สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล

Architecture for All

 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจความเป็นมาของสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล ประเภทผู้ใช้ที่มีข้อจำกัดต่อการเข้าถึงและใช้งานอาคาร หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล ศึกษาข้อกำหนด เกณฑ์ มาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทักษะในการฝึกปฏิบัติการออกแบบหรือปรับปรุงอาคารสถานที่ให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน ปราศจากอุปสรรค เบาแรง และปลอดภัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ร่วมสร้างสรรค์อาคารและสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพ ให้การเข้าถึง การใช้งานได้โดยสะดวกต่อทุก ๆ คนได้อย่างเท่าเทียม
 
เพื่อพัฒนาเนื้อหาของวิชาให้มีความทันสมัย พัฒนาวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับการใช้งานและการเข้าถึงอาคารและสภาพแวดล้อมได้โดยสะดวกของทุก ๆ คนได้อย่างเท่าเทียมและเหมาะสมต่อสถานการณ์ปัจจุบัน จึงได้ทำการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา BARAT503 สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล
ศึกษาความเป็นมาของสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล ประเภทผู้ใช้ที่มีข้อจากัดต่อการ เข้าถึงและใช้งานอาคาร หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งอานวยความ สะดวกเพื่อคนทั้งมวล ฝึกปฏิบัติการออกแบบหรือปรับปรุงอาคารสถานที่ให้คนทุก กลุ่มเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน ปราศจากอุปสรรค เบาแรง และ ปลอดภัย
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
กำหนดกติกาการเข้าเรียนและการส่งงาน ให้ความสำคัญและสร้างความตระหนักในบทบาทสถาปนิกที่ควรจะมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ 
ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
การเข้าเรียน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด และความรับผิดชอบในหน้าที่ที่
ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการ ข้อกำหนด และทฤษฎี การประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการ โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  นอกจากนี้ อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง 
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.4 ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้กรณีศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมหรืองานวิจัย การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการศึกษา
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนำเสนองาน
4.1.1 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.2 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 ฝึกปฏิบัติเป็นงานกลุ่ม
4.2.2 ฝึกปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์จริง
4.2.3 สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม การเคารพสิทธิและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การแสดงความคิดเห็น
4.3.1 ประเมินจากบทบาทของนักศึกษาในกลุ่ม และผลสำเร็จของงานแต่ละกลุ่ม
4.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อสังคมและพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรม
-
 
-
-
6.1.1 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีการสอน การใช้กรณีศึกษาการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริง โดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักาะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะจิตพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARAT503 สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/พฤติกรรมในชั้นเรียน/การส่งงานตรงเวลา 1-18 10
2 ความรู้ สอบทฤษฎีกลางภาค สอบทฤษฎีปลายภาค 9 , 18 25
3 ทักษะทางปัญญา แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล 13 , 14 , 15 30
4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมในการค้นคว้า สำรวจและวิเคราะห์สถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล 8 , 11 , 12 15
5 ทักษะการสื่อสารและใช้เทคโนโลยี - - -
6 ทักษะพิสัย การนำเสนอผลงานปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล 16 , 17 20
 

 1. สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์. (2552) คู่มือปฏิบัติวิชาชีพ การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Universal Design Code of Practice). พลัส เพลส. กรุงเทพ.
2. สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย. (2562) ข้อแนะนำการออกแบบบาทวิถีและสิ่งแวดล้อมเพื่อทุกคน.
3. สำนักการโยธา. (2556) สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนในสังคม. สำนักการโยธา. กรุงเทพ.
4. ชุมเขต แสวงเจริญ, ดรรชนี เอมพันธุ์, กำธร กุลชล.(2560) แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวลในอุทยานแห่งชาติ. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 16 (2). 96-117.
5. บัญชา บูรณสิงห์, อัธยานันท์ จิตรโรจนรักษ์, พัฑรา สืบศิริ และ มณฑล จันทร์แจ่มใส (2562) ต้นแบบการพัฒนาปรับปรุงอาคารเพื่อเข้าสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2562) วารสารวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 2 (2). 1-9.
6. ศรีสุดา ภู่แย้ม, เจนจิรา เจนจิตรวาณิช, ธรรม จตุนาม (2562) การออกแบบห้องน้ำสำหรับคนพิการทางการมองเห็น. วารสารวิทยาลัยราชสุดา. 11(14). 71-84.
7. สุชน ยิ้มรัตนบวร (2561) การพัฒนาการออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยด้วยหลักการออกแบบสำหรับคนทุกวัย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. (26). 173-188
8. สุชน ยิ้มรัตนบวร (2560) เสนอแนะการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพสำหรับผู้สูงอายุโครงการแบบบ้านยิ้มเพื่อประชาชนระยะที่ 3 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. (24). 50-64
9. สัญชัย สันติเวส, นิธิวดี ทองป้อง (2560) ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อสิ่งอานวยความสะดวกของผู้พิการที่ถูกออกแบบเพื่อคนทั้งมวลในที่สาธารณะ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(3) 1360-1370.
10. สุรชาติ สินวรณ์, ณัฐบดี วิริยาวัฒน์. (2558) แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุและพิการ ตลาดน้ำตลิ่งชัน. SDU Res.j. 11(3).
11. สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (2556). การปรับสภาพบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนพิการ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี.
 

 
 
 
1. Universal-architectural-design เข้าถึงจาก https://www.slideshare.net/flamingonm/universal-architectural-design
2. Universal Design: Creating Better Buildings & Cities for All เข้าถึงจาก https://weburbanist.com/2019/02/06/universal-design-creating-better-buildings-cities-for-all
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ดังนี้

สอบถามนักศึกษาถึงจุดอ่อน จุดแข็งของรายวิชาและสิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุงขณะสอน แบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 แบบประเมินการสอน
2.2 ข้อมูลจาก มคอ.5 ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 นำผลการประเมินรายวิชา และการประเมินการสอนมาปรับปรุงในจุดอ่อน
3.2 แก้ปัญหาข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่มีเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนของนักศึกษา
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา ดังนี้
5.1 ปรับปรุงแผนการสอนทุกปี
5.2 เสนอให้มีการปรับปรุงรายวิชาตามรอบการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี