียน Unit 1-4 9 25% สอบปลายภาคเรียน Unit 5-6 18 25% ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20 % งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20% การเข้าชั้นเรียนและความ รับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10% สอบกลางภาคเรียน Unit 1-4 9 25% สอบปลายภาคเรียน Unit 5-6 18 25% ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20 % งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20% การเข้าชั้นเรียนและความ รับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10% สอบกลางภาคเรียน Unit 1-4 9 25% สอบปลายภาคเรียน Unit 5-6 18 25%
เอกสารประกอบการสอน 
เอกสารประกอบการสอน 
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญและแนะนำ  (ระบุหนังสือ วารสาร รายงาน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ กฏระเบียบต่างๆ ที่ นักศึกษาจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม)
Azar, S. (2003). Fundamentals of English Grammar. 3rd Edition. New York: Longman Publishing. Broukal, M. (2005). Grammar Form and Function. New York: McGraw - Hill. Huddleston, R., & Pullum, G. K. (2002). The Cambridge grammar
of the English language. Cambridge: Cambridge University Press.
Murphy, R. and Amalzer, W. (2002). Basic Grammar in Use. 2 nd Edition. UK: Cambridge University Press “Parts of Speech”. 2008. [Online]. Available:http:// http://wwwnew.towson.edu/ows/index.htm Peterson, J.& Hagen,S.  (1999). Better Writing Through Editing.
New York: McGraw-Hill
Quirk, R., Greenbaum, R., Leech, G., & Svartvik, J. (1985).
A comprehensive grammar of the English language. London: Longman.
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
1) การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
2) ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียน การสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
1) สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2) สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
3) ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจ ในเนื้อหา
4) ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
5) ประเมินจากการนำเสนองานของนักศึกษา
1) ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
2) สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3) สรุปผลการท ากิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
         - ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละ คนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็น รายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
         - ในระหว่างการเรียนการสอนมีการประเมินผลการนำเสนองานของนักศึกษา และให้คำแนะนำและบอกผลการประเมินการนำเสนองานว่าเหมาะสมอย่างไร รวมทั้งต้องปรับปรุงในประเด็นใดบ้าง
1) ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษา เนื้อหาให้ เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
     2) มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความ น่าสนใจ
     3) ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อ รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน
     4) ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชา ในการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปี