ออกแบบแสงธรรมชาติ

Daylighting Design

1.   รู้ทฤษฎีพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับแสงธรรมชาติ ที่จะนำไปสู่การออกแบบเพื่อนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
2.   เข้าใจอิทธิพลหลักของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการออกแบบแสงธรรมชาติ
3.   อธิบายหลักเกณฑ์การออกแบบแสงและแสงธรรมชาติได้
4.   คาดคะเนพฤติกรรมของแสงธรรมชาติภายในอาคารได้
5.   วิเคราะห์และสังเคราะห์ แนวความคิดในการออกแบบแสงธรรมชาติได้
6.   พิจารณาเลือกใช้รูปแบบ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ประกอบสำหรับการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคารได้อย่างมีเหตุผล และเหมาะสมกับความต้องการกิจกรรม ลักษณะการใช้งาน รูปแบบอาคาร  และสภาพแวดล้อม
7.   สามารถนำความรู้จากการศึกษาและทดลองไปใช้ในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.   มีทักษะในการแก้ปัญหาและควบคุมแสงธรรมชาติในอาคารให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน
9. เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการนำแสงธรรมชาติมาใช้ เพื่อบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายในอาคาร เพื่อการประหยัดพลังงาน รวมทั้งยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อมีการออกแบบงานสถาปัตยกรรม
 นำข้อมูลจากประเมินผลการสอนโดยนักศึกษา และการผลการสอนใน มคอ 5 ของการเรียนการสอนครั้งที่ผ่านมา ทำการปรับปรุงซึ่งประกอบไปด้วย 
1. คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
- แก้ไขเรื่องสัดส่วนคะแนนบังคับเพิ่มการเข้าฟังเลคเชอร์ในตอนต้นชั่วโมง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการที่นักศึกษาไม่มาฟังเลคเชอร์ในต้นชั่วโมงและเพื่อการเน้นย้ำความสำคัญในการฟังเลคเชอร์ให้ได้
-     เนื้อหาครบถ้วน
2.  ความรู้
-   เน้นย้ำเรื่องสัดส่วนคะแนนของงานที่มอบหมายในชั่วโมงแรกของการสอน เพื่อแก้ปัญหานักศึกษาไม่ใส่ใจในการทำงาน และไม่ได้ความรู้ทำให้ทำงานในขั้นสุดท้ายออกมาได้ไม่ดี และได้คะแนนน้อย ส่งผลทำให้ถูกประเมินตก
3.  ทักษะทางปัญญา
-    สนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนเขียนตำรา และมอบหมายงานที่นำไปบูรณาการร่วมกับการเรียนในวิชาการออกแบบอาคาร โดยใช้กรณีศึกษาเป็นตัวอย่างอ้างอิง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้าน เทคโนโลยีอาคารที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
-      เน้นย้ำให้อาจารย์ผู้สอน ให้งานนักศึกษาค้นคว้าในแบบกลุ่ม โดยระบุลงไปในแผนการสอน
5.  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-      เน้นย้ำความสำคัญของรูปแบบการนำเสนอผลงานขั้นสุดท้าย ให้สะท้อนในงานค้นคว้า และผลงานออกแบบของนักศึกษา โดยเพิ่มการบรรยายแนวทางและสัดส่วนการให้คะแนน
ศึกษาทฤษฎีแสง และหลักการทั่วไปเกี่ยวกับแสงธรรมชาติ กลวิธีการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคาร อิทธิพลของแสงธรรมชาติต่องานสถาปัตยกรรม หลักการใช้แสงธรรมชาติในอาคารประเภทต่างๆแนวทางการประสานแสงธรรมชาติ กับแสงประดิษฐ์ ฝึกปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ใช้แสงธรรมชาติ
 
 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)โดยระบุวัน เวลา ด้วยการแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
1.1.1 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 กำหนดวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา กำหนดเวลาส่งงาน และสร้างกติกาในการส่งงานให้ตรงต่อเวลา  ตลอดจนการแต่งการให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษาไม่ทุจริตในการสอบ ไม่ลอกงานออกแบบของผู้อื่น หรือนำงานออกแบบของผู้อื่นมาดัดแปลง รวมถึงการตรงต่อเวลา ในขึ้นสอบ เห็นความสำคัญของการประหยัดพลังงานในอาคาร
1.3.1 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตร  ความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
1.3.2 ประเมินจากการทำทุจริตในการสอบ  ประเมินจากงานออกแบบที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 จัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ โดยใช้หลักการทางทฤษฎีและฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเครื่องมือต่างๆ
2.2.2 จัดการเรียนการสอนโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.2.3 กำหนดโจทย์และเงื่อนไขที่สอดคล้องกับรูปแบบบูรณาการรายวิชาที่เกี่ยวเนื่องรวมทั้งพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของบริบทต่างๆ
2.3.1 ประเมินจากการตอบคำถามเพื่อการทบทวนเนื้อหาและประเมินความเข้าใจในชั้นเรียน
2.3.2 การสอบด้วยการขึ้นนำเสนอผลงานค้นคว้ากรณีศึกษา งานปฏิบัติการ รายงาน
2.3.3 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานออกแบบของนักศึกษา
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิขาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 ใช้กิจกรรมการสอนการบริการวิชาการและการบูรณาการร่วมกันกับวิชาออกแบบ
อาคาร ช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบได้จริง
3.2.2 ใช้การจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น หลากหลายเพื่อสร้างทักษะทางปัญญา
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการนำเสนอผลงานการปฏิบัติของนักศึกษา
4.1.1 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 การจัดการเรียนการสอนและการทำงานปฏิบัติกลุ่ม
4.2.2 การอภิปรายกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอแนวความคิดตนเอง แลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน เป็นการประเมินรายบุคคลของแต่ละกลุ่ม และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1.1 สามารถสืบค้นศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม
5.2.1 การจัดการเรียนการสอนรายวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อฝึกปฏิบัติวิชาชีพ 
5.2.2 ฝึกทักษะเทคนิคการสื่อสารในการนำเสนอผลงานปฏิบัติและเลือกใช้เทคนิคที่มีประสิทธิภาพและหลากหลาย
5.3.1 ประเมินจากทักษะการเลือกและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน
5.3.2 ประเมินจากการตอบคำถาม  เพื่อการทบทวนเนื้อหาและการประเมินความเข้าใจในชั้นเรียน
5.3.3 การสอบที่เนื้อหามีความเกี่ยวข้องกับคำศัพท์ทางวิชาการภาษาต่างประเทศ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42013310 ออกแบบแสงธรรมชาติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9, 17 25% 25%
3 ด้านทักษะทางทางปัญญา - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การจัดทำงานกลุ่ม/การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย 5, 16 10%
 1.  การใช้แสงธรรมชาติเสริมเพื่อลดการใช้พลังงาน.. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
2    พัทธวดี  รุ่งโรจน์ดี. ผลกระทบของรูปทรงและคุณสมบัติของแสงธรรมชาติภายในเอเทรียมสำหรับภูมิอากาศร้อนชื้น.. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์  บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
3   Lechner, N. Heating, Cooling, Lighting : Design Methods for Architects. New York : John Wiley & Sons, 1991.
4   Moore, F. Concept and Practice of Architectural Daylighting. New York : Van Nostrand Reinhold, 1984.
5   Olgyay, V., W. Concepts in Architectural Lighting. Second Edition. Hawaii : McGraw-Hill Book, 1997.
6   Rodgers, P.A. Case Study: An Elementary School That Saves Energy and Is Visualy Comfortable. Architectural Record. August 1998
7   Stein, B., and Reynolds, J. S. Mechanical and electrical equipment for buildings. Vol. 1.8th ed. New York: John Wiley and Sons, 1992.
8   Zumtobel Staff. The fascinating of directed light. Light Focus 15 (April 1999): 4-5.
9   Zumtobel Staff. Turning night into day. Light Focus 15 (April 1999): 6-9.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
1.1. การสอบถามนักศึกษาถึงข้อดีข้อเสียของรายวิชา เพื่อปรับปรุงในการสรุปการเรียนการสอนช่วงสอบปลายภาคและการสอบปลายภาค
1.2. นักศึกษาทำแบบประเมินความพึงพอใจผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
2.1. การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2. การประเมินผลงานและผลการเรียนของนักศึกษาเพื่อประเมิน วิธีการ เกณฑ์ และเครื่องมือในการเรียนการสอน
2.3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้โดยการถามคำถาม
3.1. ข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจผู้สอนของนักศึกษา
3.2. ข้อเสนอแนะของนักศึกษาระหว่าง และหลังจากการเรียนการสอน
4.1. อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
4.2. มีการแจ้งคะแนน แก่ นักศึกษา ระหว่างการเรียนเพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับปรุงตนเองระหว่างเรียน
5.1 ได้นำผลจากกลยุทธ์การประเมินในข้อที่ 1 และ 2 มาทำการปรับปรุง ในใบเก็บคะแนนที่อาจารย์ผู้สอนใช้ในการประเมิน ตามตัวอย่างแนบท้าย